ไนจีเรียพบติดเชื้ออีโบลารายที่2-WHO เผยยอดดับ887

ไนจีเรียพบติดเชื้ออีโบลารายที่2-WHO เผยยอดดับ887

ไนจีเรียพบติดเชื้ออีโบลารายที่2-WHO เผยยอดดับ887
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระทรวงสาธารณสุขไนจีเรีย แถลง พบผู้ติดเชื้ออีโบลารายที่ 2 เป็นหมอรักษาผู้ติดเชื้อรายแรก ขณะ องค์การอนามัยโลก เผย ตัวเลขผู้เสียชีวิตถึงวันที่ 1 ส.ค. รวม 887 ราย

สำนักข่าวซีบีเอส นิวส์ ของสหรัฐ รายงานว่า นายออนเยบูชิ ชุ๊ควู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไนจีเรีย ได้ออกมาแถลงว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นรายที่ 2 ของประเทศ ซึ่งเป็นแพทย์ผู้ให้การรักษา นายแพทริก ซอว์เยอร์ เหยื่อผู้ติดเชื้อรายแรกในเมืองลากอส ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 ก.ค.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่เข้าข่ายต้องสงสัยติดเชื้ออีก 3 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือด ตรวจสอบหาร่องรอย และสาเหตุของการแพร่ระบาด รวมทั้งยังกักตัวผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับบุคคลทั้ง 4 รายนี้ด้วย ทั้งนี้ เชื้อไวรัสอีโบลา ติดต่อได้โดยผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิต และอาจใช้เวลาในการฟักตัวนานถึง 21 วัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง และอาจรุนแรงถึงขั้นมีเลือดออกทั้งภายนอกและภายใน ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะ มีเพียงการรักษาเพื่อประคองอาการของผู้ป่วยเท่านั้น โดย องค์การอนามัยโลก ออกแถลงตัวเลขผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลาทั่วโลกในครั้งล่าสุดนับถึงวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 887 ราย ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อใน 4 ประเทศทางตะวันตกของแอฟริกา ที่มีการแพร่ระบาดรุนแรง อยู่ที่ 1,603 ราย โดย นายเกรกอรี่ ฮาร์ทล์ โฆษกขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า รูปแบบที่เราเคยเห็นในอดีตที่ผ่านมาทั้งสองคนได้รับป่วยและติดเชื้อในญาติของพวกเขา หรือไปที่โรงพยาบาลและติดเชื้อจากผู้ป่วย มันเป็นเรื่องที่โชคร้ายมาก แต่ก็ไม่คาดคิดว่าคนป่วยที่ได้ออกจากเครื่องบิน
และโชคไม่ดีที่ไม่มีใครรู้ว่าเขามีเชื้ออีโบลา

 

รัฐบาลไลบีเรียสั่งเผาศพเหยื่ออีโบลาทั้งหมด

รัฐบาลไลบีเรีย สั่งให้เผาศพเหยื่อที่เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลาทุกศพ โดยการตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้นหลังจากมีการปฏิเสธจากบางชุมชนไม่ให้นำผู้เสียชีวิตจากอีโบลา ไปฝังในเขตแดนชุมชนของพวกเขา ทั้งนี้ ไวรัสอีโบลา ได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้ว 728 คน ในกินี, ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน ในปีนี้ซึ่งเป็นการระบาดที่เลวร้ายที่สุด อีโบลาระบาดได้จากการสัมผัสเลือดและของเหลวในร่างกายผู้ติดเชื้อและการสัมผัสกับร่างกายของคนที่เสียชีวิตจากอีโบลา ก็ถือว่าอันตรายอย่างยิ่งเช่นกัน

ผู้สื่อข่าวในกรุงมันโรเวีย รายงานว่า การฌาปนกิจหรือการเผาศพไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในไลบีเรีย และบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข กล่าวว่า พิธีการฝังศพ ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการแพร่เชื้อของไวรัสมรณะชนิดนี้

 

เกาหลีใต้ป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสอีโบลา

มหาวิทยาลัยดุกซุง ของเกาหลีใต้ ยกเลิกการเชิญนักศึกษาหญิงจากไนจีเรีย 3 คน เข้าร่วมการประชุมที่กรุงโซลของเกาหลีใต้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลา โดยการประชุมดังกล่าวจะมีนักศึกษาจาก 28 ประเทศในทวีปแอฟริกา เข้าร่วม

นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้ ยังประกาศแนะนำผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยง ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน และกินี ขณะที่คณะแพทย์อาสาสมัครจากเกาหลีใต้ ก็จะยกเลิกการเยือนกลุ่มประเทศแอฟริกา รวมทั้งโกตดิวัวร์ หรือ ไอเวอรีโคสต์ และกานา ในเดือนนี้เช่นกัน

 


 

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook