เฟดประชุม 27-28 ม.ค.คาดอัดฉีดสภาพคล่องต่อเนื่อง

เฟดประชุม 27-28 ม.ค.คาดอัดฉีดสภาพคล่องต่อเนื่อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานเมื่อวันที่ 26 มกราคม คาดว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คงจะมีมติให้ยืนอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่กรอบร้อยละ 0.00-0.25 ตามเดิมในการประชุมรอบแรกของปีในวันที่ 27-28 มกราคม 2552 เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีแนวโน้มประสบกับภาวะถดถอยที่ลึกและยาวนาน พร้อมกันนี้ แม้เครื่องมืออัตราดอกเบี้ยนโยบายจะไม่เหลือพื้นที่ให้เฟดดำเนินการผ่อนคลายเพิ่มเติมได้อีกแล้ว แต่เฟดน่าจะยังคงยืนยันในแถลงการณ์หลังการประชุม (FOMC Statement) ว่าจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงินและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯต่อไป

แม้ว่าผลจากการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายผ่านเครื่องมือต่างๆ ของเฟด ได้สะท้อนภาพความสำเร็จออกมาในระดับหนึ่งผ่านการปรับตัวดีขึ้นของภาวะตลาดเงิน แต่ท่ามกลางสถานการณ์ที่เครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญโดยเฉพาะในตลาดแรงงานและภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯซึ่งยังคงปรับตัวลงไปไม่ถึงจุดต่ำสุด ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงมีโจทย์ที่ท้าทายที่รอการแก้ไขอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการระดมสภาพคล่องของภาคธุรกิจเอกชนที่ยังมีอุปสรรค กลไกการปล่อยสินเชื่อที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ และการยึดทรัพย์จำนองที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น โดยคงต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะเริ่มเห็นสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของภาวะเศรษฐกิจและการเงิน

ดังนั้น เฟดคงจะยังมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินเชิงปริมาณไปในแนวทางที่ผ่อนคลายต่อไป (ซึ่งบางมาตรการอาจเป็นสิ่งที่เฟดไม่เคยทำมาก่อนในอดีต อาทิ มาตรการเข้าซื้อตราสารเพื่อการพาณิชย์ และมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ที่ออกจำหน่ายหรือที่ค้ำประกันโดยหน่วยงานด้านการจำนองที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล รวมถึงความเป็นไปได้ที่เฟดอาจพิจารณาแนวทางการใช้งบดุลโดยเฉพาะการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลสหรัฐฯ) ควบคู่ไปกับการยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำต่อเนื่องในปีนี้ เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงินและประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ขณะที่ ประเด็นที่ต้องติดตามต่อไปก็คือ ประสิทธิผลของนโยบายการเงิน และการดำเนินนโยบายการคลังจากทางการสหรัฐฯผ่านการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายชุด โดยเฉพาะที่กำลังจะถูกผลักดันออกมาโดยทีมเศรษฐกิจของนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าจะสามารถช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวขึ้นจากภาวะถดถอยได้รวดเร็วและยั่งยืนเพียงใด โดยหากความสำเร็จหรือประสิทธิผลของนโยบายการเงินและการคลังซึ่งจะสะท้อนผ่านการปรับตัวของเครื่องชี้เศรษฐกิจในระยะข้างหน้า เกิดขึ้นได้ช้า ข้อวิตกกังวลเกี่ยวกับความจำเป็นที่ทางการสหรัฐฯจะต้องดำเนินการเพิ่มเติมซึ่งย่อมตามมาด้วยภาระทางการคลังที่จะถีบตัวสูงขึ้นไปอีกนั้น ในที่สุดแล้วอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ฯและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ตลอดจนนำมาสู่ภาวะที่ผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลกได้อีกระลอกหนึ่ง ประชุม 27-28 มกราคม 2552 ... เฟดคงเดินหน้าอัดฉีดสภาพคล่องต่อเนื่อง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คงจะมีมติให้ยืนอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่กรอบร้อยละ 0.00-0.25 ตามเดิมในการประชุมรอบแรกของปีในวันที่ 27-28 มกราคม 2552 เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีแนวโน้มประสบกับภาวะถดถอยที่ลึกและยาวนาน พร้อมกันนี้ แม้เครื่องมืออัตราดอกเบี้ยนโยบายจะไม่เหลือพื้นที่ให้เฟดดำเนินการผ่อนคลายเพิ่มเติมได้อีกแล้ว แต่เฟดน่าจะยังคงยืนยันในแถลงการณ์หลังการประชุม (FOMC Statement) ว่าจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงินและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯต่อไป

แม้ว่าผลจากการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายผ่านเครื่องมือต่างๆ ของเฟด ได้สะท้อนภาพความสำเร็จออกมาในระดับหนึ่งผ่านการปรับตัวดีขึ้นของภาวะตลาดเงิน แต่ท่ามกลางสถานการณ์ที่เครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญโดยเฉพาะในตลาดแรงงานและภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯซึ่งยังคงปรับตัวลงไปไม่ถึงจุดต่ำสุด ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงมีโจทย์ที่ท้าทายที่รอการแก้ไขอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการระดมสภาพคล่องของภาคธุรกิจเอกชนที่ยังมีอุปสรรค กลไกการปล่อยสินเชื่อที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ และการยึดทรัพย์จำนองที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น โดยคงต้องอาศัยเวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะเริ่มเห็นสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของภาวะเศรษฐกิจและการเงิน

ดังนั้น เฟดคงจะยังมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินเชิงปริมาณไปในแนวทางที่ผ่อนคลายต่อไป (ซึ่งบางมาตรการอาจเป็นสิ่งที่เฟดไม่เคยทำมาก่อนในอดีต อาทิ มาตรการเข้าซื้อตราสารเพื่อการพาณิชย์ และมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ที่ออกจำหน่ายหรือที่ค้ำประกันโดยหน่วยงานด้านการจำนองที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล รวมถึงความเป็นไปได้ที่เฟดอาจพิจารณาแนวทางการใช้งบดุลโดยเฉพาะการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลสหรัฐฯ) ควบคู่ไปกับการยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำต่อเนื่องในปีนี้ เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการเงินและประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ส่วนประเด็นที่ต้องติดตามต่อไปก็คือ ประสิทธิผลของนโยบายการเงิน และการดำเนินนโยบายการคลังจากทางการสหรัฐฯผ่านการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายชุด โดยเฉพาะที่กำลังจะถูกผลักดันออกมาโดยทีมเศรษฐกิจของนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าจะสามารถช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯฟื้นตัวขึ้นจากภาวะถดถอยได้รวดเร็วและยั่งยืนเพียงใด โดยหากความสำเร็จหรือประสิทธิผลของนโยบายการเงินและการคลังซึ่งจะสะท้อนผ่านการปรับตัวของเครื่องชี้เศรษฐกิจในระยะข้างหน้า เกิดขึ้นได้ช้า ข้อวิตกกังวลเกี่ยวกับความจำเป็นที่ทางการสหรัฐฯจะต้องดำเนินการเพิ่มเติมซึ่งย่อมตามมาด้วยภาระทางการคลังที่จะถีบตัวสูงขึ้นไปอีกนั้น ในที่สุดแล้วอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ฯและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ตลอดจนนำมาสู่ภาวะที่ผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลกได้อีกระลอกหนึ่ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook