ปชป.หน้ามืดอุ้มบุญจงแจกเงินหลวง+นามบัตร....โดยประสงค์ วิสุทธิ์ (คลิกอ่าน เปิดบันทึกกฤษฎีกา มัดคอบุญ

ปชป.หน้ามืดอุ้มบุญจงแจกเงินหลวง+นามบัตร....โดยประสงค์ วิสุทธิ์ (คลิกอ่าน เปิดบันทึกกฤษฎีกา มัดคอบุญ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
แต่การรัฐมนตรีหรือ ส.ส.เสนอหน้านำสิ่งของและเงินของหลวงมาแจกที่บ้านของ ส.ส.หรือรัฐมนตรี ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า ส.ส.หรือรัฐมนตรีได้ประโยชน์จากการเงินสิ่งของและเงินดังกล่าว ที่สำคัญนายบุญจงมิใช่เสนาบดีกระทรวงพัฒนาสังคมฯจึงอยากรู้ว่า เป็นหน้าที่ของนายบุญจงตรงไหน

ไม่น่าเชื่อว่า นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.3)จากพรรคประชาธิปัตย์จะออกรับแทน นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.2)อย่างออกหน้าออกตากรณีที่มีแจกผ้าห่ม พร้อมด้วยเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้จากงบประมาณของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)ให้แก่ชาวบ้าน 200 คน ซึ่งขอรับการสงเคราะห์ ครอบครัวผู้ประสบความเดือดร้อน ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา คนละ 500 บาท รวม 100,000 บาทที่บ้านพักส่วนตัวของนายบุญจงเอง

โดยผู้ที่มอบเงินให้แก่ช่าวบ้านคือ นางกาญจนา วงศ์ไตรรัตน์ อดีต ส.จ.นครราชสีมา ภริยาของนายบุญจง โดยมีการแจกนามบัตร ระบุชื่อ ส.ส.บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา ซึ่งมีเบอร์โทรศัพท์มือถือพร้อมกันไปด้วย

นายถาวร อ้างว่า การกระทำของนายบุญจงซึ่งเป็น ส.ส.นครราชสีมาด้วย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 265 และ266 ว่าด้วยผลประโยชน์ส่วนตัวขัดต่อผลประโยชน์ส่วนรวมเพราะ

1. ทางราชการเป็นผู้คัดเลือกชาวบ้านที่จะรับมอบเงิน และกำหนดวันให้ความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นวันที่นายบุญจงมีความสะดวก โดยที่นายบุญจงไม่ใช่ผู้ดำเนินการ แต่อยู่ภายใต้การดำเนินการของข้าราชการ และเนื่องจากนายบุญจงเป็นส.ส.และเป็นรัฐมนตรี ประชาชนจึงได้ขอความช่วยเหลือ

2. การแจกนามบัตรของนายบุตรให้แก่ชาวบ้านที่รับมอบเงิน เป็นการแจกของบุคคลที่เกียวข้อง(ภรรยาของนายบุฯจงซึ่งเป็นนัการเมืองท้องถิ่น) ไม่ใช่ตัวนายบุญจง และไม่ได้เย็บนามบัตรติดกับเงิน แต่นามบัตรและเงินแยกจากกัน เมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อน ต้องการความช่วยเหลือหรือคำแนะนำ สามารถติดต่อทางโทรศัพท์มือถือ ว จึงถือว่า การกระทำดังกล่าวไม่ขัดกันซึ่งผลประโยชน์ของรัฐ ไม่ได้เป็นการหาเสียงเป็นเรื่องปกติที่นายบุญจง ให้นามบัตรกับ ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

3. การแจกผ้าห่มและเงินที่บ้านไม่ถือว่า ผิดอะไร เพราะสะดวกที่ไหนก็แจกที่นั่น ไม่ว่าจะเป็นศาลาวัดหรือศาลาว่าการอำเภอ เพื่อให้เ้องการจะพบส.ส. อยู่แล้ว

ฟังคำชี้แจงของนายถาวรแล้ว อยากจะเลิกชายเสื้อดูสีข้างนายถาวรว่า ถลอกเป็นแผลลึกมากน้อยขนาดไหน

เพราะถ้าเป็นการดำเนินการตามปกติของข้าราชการประจำจริง การจะแจกของและเงินให้แก่ชาวบ้านผู้ยากไร้ตามระเบียบของกระทรวง พม. ก็สามารถดำเนินการได้ตามเวลาที่ข้าราชการและชาวบ้านสะดวก ไม่ใช่ ส.ส.หรือรัฐมนตรีสะดวกซึ่งผู้ที่แจกเงิน อาจจะเป็นผู้ว่าฯ รองผู้ว่า ปลัดจังหวัดหรือนายอำเภอ ฯลฯซึ่งตามปกติก็ทำตามสถานที่ราชการ ศาลาประชาคมประจำหมู่บ้าน ประจำตำบล

แต่การรัฐมนตรีหรือ ส.ส.เสนอหน้านำสิ่งของและเงินของหลวงมาแจกให้แก่ราษฎรที่บ้านของ ส.ส.หรือรัฐมนตรี ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า ส.ส.หรือรัฐมนตรีได้ประโยชน์จากการเงินสิ่งของและเงินดังกล่าว

ที่สำคัญนายบุญจงมิใช่เสนาบดีกระทรวง พม. จึงอยากรู้ว่า เป็นหน้าที่ของนายบุญจงตรงไหน

ที่อ้างว่า การแจกนามบัตรพร้อมกับการแจกสิ่งของและเงินโดยไม่ได้เย็บติดกัน และนายบุญจงไม่ใช่ผู้แจกเอง จึงไม่ผิดเป็นข้ออ้างที่ยิ่งน่าขัน

เพราะจากพฤติกรรมกเห็นชัดว่า การแจกนามบัตรพร้อมกับสิ่งของและเงินที่เป็นของหลวง ผู้ที่แจกมีเจตนาอย่างไร

อยากให้นายถาวรกลับไปอ่านบันทึกมีบันทึกของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา(เรื่องเสร็จที่ 573/2551)เคยให้ความเห็นกรณี กรุงเทพมหานครได้มีหนังสือ ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2550 ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาหารือว่า การใช้จ่ายงบแปรญัตติของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการวิสามัญที่สภากรุงเทพมหานครแต่งตั้ง จะมีการติดข้อความบนสิ่งของหรือปิดประกาศว่าเป็นงบประมาณของกรุงเทพมหานครโดยการเสนอของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในโครงการต่างๆ ได้หรือไม่ อย่างไร

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) มีความเห็นว่า เมื่อมาตรา 284 ว่าด้วยเรื่องสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้นำบทบัญญัติมาตรา 266 มาใช้บังคับกับสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ด้วยโดยอนุโลม

โดยบทบัญญัติดังกล่าวได้ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรงหรือทางอ้อม

กรณีการติดข้อความบนสิ่งของหรือปิดประกาศว่า เป็นงบประมาณของกรุงเทพมหานครโดยการเสนอของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร(ส.ก.) จึงอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามหมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 2 การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และอาจเป็นเหตุให้ผู้กระทำการเช่นนั้นถูกถอดถอนได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

การที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การติดข้อความบนสิ่งของหรือปิดประกาศว่า เป็นงบประมาณของกรุงเทพมหานครโดยการเสนอของส.ก. เข้าข่ายเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับส่วนรวม เนื่องจาก ส.ก.เหล่านั้นได้ประโยชน์(ทางการเมือง)จากงบประมาณของหลวงที่นำไปซื้อของเหล่านั้น

อยากถามว่า การแจกนามบัตรของ ส.ส.พร้อมกับแจกสิ่งของที่ซื้อจากงบประมาณแผ่นดินและเงินหลวง(แม้จะไม่ได้เย็บติดกัน) ส.ส.หรือรัฐมนตรีไม่ได้ประโยชน์จากการแจกสิ่งของดังกล่าวหรือ

การบอกเพียงแต่ว่า ไม่ได้เย็บนามบัตรติดกับสิ่งของหรือเงินที่แจกไม่ผิด ถ้าไม่ใช่ข้ออ้างเด็กอมมือ ก็อาจเป็นการหน้ามืดไปชั่วขณะ

อนึ่ง คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1 ซึ่งวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวประกอบด้วย นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการ คุณหญิงนันทกา สุประภาตะนันทน์ นายไมตรี ตันเต็มทรัพย์ นายอาษา เมฆสวรรค์ นายวิษณุ เครืองาม นายวิลาศ สิงหวิสัย นายอารีย์ วงศ์อารยะ นายเชาวน์ สายเชื้อ และนายสุรชัย ภู่ประเสริฐ ซึ่งล้วนเป็นนักกฎหมายมือพระกาฬทั้งสิ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook