''118 ปี ศาลาแยกธาตุ''

''118 ปี ศาลาแยกธาตุ''

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ศาลาแยกธาตุ แค่ได้ยินชื่อก็สะดุด....

...ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย...มีน้อยคนนักที่จะทราบว่า ศาลาแยกธาตุแห่งนี้ คือประวัติความเป็นมาอันยาวนานของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ที่ปัจจุบันเป็นหนึ่งกรมในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปฐม แหยมเกตุ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการคนปัจจุบัน เล่าถึงที่มาของกรม วิทยาศาสตร์บริการว่าเริ่มก่อตั้งปี 2434 หรือเมื่อ 118 ปีก่อน โดยเป็นหน่วยงานชื่อ สถานปฏิบัติการวิเคราะห์แร่ หรือห้องแยกแร่ ในสังกัดกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา ก่อนจะย้ายสังกัดและเปลี่ยนชื่ออีกหลายครั้ง และปรับเป็น ศาลาแยกธาตุ ในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ เมื่อปี 2461

หลังจากนั้นยังผ่านการย้ายสังกัด ยกระดับหน่วยงานอีกหลายครั้ง จนกระทั่งเปลี่ยนเป็น กรมวิทยาศาสตร์ เมื่อปี 2475 ในสังกัดกระทรวงเกษตรพาณิชยการ และย้ายอีกหลายกระทรวง จนในที่สุด เมื่อปี 2522 รัฐบาลได้จัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานขึ้น (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ทำให้กรมวิทยาศาสตร์แยกตัวออกจากกระทรวงอุตสาหกรรม มาสังกัดกระทรวงใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ภารกิจหลักคือการให้บริวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงเป็นสถานปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับ ประเทศ

หลังจากทำงานเบื้องหลังมานานกว่า 100 ปี อธิบดีกรมฯ บอกว่า ขอเปิดตัวให้เป็นที่รู้จักสักที ในโอกาสคล้ายวันสถาปนากรมวิทยาศาสตร์บริการปีนี้ จึงจัดงาน 118 ปี ศาลาแยกธาตุ-กรมวิทยาศาสตร์บริการ (DSS) ขึ้น

ไฮไลต์ในงานนอกจากการเสวนาและบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงในวงการ วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแล้วยังเปิดบ้านให้ชมห้องปฏิบัติการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างเช่นห้องปฏิบัติการตรวจสอบพลาสติไซเซอร์ หรือสารที่เป็นส่วนผสมในการผลิตปะเก็นพลาสติกชนิด พีวีซีที่ใช้กับฝาโลหะของขวดแก้ว เพื่อความสะดวกในการเปิด อาหารหลายชนิดถูกบรรจุในขวดแก้ว ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสูง สารพล าสติไซเซอร์เคลื่อนย้ายจากฝาขวดสู่อาหารหรือไม่ ห้องปฏิบัติการมีคำตอบ

สำหรับสาว ๆ ที่รักความสวยความงามสามารถนำเครื่องสำอางที่ใช้อยู่มาตรวจสอบหาค่า SPF ว่าถูกต้องตามฉลากผลิตภัณฑ์หรือไม่ เพื่อความเหมาะสมของสภาพผิวแต่ละคน ในงานตรวจสอบให้ฟ

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการผลงานวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์บริการที่น่าสนใจ อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีการทำหมวกยางจากยางธรรมชาติเพื่อคลุมบล็อกคอนกรีต เพิ่มความปลอดภัยและสวยงาม การเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิกและแก้ว ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นวัตถุดิบในการก่อสร้างอย่างอิฐมวลเบา กระเบื้องตกแต่ง ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเซรามิกแตก และการรีไซเคิลปูนปลาสเตอร์ใช้แล้ว

อยากรู้จักศาลาแยกธาตุและกรมวิทยาศาสตร์บริการ มากกว่านี้ต้องไปชมที่งาน 29-31 มกราคมนี้ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ

แล้วจะเข้าใจ ว่าทำไม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการคนแรก ดร.ตั้ว ลพานุกรม ถึงกล่าวว่า...

ชาติจะเจริญโดยไม่มีวิทยาศาสตร์เป็นหลักไม่ได้. นาตยา คชินทร

nattayap@dailynews.co.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook