ต่อยอดนวัตกรรม : มอเตอร์ประหยัดพลังงาน

ต่อยอดนวัตกรรม : มอเตอร์ประหยัดพลังงาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ต่อยอดนวัตกรสัปดาห์นี้ยังอยู่ในกระแสประหยัดพลังงานหรือพลังงานทางเลือก กับผลงาน มอเตอร์ประหยัดพลังงาน ฝีมือนายดำรงค์ ตุ้มฉิม นักวิจัยอิสระจากจังหวัดจันทบุรี ได้รับรางวัลที่ 3 จากการประกวดโครงการ เดลินิวส์-SCG ต่อยอดนวัตกร ในหัวข้อ นวัตกรรมสำหรับการเดินทางที่ประหยัดพลังงาน/พลังงานทางเลือก ประเภทนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยหรือเทียบเท่า (ปวส.) และประชาชนทั่วไป

คุณดำรงค์ เล่าถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้อยากมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมว่า จุดประกายแนวคิดจากข่าวการกลั่นน้ำมันจากน้ำทะเล ทำให้คิดว่าจะต้องสร้างเครื่องอะไรสักอย่างที่ไม่ต้องใช้น้ำมัน

ค้นหาวิธีสร้างมาหลายปี จนกระทั่งปี 2532 ได้เริ่มต้นทดลองจากการดัดแปลงเครื่องรถมอเตอร์ไซค์ พบข้อดีข้อเสียของงานทดลองหลายอย่าง แต่เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องเงินทุน งานวิจัยจึงหยุดชะงัก 11 ปีต่อมาจึงมีโอกาสมาทำต่อ

จากแนวคิดและวิเคราะห์แล้ว เห็นว่าสมควรสตอร์ชนิดใหม่น่าจะดีที่สุด จึงเริ่มศึกษาระบบของมอเตอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ มอเตอร์ของพัดลม จากการทดลองจึงรู้ว่ามอเตอร์ปัจจุบันต้องใช้ไฟไปมากกว่าที่ทำกลับมาถึง 19 เท่า จึงทำให้ได้ประสิทธิภาพการทำงานที่ต่ำ

จึงคิดหาวิธีสร้างมอเตอร์ให้ได้ประสิทธิ ภาพสูงขึ้น โดยเรียกว่ามอเตอร์ประหยัดพลังงาน ไม่ใช้แกนเหล็ก ไม่มีขดลวดสนามแม่เหล็ก แต่ใช้แม่เหล็กถาวร เพื่อลดการสูญเสียพลังงาน

คุณดำรง บอกว่า ทดลองสร้างมอเตอร์มาแล้ว 5 ตัว กำลังทำตัวที่ 6 ที่นำเทคนิคจากการค้นพบในการสร้างมอเตอร์ตัวที่ผ่านมา ประยุกต์ใช้ในการสร้างเช่น วิธีทำให้แม่เหล็กให้แรงเพิ่มขึ้นอีก 30% รวมถึงการพันขดลวดเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นไดนาโมในตัว ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียและแรงเสียดทาน

หากมอเตอร์ตัวใหม่สำเร็จออกมา ก็คงถือได้ว่าเป็นมอเตอร์ที่กินไฟน้อยที่สุด สามารถ นำไปประยุกต์ใช้งานกับรถที่ใช้ไฮโดรเจนในการ ขับเคลื่อน

...และที่น่เป็นประโยชน์มากขึ้น คือการใช้งานร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ เรียกว่าประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง!!!. เดลินิวส์ ร่วมกับ เครือซิเมนต์ไทย (SCG) จัดโครงการประกวดงานเขียนเสนอแนวความคิดทางด้านนวัตกรรม (ไม่ใช่การเขียนเรียงความ) ในหัวข้อ นวัตกรรมเพื่อการใช้ทรัพยากร หรือการใช้น้ำอย่างยั่งยืน กำหนดรับผลงานระหว่างวันที่ 16 ม.ค.-28 ก.พ. 2552 สามารถส่งงานเขียนหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานสื่อสารองค์กร อาคารสำนักงานใหญ่ 2 ชั้น 1 บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เลขที่ 1 ถนนปูนซิเมนต์ไทย บางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 โทร. 0-2586-3776 โทรสาร 0-2586-2974 หรือ อีเมล jirawatj@dailynews.co.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook