สปช.ถกรธน.วัน3 -บวรศักดิ์บอกซักฟอกสร้างสรรค์

สปช.ถกรธน.วัน3 -บวรศักดิ์บอกซักฟอกสร้างสรรค์

สปช.ถกรธน.วัน3 -บวรศักดิ์บอกซักฟอกสร้างสรรค์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

'บวรศักดิ์' พอใจภาพรวมอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ยินดีนำความเห็นต่างไปปรับแก้ ขณะรับหนังสือข้อเสนอแนะจาก 'วีระ สมความคิด'

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ รับหนังสือข้อเสนอแนะและแนวคิดเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ จาก นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งเสนอขอให้มีการเพิ่มโทษคดีคอร์รัปชั่นและคดีจะต้องไม่มีอายุความ ส่วนทรัพย์สินที่อายัดได้ต้องตกเป็นของแผ่นดิน รวมถึงขอให้จัดตั้งศาลพิเศษ เพื่อพิจารณาตัดสินคดีคอร์รัปชั่นเป็นการเฉพาะ ขณะที่การตัดสิทธิ์ทางการเมือง จะต้องไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต และหากนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการคอร์รัปชั่นจนทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐที่มีมูลค่าไม่เกิน 1 ล้านบาท ต้องถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 20 ปี และไม่มีสิทธิ์ได้รับการลดโทษหรืออภัยโทษ และความเสียหายที่เกิดต่อรัฐ มีมูลค่าเกิน 5 ล้านบาท ต้องถูกลงโทษประหารชีวิต

ขณะที่ นายบวรศักดิ์ กล่าวถึงภาพรวมการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาว่า เป็นการอภิปรายที่สร้างสรรค์ ส่วนความเห็นต่างของสมาชิก สปช. ถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ยินดีรับฟัง ซึ่งหากจะพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมก็จะนำไปดำเนินการได้


'บวรศักดิ์'แจงแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ

การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญร่างแรก ล่าสุด เข้าสู่การอภิปรายต่อในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและสถาบันการเมืองที่ดี ยังมีผู้อภิปรายที่เหลืออีก 90 คน สมาชิกได้เริ่มอภิปรายใน หมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดย นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชี้แจงข้อสงสัยของสมาชิกที่ระบุว่า รัฐต้องดูแลสิทธิเสรีภาพประชาชนอย่างไร จึงได้อธิบายเหตุผลที่นำแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐมาบัญญัติไว้ในภาค 2 ซึ่งในมาตรา 78 บัญญัติหมวดนี้ไว้เพื่อเป็นเจตจำนงให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน และกำหนดชัดให้รัฐบาลต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา


ทั้งนี้ ในหมวดปฏิรูปที่บัญญัติไว้ รัฐต้องทำในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ทำถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ประชาชนมีสิทธิ์ฟ้องร้องได้


สมบัติชี้ร่างรธน.ยังมีหลายประเด็นทำให้สับสน

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง กล่าวถึงการพิจารณาร่างธรรมนูญ ว่า ยังมีหลายประเด็นที่ทำให้เกิดความสับสน และกรรมาธิการยังกังวลเรื่องความยาวของร่างรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ควรยาวจนเกินไป ควรบัญญัติไว้แต่ประเด็นที่สำคัญ ส่วนรายละเอียดควรนำไปบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ



นอกจากนี้ นายสมบัติ ยังระบุว่า ภายหลังอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น คณะกรรมการปฏิรูปการเมืองจะประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เพื่อจัดทำญัตติขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น แต่จะถูกจะนำไปพิจารณาปรับแก้ไขหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนจะมีการคว่ำบาตรร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้นยังไม่สามารถตอบได้ เพราะยังต้องรอให้มีการยื่นญัตติขอแก้ไขเป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงต้องฟังความเห็นจากคณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ด้วย ซึ่งตนมองว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook