กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พัฒนาวิธีการตรวจยา

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พัฒนาวิธีการตรวจยา

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พัฒนาวิธีการตรวจยา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พัฒนาวิธีการตรวจยา erythropoietin ในประเทศไทย

นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตและโรคมะเร็งจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ละปีมีผู้ป่วยโรคไตเพิ่มขึ้นประมาณ 7,800 คน ในขณะที่โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประเทศไทยโดยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าปีละ 60,000 ราย ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย ทุกช่วงอายุ ทั้งนี้มีผู้ป่วยทั้งโรคไตและโรคมะเร็งจำนวนมากจำเป็นต้องได้รับยาอิริโทรปอยอีติน (Erythropoietin, EPO) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงเมื่อเกิดภาวะโลหิตจางขึ้นในระหว่างการรักษาและในผู้ป่วยบางรายอาจมีความจำเป็น ต้องใช้ยาดังกล่าวไปตลอดชีวิต มีรายงานการเกิดผลข้างเคียงที่สำคัญจากการใช้ยา EPO โดยเกิดการกระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองในร่างกาย จนทำให้ไขกระดูกไม่สร้างเม็ดเลือดแดงและอาจทำให้เกิดโลหิตจางอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งอาการข้างเคียงนี้เรียกว่า pure red cell aplasia (PRCA) อย่างไรก็ดียังไม่มีการศึกษาใดสามารถระบุได้แน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเกิด PRCA โดยมีการกล่าวถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้เช่น การจัดเก็บและการใช้ยาไม่ถูกต้องปัจจัยทางพันธุกรรม คุณภาพของยาและการเกาะของหมู่คาร์โบไฮเดรตในยา EPO เป็นต้น ดังนั้นการศึกษารูปแบบหมู่คาร์โบไฮเดรตในยา EPO ในต่างชื่อการค้ากัน  จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการกำหนดแนวทางการใช้ยา EPO ในประเทศไทยได้ ซึ่งการวิเคราะห์ หมู่คาร์โบไฮเดรตที่ระบุไว้ในตำรายาสากลใช้วิเคราะห์ได้กับเฉพาะยา EPO ต้นแบบเท่านั้น แต่วิธีดังกล่าวไม่สามารถใช้ในการวิเคราะห์ยา EPO ที่ไม่ใช่ยาต้นแบบ ซึ่งมีราคาถูกกว่ายาต้นแบบและมีมากมายหลายชื่อการค้าในประเทศได้ สาเหตุเนื่องจากยาเหล่านี้มักมีการผสมโปรตีนอัลบูมิน เพื่อทำให้ยามีความคงตัว แต่อัลบูมินนี้จะรบกวนวิธีวิเคราะห์ที่ระบุไว้ในตำรายาสากล


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook