ปตท.ตะล่อมรัฐขึ้นแอลพีจีขนส่ง-อุตฯ

ปตท.ตะล่อมรัฐขึ้นแอลพีจีขนส่ง-อุตฯ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
รายงานข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ชี้แจงถึงนโยบายการแก้ปัญหาราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ว่าการเสนอให้ปรับราคาแอลพีจีในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนโยบายแก้ปัญหาราคา และเพื่อให้เกิดการใช้แอลพีจีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศสูงสุด รวมทั้งลดการนำเข้า โดย ปตท.ไม่ได้ประโยชน์แต่อย่างใด ขณะที่ประเทศไทยจะได้ประโยชน์ คือ ไม่ต้องรับภาระต้นทุนนำเข้าที่มีภาระรับส่วนต่างกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือประมาณ 4 บาทต่อกิโลกรัม

ทั้งนี้ ประเทศไทยเริ่มขาดแคลนแอลพีจีตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 เป็นต้นมา โดยมีปริมาณนำเข้ารวมระหว่างเดือนเมษายน-ธันวาคม 2551 รวม 4.5 แสนตัน ซึ่งเกิดจากความต้องการที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากการควบคุมราคาของภาครัฐ โดยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาตลาดโลกและประเทศเพื่อนบ้าน โดยในปี 2548-2551 ในขณะที่ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้แอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 15% โดยเฉพาะในภาคขนส่งสูงขึ้นถึง 37%

คงเป็นไปไม่ได้ที่ ปตท.จะสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มขึ้นให้ทันต่อความต้องการดังกล่าว เนื่องจากการก่อสร้างโรงแยกก๊าซจะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าและทำการก่อสร้างไม่น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งหากการขยายตัวยังอยู่ในอัตราปัจจุบัน แม้จะมีการขยายโรงแยกก๊าซ ก็ไม่สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น และต้องมีการนำเข้าแอลพีจีต่อไป หากไม่มีการแก้ปัญหาให้ถูกจุด ปตท.ระบุ

ส่วนข้อเสนอการปรับขึ้นราคาแอลพีจีของกระทรวงพลังงานที่ผ่านมา ไม่เป็นการสวนกระแสกับราคาก๊าซในตลาดโลกที่ร่วงลงมา 60% จากกลางปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเสนอปรับขึ้นราคาแอลพีจีในครั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาที่เรื้อรังมานาน จนทำให้การใช้แอลพีจีบิดเบือน ไม่เกิดประสิทธิภาพ และทำให้ต้องมีการนำเข้าและเป็นภาระของรัฐบาลมากขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันราคาในตลาดโลกลดลงมาอยู่ที่ 380 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน แต่หากบวกค่าขนส่งถึงประเทศไทยก็จะอยู่ที่ 430 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และต้องนำมาจำหน่ายในราคาควบคุมที่ 10.996 บาทต่อกก. ทำให้รัฐยังคงรับภาระอยู่อีกประมาณกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน หรือประมาณ 4 บาทต่อกก.

รายการคมชัดลึกตอน-แกนโลกเหวี่ยง สัญญาณเตือนธรรมชาติวิบัติ

หลัง ดร.สมิทธ ธรรมสโรช อดีตประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยข้อมูลว่า แกนโลกหมุนเอียงผิดปกติ ทำให้เกิดความวิตกกังวลกันว่าในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยอาจประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น รายการคม ชัด ลึก ประจำวันศุกร์ที่ 30 มกราคม ตอน แกนโลกเหวี่ยง สัญญาณเตือนธรรมชาติ ได้หยิบยกประเด็นร้อนดังกล่าวมาสนทนาในรายการเพื่อหาข้อเท็จจริง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook