วิชาแนะตั้งคกก.มาตรฐานทางจริยธรรมสภาฯสอบความโปร่งใส

วิชาแนะตั้งคกก.มาตรฐานทางจริยธรรมสภาฯสอบความโปร่งใส

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
วิชา แนะตั้ง คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมสภาฯ สอบความโปร่งใส ชี้กฎหมายมาตรา 100 ควรครอบคลุมถึงเจ้าหน้าที่รัฐด้วย ด้าน เรืองไกร จี้นักการเมืองใช้อำนาจอัพเกรดที่นั่งการบินไทยสูญเงิน 100 กว่าล้าน

ที่รัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า จัดงานเสวนา เรื่อง การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ.2550 โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา

นายวิชา กล่าวว่า ประเทศไทยควรมีมาตรการตรวจสอบข้าราชการทางการเมือง ก่อนจะให้เริ่มดำรงตำแหน่งว่ามีความขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือไม่ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ผู้ดำรงตำแหน่งควรต้องเปิดเผยรายละเอียดทุกเรื่อง รวมทั้งให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ และหากพบว่ามีผลประโยชน์จริงควรจะต้องพิจารณาตนเองเพื่อละเว้นในการกระทำ หรือยกเว้นการลงความเห็น ซึ่งกระบวนการตรวจสอบในประเทศไทย ควรทำในรูปแบบเชิงบูรณาการ ซึ่งควรใช้หลักการป้องกัน ไม่ใช่หลักการติดตาม หรือพอเรื่องเกิดขึ้นแล้วค่อยมาตรวจสอบ และที่สำคัญตนเห็นว่าควรมีการตั้งคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมของสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นผู้ตรวจสอบความโปร่งใสในเบื้องต้น ซึ่งจะมีลักษณะเดียวกับการแสดงบัญชีทรัพย์สิน เช่นเดียวกับในประเทศสิงคโปร์ เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าระดับเล็กหรือใหญ่จะต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน ซึ่งบัญชีทรัพย์สินจะแสดงให้เห็นว่าเรามีเส้นสายอะไรที่โยงใยไปถึงใครบ้าง

นายวิชา กล่าวต่อไปว่า เรื่องความผิดเกี่ยวกับผลประโยชน์ขัดกัน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ผิดจริยธรรมที่ไม่ถึงขั้นผิดกฎหมายอาญา กับผิดกฎหมายอาญาด้วย แต่ทั้งนี้ตนเห็นว่าบางส่วนมีข้อบกพร่อง เช่น มาตรา 100 เรื่องการใช้สินบน อิทธิพลที่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ ในสหรัฐอเมริกาเคร่งครัดมาก กำหนดให้ข้าราชการทางการเมืองทุกคนมีความผิด แต่สำหรับประเทศไทย ป.ป.ช.ต้องประกาศผู้ที่เข้าข่ายรับโทษ ซึ่งมีการกำหนดความผิดไว้เฉพาะนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ดังนั้นจึงมีเสียงเรียกร้องจำนวนมากให้ครอบคลุมขยายไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐด้วย

ด้านนายเรืองไกร กล่าวว่า ในต่างประเทศค่อนข้างมีบทบังคับที่เข้มข้นในเรื่องของการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ แต่สำหรับประเทศไทย หากยึดหลักรัฐธรรมนูญ 50 และกฎหมาย ป.ป.ช. อย่างเคร่งครัดก็จะถือว่ามีความเข้มข้นพอสมควร นอกจากนี้ตนเห็นว่าควรมีการวางกรอบเรื่องการรับผลประโยชน์ให้ชัดเจน อย่างเช่น กรณีของการบินไทย ที่ให้สิทธิข้าราชการการเมืองขึ้นเครื่องบินในชั้นประหยัดได้ฟรี แต่บางครั้งข้าราชทางการเมืองใช้อำนาจหน้าที่ไปอัพเกรดที่นั่ง โดยที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้การบินไทยหรือไม่ ทั้งนี้คงต้องมีการตีความกันอีกครั้งว่าเข้าข่ายรับประโยชน์หรือไม่ และกรณีดังกล่าวเป็นผลทำให้การบินไทยเสียรายได้กว่า 100 ล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้จะอ้างว่าไม่ได้เรียกร้องก็คงไม่ได้ แต่ต้องตีความว่ามีการรับประโยชน์หรือไม่ ซึ่งตนเห็นว่าควรมีการวางกรอบเรื่องการประโยชน์ให้ชัดเจน

นอกจากนี้นายเรืองไกร กล่าวต่อถึงการกระทำของนายบุญจง วงษ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ว่าเข้าข่ายผิดมาตรา 266 นอกจากนี้ตนเห็นว่าควรตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีที่นายบุญจง คุมกระทรวงมหาดไทย แต่เหตุใดจึงไปนำสิ่งของจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ว่าเป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์และถือว่าเป็นบุญคุณติดกันหรือไม่และเข้าข่ายกระทำผิดตามมาตรา 266 หรือไม่

คลี่เคล็ดจีบสาวในคุกตำรับเอ็ม แรมโบ้

ฮือฮา...!! อีกครั้ง เมื่อนักศึกษาสาวปริญญาโทของมหาวิทยาลัยดัง เข้าแจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และ สตรี ให้ดำเนินคดีต่อนายสุรชัย หรือคณิตศร วิวัฒนชาต หรือ เอ็ม แรมโบ้ อายุ 33 ปี อดีตนักโทษต้องคดีใช้อาวุธสงครามยิงถล่ม สน.พญาไท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook