องค์กรสตรีชงแก้กฎหมาย2ฉบับป้องกันผัวมีกิ๊กนอกใจเมีย

องค์กรสตรีชงแก้กฎหมาย2ฉบับป้องกันผัวมีกิ๊กนอกใจเมีย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2552 เวลา 09.30 น. ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มูลนิธิเพื่อนหญิง จัดประชุมและแถลงข่าวบูรณาการกฎหมาย หยุดเหล้า.....หยุดทำร้ายครอบครัว โดยนายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อนหญิงได้รับการร้องเรียนขอความช่วยเหลือปีละ 1,500 ราย เป็นเหตุความรุนแรงในครอบครัว 70 % ในจำนวนนี้นอกเหนือจากความรุนแรงทางร่างกายที่พบเห็นอยู่เสมอแล้ว เกือบ 50 % เป็นความรุนแรงทางจิตใจที่เกิดจากสามีนอกใจ มีเมียน้อย มีกิ๊ก เป็นสาเหตุให้ครอบครัวแตกแยก โดยในรอบปีที่ผ่านมามูลนิธิฯ ช่วยผู้หญิงต่อสู้อย่างมากเพื่อชี้ให้ศาลเห็นว่าการมีกิ๊ก หรือเมียน้อยเป็นความรุนแรงทางจิตใจที่ต้องเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองทางกฎหมาย

นายจะเด็จ กล่าวอีกว่า มูลนิธิได้เตรียมหารือเพื่อแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 5 ที่กำหนดให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวมีหน้าที่แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งเดิมไม่มีการลงโทษมีผลให้มีผู้เพิกเฉยจำนวนมาก โดยจะเสนอให้แก้ไขพ.ร.บ.นี้ด้วยการตัดสิทธิบางอย่างแก่ผู้ไม่ทำหน้าที่แจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัว เช่น ตัดสิทธิการรักษาพยาบาล เป็นต้น รวมทั้งเสนอให้รื้อกฎหมายอาญา มาตรา 276 เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ ที่มีข้อจำกัดไม่คุ้มครองผู้ถูกข่มขืนอายุเกิน 18 ปีด้วย

พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 บังคับใช้มาแล้ว 1 ปี กระทรวงยุติธรรมรายงานว่ามีผู้เข้ากระบวนการตามกฎหมายทั่วประเทศเพียง 54 กรณี เนื่องจากตำรวจซึ่งเป็นกลไกรับแจ้งเหตุยังมีทัศนคติมองความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว อีกทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ยังมีการประชาสัมพันธ์กฎหมายน้อย กลไกการตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายและการกำหนดแนวปฏิบัติล่าช้ามาก รวมทั้ง สื่อมีทัศนคติเดิมๆในการเสนอภาพข่าวผู้หญิง ลักษณะกระทำซ้ำ และสื่อละคร บิลบอร์ดโฆษณาที่กระทำต่อผู้หญิงเหมือนวัตถุทางเพศ ซึ่งปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็กและคนในครอบครัวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทำเป็นวาระแห่งชาติ นายจะเด็จ กล่าว

ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวด้วยว่า ตั้งแต่ปี 2545-2550 มูลนิธิฯและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ได้ทำชุมชนเลิกเหล้าลดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กใน 10 จังหวัด นำร่องต้นแบบ คือ เชียงใหม่ อำนาจเจริญ สมุทรปราการ ชุมพร ลำพูน สุรินทร์ นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และกทม. พบว่ากลไกสำคัญในการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว คือ กฎหมาย 2 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 และพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 โดยเฉพาะการบังคับใช้พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ในการจำกัดพื้นที่ดื่มและสถานที่ขายช่วยลดปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงได้มาก เพราะจากการทำวิจัยร่วมกับสสส. เรื่อง ผลกระทบของสุราในฐานะปัจจัยร่วมการเกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว พบว่า 70-80 % ของกลุ่มตัวอย่างเพศชายที่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีประสบการณ์ใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กโดยการทุบตีทำร้าย ข่มขืนกระทำชำเราบุคคลในครอบครัว

คลี่เคล็ดจีบสาวในคุกตำรับเอ็ม แรมโบ้

ฮือฮา...!! อีกครั้ง เมื่อนักศึกษาสาวปริญญาโทของมหาวิทยาลัยดัง เข้าแจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และ สตรี ให้ดำเนินคดีต่อนายสุรชัย หรือคณิตศร วิวัฒนชาต หรือ เอ็ม แรมโบ้ อายุ 33 ปี อดีตนักโทษต้องคดีใช้อาวุธสงครามยิงถล่ม สน.พญาไท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook