เงินเฟ้อเดือน ม.ค.ติดลบ 0.4%

เงินเฟ้อเดือน ม.ค.ติดลบ 0.4%

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
พาญิชย์ยังปากแข็งไม่เกิดเงินฝืดลุ้นครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยผงาด

นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระ ทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือน ม.ค. 52 ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. 51 แต่ลดลง 0.4% เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 51 ซึ่งถือเป็นการลดลงครั้งแรกรอบ 9 ปี 2 เดือน นับจากเดือน ต.ค. 42 ที่ติดลบ 0.4% แต่สถานการณ์นี้ยังไม่ใช่ภาวะเงินฝืด เพราะเงินเฟ้อที่ติดลบมีสาเหตุจากราคาสินค้าปรับลดลงเข้าสู่ราคาปกติ ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเกษตร

ขณะนี้สินค้าปรับลดราคาลงสู่ฐานปกติอีกครั้ง หลังจากปีก่อนราคาได้ปรับสูงขึ้นมาก ตอน นี้เมื่อปัจจัยต่างค่อย ๆ ลด ดัชนีก็เริ่มลดลงตาม ซึ่งไม่ได้จากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง เพราะตอนนี้การใช้จ่ายของคนยังปกติ สินค้าของกินของใช้คนก็ยังซื้ออยู่ เว้นแต่สินค้าฟุ่มเฟือยที่คนชะลอการซื้อบ้าง ตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งไม่มีอะไรบ่งบอกว่าจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด

แนวโน้มเงินเฟ้อปี 52 คาดว่าในช่วงไตรมาส 1 และ 2 จะขยายตัวติดลบต่อเนื่อง แต่จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่า เงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ที่ 0-0.5% ภายใต้สมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 50-60 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 35-36 บาท ต่อเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ สาเหตุที่เงินเฟ้อเมื่อเทียบเดือน ม.ค. 52 กับ ธ.ค. 51 ไีการเปลี่ยนแปลง เพราะดัชนีหมวดสินค้าหลายรายการไม่แตกต่างกันมาก โดยสินค้าและบริการที่มีราคาลดลง เช่น ผักสด ข้าวสารเจ้า ไข่ไก่ เครื่องปรุงอาหาร และค่าโดย สารสาธารณะ ขณะที่สินค้าที่ราคาสูงขึ้น เช่น ปลาและสัตว์ เนื้อสุกร ผลไม้ นมและผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกภายในประเทศ และค่ากระแสไฟฟ้า เป็นต้น

สำหรับเงินเฟ้อเดือน ม.ค. เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดพาหนะ ขนส่งและการสื่อสาร ลดลง 14.4% โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง เคหสถาน เช่น ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา ลดลง 7.4% ขณะที่หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 11.7% เช่น ข้าว เนื้อสัตว ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ เครื่องประกอบอาหาร หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ที่สูงขึ้น เช่น สบู่ แชมพู ผลิตภัณฑ์ป้องกันบำรุงผิว หมวดบันเทิง การอ่านและการศึกษา สูงขึ้น 0.9% หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 1.1%

สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐานของประเทศ ที่คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 300 รายการ โดยหักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลัง งาน 117 รายการที่คิดเป็น 24% ของสัดส่วน ค่าใช้จ่ายทั้งหมดออก เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. 51 ลดลง 0.1% เทียบกับเดือน ม.ค. 51 สูงขึ้น 1.6% อย่างไรก็ตาม ในเดือน ม.ค.นี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ทำการปรับปรุงน้ำหนักและปีฐานในการคำนวณเงินเฟ้อใหม่จากปี 2545 เป็น 2550 และเพิ่มจำนวนสินค้าและบริการที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจาก 374 รายการเป็น 417 รายการ

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจของไทยยังไม่เผชิญภาวะเงินฝืด เพราะการพิจารณากำลังซื้อจริงกับเงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวกอยู่ แต่ทั้งนี้เงินฝืดเทคนิคเริ่มเกิดขึ้นแล้ว หลังจากเงินเฟ้อทั่วไปเทียบเดือนต่อเดือนติดลบติดต่อกัน 4 เดือน ส่วนจะรุนแรงหรือไม่ ต้องดูว่าเงินเฟ้อทั่วไปที่ติดลบครั้งแรกเดือน ม.ค. มีสาเหตุจากกำลังซื้อถดถอยหรือไม่

ทั้งนี้ เชื่อว่าการใช้จ่ายจะฟื้นได้ในครึ่งปีหลัง ส่งผลให้เงินเฟ้อเป็นบวก เพราะระดับราคาน้ำมันยังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่จะทำให้ประชาชนยังมีกำลังซื้อต่อเนื่อง จะทำให้เงินฝืดจริงไม่เกิดขึ้น และคาดว่าทั้งปีจะอยู่ในระดับ 0-1%.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook