ผอ.LPNแนะจัดตั้งสหภาพแรงงานลูกเรือประมง

ผอ.LPNแนะจัดตั้งสหภาพแรงงานลูกเรือประมง

ผอ.LPNแนะจัดตั้งสหภาพแรงงานลูกเรือประมง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผอ. LPN แนะ จัดตั้งสหภาพแรงงานลูกเรือประมง เพื่อช่วยเหลือคุ้มครองแรงงานอย่างเท่าเทียม ด้าน สหภาพแรงงานภาคตะวันออก แก้ปัญหาแรงงานอย่างจริงจัง รับ มีแรงงานต่างด้าวทั้งถูกและผิดกฎหมาย

นายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) อภิปรายในงานสัมมนาเรื่อง “สถานการณ์แรงงานไทยในสายตาประชาคมโลก” โดยกล่าวถึงกลุ่มสหภาพลูกเรือประมงไทยและข้ามชาติ ภายหลังจากชุดปฏิบัติการช่วยลูกเรือประมงของ LPN เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือแรงงานไทยและข้ามชาติที่ตกเรือ และติดค้างบนเรือ ที่เกาะอัมบน ตวน และเบนจิน่า ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2557 ทำให้เห็นภาพชัดเจนของการละเมิดสิทธิแรงงาน ดังนั้น จากปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการให้ความเป็นธรรมแก่ลูกเรือหรือแรงงานที่ประสบปัญหา เกิดการรับฟังปัญหารอย่างรอบด้านนำไปสู่แนวปฏิบัติที่ดี ในอนาคตต้องจัดตั้งสหภาพแรงงานลูกเรือประมง เพื่อปกป้องคุ้มครองลูกเรือประมงในและนอกน่านน้ำไทย ส่วนภาคผู้ประกอบการ ภาคเอกชนหน่วย

งานภาครัฐ ได้คำนึงถึงความสำคัญของทรัพยากรแรงงานหรือลูกจ้างได้รับสิทธิผลประโยชน์จากการเป็นลูกจ้างอย่างเท่าเทียมกัน ในด้านกฎหมาย การเงิน การคุ้มครองสิทธิในการเป็นลูกจ้างทั้งในและต่างประเทศอย่างถูกต้องเป็นธรรม


ทางด้านกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในงานสัมมนาเรื่อง “สถานการณ์แรงงานไทยในสายตาประชาคมโลก” ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบ คือ ผู้ใช้แรงงาน แต่ที่ผ่านมา ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริงจากการถูกละเมิดสิทธิแรงงาน โดยเพิ่งมาแก้ไขปัญหาจริงจัง ภายหลังไทยถูกปรับลดระดับความน่าเชื่อถือมาอยู่ในระดับเทียร์ 3

ทั้งนี้ มีแรงงานข้ามชาติเข้ามาทั้งถูกและผิดกฎหมาย ซึ่งหากถูกกฎหมายตั้งแต่แรก ก็จะไม่มีปัญหา ขณะเดียวกัน มีความกังวล หากแรงงานผิดกฎหมายยังเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคสู่คนไทย

ด้านคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยอมรับว่า ภาครัฐดูแลไม่ทั่วถึงกับปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่ต้องแก้ปัฐหาแบบบูรณาการที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง โดยนำสิทธิของผู้ใช้แรงงานเป็นตัวตั้ง และต้องมีผู้นำที่ต้องมีภาวะการตัดสินใจได้

ขณะที่ ศาสตราจารย์สุภางค์ จันทวานิช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่น สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า การแก้ปัญหาเร่งด่วนตามหลักการขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO มี 5 เรื่องหลัก คือ การละเมิดอันเนื่องมาจากความเปราะบางของแรงงาน การหลอกลวง การจำกัดเสรีภาพในการเดินทาง ความรุนแรงต่อร่างกายและความรุนแรงทางเพศ การขู่เข็ญและการข่มขู่


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook