นักวิชาการยันสร้างเขื่อนแม่วงก์แก้ปัญหาไม่ตรงจุด

นักวิชาการยันสร้างเขื่อนแม่วงก์แก้ปัญหาไม่ตรงจุด

นักวิชาการยันสร้างเขื่อนแม่วงก์แก้ปัญหาไม่ตรงจุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิชาการ ยันสร้างเขื่อนแม่วงก์ แก้แล้ง - น้ำท่วม ไม่ตรงจุด ค้านใช้ ม.44 ชี้ ผิดวัตถุประสงค์ วอนรัฐทบทวน

นายภาณุเดช เกิดมะลิ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงกรณี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้แนวคิดการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ ว่า หากรัฐบาลบังคับใช้อำนาจมาตรา 44 อนุมัติให้ก่อสร้างจริง ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากแผนการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เกิดขึ้นมานานกว่า 30 ปี และทุกครั้งที่มีการทำ “รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” EIA รวมถึงด้านผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน” (EHIA) ก็จะพบข้อบกพร่องทุกครั้ง ซึ่งในยุคของ
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เคยมีแผนว่าจะสร้างเขื่อนดังกล่าว แต่เมื่อทำการศึกษารายละเอียดอย่างจริงจัง ก็พบผลเสียในหลายจุด จึงทำให้ถูกระงับ ทั้งนี้ นายภาณุเดช มองว่าการสร้างอ่างเก็บน้ำสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมได้เพียงเล็กน้อยไม่คุ้มค่ากับทรัพยากรที่ต้องเสียไป เพราะทางนักวิชาการเคยนำเสนอโมเดลการแก้ปัญหาในหลายรูปแบบ แต่กรมชลประทาน กลับไม่คิดนำไปปรับใช้ โดยมองว่าเขื่อนแม่วงก์ เป็นทางเลือกเดียว จึงถือเป็นความผิดพลาด เนื่องจากที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยสร้างเขื่อน และ อ่างเก็บน้ำในหลายแห่ง แต่ก็ยังเกิดสถานการณ์ภัยแล้ง รวมถึงน้ำท่วมอยู่อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยจึงน่าจะมาจากการบริหารจัดการอย่างไม่เป็นระบบ สำหรับการออกมาคัดค้านครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากอคติ เนื่องจากที่ผ่านมา ไม่ว่ารัฐบาลชุดไหนที่มีแนวคิดสร้างเขื่อนก็จะถูกต่อต้านมาตลอด โดยเฉพาะกับรัฐบาลชุดนี้ ที่จะอาศัยมาตรา 44 ซึ่งหลายฝ่ายเห็นว่าควรนำไปบังคับใช้กับการแก้ปัญหาการทุจริต ไม่ใช่ดำเนินการกับโครงการที่มีปัญหา และหลายฝ่ายยังมีข้อกังขาอยู่


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook