ราชทัณฑ์เผย”ชูวิทย์”เข้าข่ายได้รับ”อภัยโทษ” ส่วนผู้พันตึ๋ง”อด”เพราะเป็นนักโทษชั้นเลว

ราชทัณฑ์เผย”ชูวิทย์”เข้าข่ายได้รับ”อภัยโทษ” ส่วนผู้พันตึ๋ง”อด”เพราะเป็นนักโทษชั้นเลว

ราชทัณฑ์เผย”ชูวิทย์”เข้าข่ายได้รับ”อภัยโทษ” ส่วนผู้พันตึ๋ง”อด”เพราะเป็นนักโทษชั้นเลว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(12 ธ.ค.) นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษเนื่องในโอกาสแรกนับแต่ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2559 ว่า คาดว่าจะมีผู้ต้องโทษที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษและได้รับการปล่อยตัวทันทีราว 30,000 คน

โดยแต่ละเรือนจำจะมีคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อให้ผู้ต้องโทษที่ได้รับการปล่อยตัวมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ คือ ต้องเป็นผู้ต้องโทษชั้นดีขึ้นไป จึงได้รับสิทธิ์และไม่เป็นผู้ที่กระทำผิดซ้ำไม่ใช่ผู้ต้องโทษคดีฆ่าข่มขืน ฉ้อโกงประชาชน หรือค้ายาเสพติด

นายกอบเกียรติ กล่าวว่า ในส่วนของเรือนจำในต่างจังหวัดจะมีผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้พิพากษา และอัยการร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติผู้ต้องขังด้วย โดยหลังตรวจสอบคุณสมบัติแล้วเรือนจำจะส่งรายชื่อผู้ต้องโทษให้ศาลจังหวัดทำหมายปล่อยและดำเนินการปล่อยตัวเป็นอิสระสำหรับมาตรการดูแลผู้พ้นโทษ ซึ่งถือเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วนั้นจะมีหน่วยงานภาคีในพื้นที่คอยสอดส่องดูแลไม่ให้กระทำความผิดซ้ำ

คาดว่าจะสามารถปล่อยตัวผู้ต้องขังที่ได้รับการอภัยโทษล็อตแรกได้ภายใน 3 วัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องโทษน้อยไม่เกิน 2 ปี สำหรับผู้กระทำผิดคดีมาตรา112 ก็เข้าข่ายได้รับประโยชน์จาก พ.ร.ฎ.อภัยโทษครั้งนี้ด้วย โดยจัดเป็นผู้ต้องขังคดีทั่วไปที่มีสิทธิ์ได้รับการลดโทษตามลำดับชั้น

"สำหรับกลุ่มที่เข้าข่ายได้รับสิทธิ์อภัยโทษปล่อยตัวรอบนี้ เช่น นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ และผู้ต้องขังคดีรื้อบาร์เบียร์ที่ต้องโทษจำคุกคนละ 2 ปี ส่วน นายเฉลิมชัย มัจฉากล่ำ หรือ ผู้พันตึ๋ง ผู้ต้องโทษคดีฆาตกรรมนายปรีณะ ลีพัฒนะพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ที่ได้รับการลดวันต้องโทษและพักการโทษไปก่อนหน้านี้ แต่กระทำความผิดซ้ำจนถูกนำตัวเข้าคุมขังตามกำหนดโทษที่ได้รับการพักไว้ในเรือนจำกลางบางขวาง โดยผู้พันตึ๋งรอบนี้ไม่เข้าข่ายได้รับการอภัยโทษ เพราะถูกลดชั้นปรับเป็นนักโทษชั้นเลว"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook