อ่างทองพบภูมิปัญญาท้องถิ่นช่างแทงหยวกโบราณ

อ่างทองพบภูมิปัญญาท้องถิ่นช่างแทงหยวกโบราณ

อ่างทองพบภูมิปัญญาท้องถิ่นช่างแทงหยวกโบราณ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อ่างทอง พบภูมิปัญญาท้องถิ่น สกุลช่างแทงหยวก สืบทอดวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณ

ที่บริเวณบ้านเลขที่ 84 หมู่ 5 ต.อินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง พบชาวบ้านกำลังช่วยกันแทงหยวกกล้วยเป็นลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงาม จากนั้นนำมาประกอบเข้ากันจนมีลักษณะที่งดงามอ่อนช้อยตามแบบศิลปะไทย ซึ่งก่อนที่จะทำการแทงหยวกจะต้องมีพิธีไหว้ครูเพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นจะเลือกต้นที่โตได้ขนาด โดยจะต้องเป็นกล้วยตานีที่ยังไม่ออกเครือ สำหรับขั้นตอนของการลอกกาบกล้วยเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เมื่อลอกเสร็จก็จะนำมาวางคว่ำซ้อนกันเป็นคู่ ๆ ส่วนมีดที่ใช้สำหรับแทงหยวกมีลักษณะเป็นมีดปลายแหลมมีคมทั้ง 2 ด้าน พร้อมเครื่องมือช่าง และตอกขนาดต่าง ๆ

ด้าน พ.จ.อ.สุรเดช เดชคง ข้าราชการบำนาญ ครูภูมิปัญญาไทย สาขาศิลปกรรมการแทงหยวก สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ศิลปะการแทงหยวกนั้น มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปัจจุบันมีการคิดนำมาประยุกต์ใช้หลากหลาย ซึ่งในสมัยโบราณนิยมแทงหยวกในงานมงคล เช่น งานโกนจุก ตัดจุก แต่คนสมัยใหม่เข้าใจกันว่าจะใช้เฉพาะงานศพ สำหรับสกุลช่างแทงหยวกของ อ.โพธิ์ทอง โดย นายลมูล เมฆกระจาย เคยได้รับรางวัล บุษราคัมมณีศรีราชภัฏ ครั้งที่ 13 ปี 2559 สาขาหัตถศิลป์และภูมิปัญญา ซึ่งครูภูมิปัญญาท้องถิ่นทุกคนเคยได้เคยทำงานแทงหยวกให้กับบุคคลสำคัญ และผู้มีชื่อเสียงมาแล้วหลายงาน โดยที่รู้สึกปลาบปลื้มมากที่สุดได้ถวายงานแทงหยวกและมีดแทงหยวกทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้แก่นักเรียนทางภาคใต้ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามที่มีมาแต่โบราณให้กับลูกหลานต่อไป


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook