ม.44แก้ไขปัญหาบริหารงานบุคคลปฏิรูปศธ.

ม.44แก้ไขปัญหาบริหารงานบุคคลปฏิรูปศธ.

ม.44แก้ไขปัญหาบริหารงานบุคคลปฏิรูปศธ.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หัวหน้า คสช. ใช้ ม.44 ขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ แก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคล กระทรวงศึกษาธิการ

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2560 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้ 

1. ให้กระทรวงศึกษาธิการมี อ.ก.พ. กระทรวง คณะหนึ่ง ประกอบด้วย 
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน 
(2) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน 
(3) อนุกรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และผู้แทน ก.พ. ซึ่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสํานักงาน ก.พ. จํานวนหนึ่งคน 
(4) อนุกรรมการซึ่งประธานแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการ และด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้วและมิได้เป็นข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ จํานวนไม่เกินสามคน 
(5) อนุกรรมการซึ่งประธานแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนผู้ดํารงตําแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูงในกระทรวงศึกษาธิการซึ่งต้องมิใช่อนุกรรมการตาม (3) โดยให้คัดเลือกกันเองจากข้าราชการ พลเรือนผู้ดํารงตําแหน่งดังกล่าว จํานวนไม่เกินห้าคน ให้ อ.ก.พ. นี้ตั้งเลขานุการ จํานวนหนึ่งคน 

2. ให้ อ.ก.พ. กระทรวง มีอํานาจหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 16 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และตามกฎหมายอื่น 

3. หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาหรือการเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการตาม ข้อ 1 (4) และ (5) วาระการดํารงตําแหน่ง และจํานวนขั้นต่ำของอนุกรรมการดังกล่าว ให้เป็นไป ตามที่กําหนดในกฎ ก.พ. ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการให้เป็นไปตามกฎ ก.พ. ตามวรรคหนึ่งได้ ให้กระทรวงศึกษาธิการทําความตกลงกับ ก.พ. 

4. ให้สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบงานธุรการของ อ.ก.พ. กระทรวง 

5. มิให้นําความในมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาใช้บังคับแก่ อ.ก.พ. กรม ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั้งนี้ ให้ อ.ก.พ. กรม ดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ตามอํานาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กรม ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

6. ในวาระเริ่มแรกให้ อ.ก.พ. กระทรวง ประกอบด้วยอนุกรรมการตามข้อ 1 (1) (2) และ (3) จนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการตามข้อ 1 (4) และ (5) ซึ่งต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ 

7.การใดที่อยู่ในระหว่างการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กรม ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 อยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ ให้ อ.ก.พ. กระทรวงตามคําสั่งนี้เป็นผู้ดําเนินการต่อไป ให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานอื่นใด ซึ่ง อ.ก.พ. กรม ที่ปฏิบัติหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง แต่งตั้งไว้อยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า อ.ก.พ. กระทรวง ตามคําสั่งนี้จะได้มีคําสั่งเป็นอย่างอื่น 

8. ให้กระทรวงศึกษาธิการมีตําแหน่งศึกษาธิการภาค จํานวนสิบสองตําแหน่ง เป็น ข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทบริหารระดับสูง และมีตําแหน่งรองศึกษาธิการภาค จํานวนสิบสองตําแหน่ง เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตําแหน่งประเภทบริหารระดับต้น โดยให้กระทรวงศึกษาธิการดําเนินการเกลี่ยอัตรากําลังภายในกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนําไปใช้ในการกําหนดตําแหน่ง

ทั้งนี้การเกลี่ยอัตรากําลังตามวรรคหนึ่ง ให้ตัดโอนอัตราตําแหน่งและเงินงบประมาณแผ่นดินประจําอัตรารวมตลอดทั้งงบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน ค่าจ้างประจํา และเงินอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งตั้งไว้สําหรับตําแหน่งที่เกลี่ยนั้นมาเป็นของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และการโอนหรือการนํารายจ่ายที่กําหนดไว้สําหรับส่วนราชการใดในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมไปใช้สําหรับสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นอกเหนือจากกรณีตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ให้กระทําได้ 

9. ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบ แห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้ 

10 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook