กรมชลฯเพิ่มเครื่องสูบน้ำรับมือ16-18ม.ค.

กรมชลฯเพิ่มเครื่องสูบน้ำรับมือ16-18ม.ค.

กรมชลฯเพิ่มเครื่องสูบน้ำรับมือ16-18ม.ค.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมชลประทาน เพิ่มเครื่องสูบน้ำ 133 เครื่อง รับมือ 16 - 18 ม.ค. ขอ กฟภ. สนับสนุนระบบไฟฟ้า - เร่งระบายน้ำภาคใต้รับฝนเพิ่มเร่งระบายน้ำภาคใต้รับฝนเพิ่ม

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ ว่า ระหว่างวันที่ 1 - 13 มกราคม 2560 พบว่า เหตุการณ์น้ำในภาคใต้หลายพื้นที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติเหลือเพียง จ.นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ ตรัง ที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะยังมีน้ำท่วมขังอีก ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศแจ้งเตือนว่าระหว่างวันที่ 16 - 18 ม.ค. นี้จะมีฝนตกเพิ่มในพื้นที่ภาคใต้ ดังนั้น จำเป็นจะต้องเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ภายใน 4 - 5 วัน และก่อนที่จะมีปรากฏการณ์น้ำตายในกลางเดือนที่น้ำขึ้นมากกว่าปกติ อาจจะทำให้ระบายน้ำออกสู้ทะเลได้ยากขึ้น ขณะเดียวกัน ต้องเก็บกักน้ำในคลอง และอ่างเก็บไว้ 200 ล้านลูกบากศ์เมตร เพื่อเก็บไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งปีนี้ด้วยเช่นกัน

พร้อมกันนี้ ได้ขอความสนับสนุนด้านไฟฟ้าจากการไฟฟ้าจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 3 เฟส เพื่อใช้ในการเร่งเครื่องสูบน้ำให้สามารถระบายน้ำได้เร็วที่สุด นอกจากนี้ ได้ระดมเครื่องสูบน้ำลงไปยังภาคใต้แล้ว 239 เครื่อง โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำแล้วเสร็จจำนวน 133 เครื่อง ในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ ตรัง ที่มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำถาวรอยู่ 87 เครื่อง ทั้งนี้ คาดว่าหากไม่มีฝนตกหนักลงมาเพิ่มสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์กรมชลฯเพิ่มเครื่องสูบน้ำรับมือ16-18ม.ค.

นอกจากนี้ นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำใน 3 จังหวัด ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ ตรัง ว่า สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังเหลือน้ำล้นในพื้นที่อีก 600 ล้านลูกบากศ์เมตร ที่ต้องผลักดันออกสู่ทะเล ซึ่งต้องเร่งระบายออกจากพื้นที้ให้เร็วที่สุดอย่างน้อยวันละ 160 ล้านลูกบากศ์เมตร ส่วนจังหวัดตรัง มีระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 15 - 20 เซนติเมตร จึงเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ผลักดันน้ำไปทางอำเภอกันตรัง แต่จะส่งผลทำให้หลายพื้นที่ที่เป็นทางผ่านน้ำได้รับผลกระทบ จึงต้องเสริมเครื่องสูบน้ำ เครื่อง

ผลักดันน้ำ เพิ่มเติม ขณะที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้องเฝ้าระวัง และเตรียมการรับมือน้ำฝนที่จะตกใหม่ ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 1 - 1.79 เมตร และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง

อย่างไรก็ตาม กรมชลประทาน ได้มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวในการสร้างสะพาน สร้างถนน ให้มีความแข็งแรง โดยร่วมทำงานกับ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท ที่มีถนนอยู่ในความรับผิดชอบ ร่วมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการกำหนดแผนแก้ปัญหาในระยะยาวร่วมกัน อย่างไรก็ตาม กรมชลประทาน จะยังคงติดตามสถานการณ์น้ำใน 3 จังหวัด อย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกัน ในวันพรุ่งนี้ (14 ม.ค.) เวลา 10.00 น. นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน จะมีการแถลงผลการลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์พื้นที่ภาคใต้ เมื่อวันที่ 11 ม.ค. ที่ผ่านมา อีกครั้ง



แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook