ดีเดย์นำระบบประเมินความเสี่ยง ปล่อยชั่วคราวจำเลย 1 ก.พ.นี้

ดีเดย์นำระบบประเมินความเสี่ยง ปล่อยชั่วคราวจำเลย 1 ก.พ.นี้

ดีเดย์นำระบบประเมินความเสี่ยง ปล่อยชั่วคราวจำเลย 1 ก.พ.นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศาลยุติธรรม ดีเดย์นำระบบประเมินความเสี่ยงในการปล่อยชั่วคราวโดยไม่ต้องใช้หลักประกันมาให้โอกาสจำเลยที่ไม่มีหลักทรัพย์ใช้นำร่อง 5 ศาล 1 กุมภาพันธ์ นี้

นายอธิคม อินทุภูติ เลขาธิการศาลยุติธรรม เป็นประธานเปิดงานสัมมนาสื่อมวลชน ที่จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมระบุว่าศาลยุติธรรมมีการพัฒนาระบบการจัดการคดีให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การพิจารณาคดีมีความรวดเร็วมากขึ้น ตั้งแต่ปี 2546 โดยพบว่าส่วนใหญ่คดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นจะแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี ส่วนคดีที่เข้าสู่ชั้นศาลอุทธรณ์จะแล้วเสร็จไม่เกิน 6 เดือน

ซึ่งในปี 2559 มีคดีเข้าสู่การพิจารณาศาลชั้นต้น 1,644,142 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 1,421,568 คดี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 98.94 และมีคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำนวน 49,882 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 43,433 คดี ในเวลาไม่เกิน 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 98.26 ส่วนศาลฎีกามีคดีเข้าสู่การพิจารณา 18,705 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 9,290 คดี คงค้าง 9,415 คดี เมื่อเปรียบเทียบคดีคงค้างเมื่อ 4 ปีก่อน จำนวน 37,958 คดี พบว่าคดีค้างลดลงมาก

นายอธิคม กล่าวว่าศาลยุติธรรมได้เพิ่มประสิทธิภาพลดความเหลื่อมล้ำในการปล่อยชั่วคราวหรือการประกันตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีในศาล ซึ่งส่วนใหญ่ศาลจะอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เช่นปี 2558 มีผู้ต้องหาหรือ จำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลชั้นต้นทั่วประเทศ 231,568 คน ศาลอนุญาต 217,214 คน ไม่อนุญาตเพียง14,354 คน คิดเป็นร้อยละ 6.20 เท่านั้น และในปี 2559 มีผู้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว 213,537 คน ศาลอนุญาต 201,149 คน ไม่อนุญาต 12,388 คน คิดเป็นร้อยละ 6.6 เท่านั้น

แต่จากสถิติผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560 พบว่าพบว่ามีผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการสอบสวนและการพิจารณาของศาลมีจำนวนถึง 59,070 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 289,675 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 20.29 ของผู้ต้องขังทั้งหมด โดยเชื่อว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องขังที่พฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรง แต่ไม่มีหลักทรัพย์วางประกันจึงทำให้ถูกขังระหว่างการพิจารณา แตกต่างจากผู้ที่มีฐานะดีมีหลักประกันมาวางต่อศาลสามารถไปใชีวิตปกติ ประกอบอาชีพได้

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวศาลยุติธรรมจึงได้นำระบบประเมินความเสี่ยงในการปล่อยชั่วคราวมาทดลองใช้ในระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย โดยมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการหลบหนีของจำเลย ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของศาลตรวจสอบข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนดแล้วประเมินออกมาเป็นตัวเลขความเสี่ยงการหลบหนีของจำเลย เพื่อให้ศาลพิจารณาก่อนสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราว และไม่ต้องใช้หลักประกัน เฉพาะคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี โดยจะเริ่มโครงการทดลองวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook