ปภ.เตือน9จังหวัดใต้รับมือฝนตกหนัก-เฝ้าระวังดินถล่ม

ปภ.เตือน9จังหวัดใต้รับมือฝนตกหนัก-เฝ้าระวังดินถล่ม

ปภ.เตือน9จังหวัดใต้รับมือฝนตกหนัก-เฝ้าระวังดินถล่ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปภ.รายงานยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ 7 จังหวัด ประสานจังหวัดเร่งฟื้นฟูพื้นที่เสียหาย พร้อมเตือน 9 จังหวัดภาคใต้รับมือฝนตกหนัก-เฝ้าระวังดินถล่ม

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ว่า ฝนที่ตกหนักตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดอุทกภัย วาตภัย น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีจังหวัดได้รับผลกระทบ 12 จังหวัด รวม 122 อำเภอ 755 ตำบล 5,812 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 549,333 ครัวเรือน 1,681,195 คน ผู้เสียชีวิต 45 ราย สถานที่ราชการเสียหาย 24 แห่ง ถนน 2,267 จุด คอสะพาน 207 แห่ง ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ ยะลา ระนอง นราธิวาส ปัตตานี และกระบี่ ยังคงมีสถานการณ์ใน 7 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง ประจวบคีรีขันธ์ ตรัง สงขลา และชุมพร รวม 37 อำเภอ 174 ตำบล 1,140 หมู่บ้าน โดยนครศรีธรรมราช มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอวด อำเภอหัวไทร อำเภอปากพนัง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอถ้ำพรรณรา และอำเภอพระพรหม รวม 72 ตำบล 629 หมู่บ้าน 84 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 145,294 ครัวเรือน 460,270 คน ผู้เสียชีวิต 11 ราย สุราษฎร์ธานี มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอพุนพิน และอำเภอพระแสง รวม 12 ตำบล 32 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,179 ครัวเรือน 7,162 คน ประชาชนอพยพ 113 ครัวเรือน 348 คน ผู้เสียชีวิต 10 ราย พัทลุง มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอ อำเภอเขาชัยสน และอำเภอบางแก้ว รวม 6 ตำบล 17 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 27,274 ครัวเรือน 64,018 คน ผู้เสียชีวิต 5 ราย ประจวบคีรีขันธ์ มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอบางสะพานน้อย รวม 23 ตำบล 240 หมู่บ้าน 2 เทศบาล 25 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 30,810 ครัวเรือน 66,486 คน ผู้เสียชีวิต 4 ราย ตรัง มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด และอำเภอวังวิเศษ รวม 16 ตำบล 41 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,182 ครัวเรือน 36,535 คน อพยพ 341 ครัวเรือน 1,166 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย สงขลา มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอควนเนียง อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ และอำเภอระโนด รวม 15 ตำบล 82 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,880 ครัวเรือน 26,715 คน อพยพ 19 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 3 ราย และชุมพร มีสถานการณ์น้ำท่วมใน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอละแม อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ อำเภอทุ่งตะโก อำเภอสวี และอำเภอเมืองชุมพร รวม 30 ตำบล 99 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,024 ครัวเรือน 1,095 คน

โดยภาพรวมสถานการณ์ในปัจจุบันระดับน้ำลดลงทุกจังหวัดแล้ว ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลังและทรัพยากรปฏิบัติการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งสาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค รวมถึงเส้นทางคมนาคมให้ใช้งานได้ตามปกติ ตลอดจนเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบภัยที่ครอบคลุมทั้งด้านการดำรงชีพ ชีวิตและทรัพย์สิน การประกอบอาชีพ และสิ่งสาธารณประโยชน์ 

อย่างไรก็ตาม จากการติดตามสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนอีกระลอกจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2560 ทำให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง ฝนตกหนักและหนักมากบางแห่งในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้ประสาน 9 จังหวัดเสี่ยงภัยและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 12 สงขลา จัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนตกหนักและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำจุดเสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป


ฝนตกที่สุราษฎร์ฯไม่กระทบลุ่มน้ำตาปีขณะ3อ.ยังท่วมขัง

นายวีระ เพ็งทอง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ขณะนี้บริเวณลุ่มน้ำตาปี ยังไม่ได้รับผลกระทบจากฝนระลอกใหม่ แม้จะเกิดฝนตกบ้างเล็กน้อย แต่ปริมาณที่ตกนั้นอยู่ในเกณฑ์น้อย เบื้องต้นหลายฝ่ายยังคงติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยหากเกิดฝนตกในระดับ 70 - 100 มิลลิเมตร ก็จะทำให้ลุ่มน้ำตาปีมีมวลน้ำสะสมเพิ่มขึ้น จนขยายระเวลาการระบายออกสู่ทะเลทันที 

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบล่าสุดพบว่าพื้นที่ 3 อำเภอ ริมแม่น้ำตาปีประกอบด้วย อ.พุนพิน, พระแสง และ เคียนซา ยังคงประสบภาวะน้ำท่วมขัง วัดระดับสูงสุดประมาณ 1 เมตร ซึ่งเมื่อประเมินข้อมูลแล้วคาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติม ภายใน 1 สัปดาห์ นับจากวันที่ 20 ม.ค. 60 สถานการณ์ในจุดดังกล่าว จะคลี่คลายจนระดับน้ำแห้งสนิท ยกเว้นกรณีบริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศแบบลุ่มต่ำจริง ๆ ก็อาจจะต้องใช้เวลามากกว่าเล็กน้อย


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook