จิตแพทย์เตือน ฟันธงข้าราชการขโมยรูปป่วย โดยไม่วินิจฉัย ผิดจรรยาบรรณ

จิตแพทย์เตือน ฟันธงข้าราชการขโมยรูปป่วย โดยไม่วินิจฉัย ผิดจรรยาบรรณ

จิตแพทย์เตือน ฟันธงข้าราชการขโมยรูปป่วย โดยไม่วินิจฉัย ผิดจรรยาบรรณ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใครมีพฤติกรรม “ขโมยของ” ส่วนใหญ่จะถูกตีตราว่าเป็นมิจฉาชีพ แต่ด้านการแพทย์ มีคำอธิบายว่าอาการเช่นนี้อาจเกิดขึ้นจากการป่วยเป็นโรคที่เรียกว่า “คลีพโทมาเนีย” หรือ “โรคมีความสุขที่ได้ขโมย” แม้จะเป็นการศึกษากันอยู่ในวงการแพทย์ แต่ก็เคยมีภาพยนตร์อย่างน้อย 2 เรื่องนี้ ที่มีตัวเอกมีพฤติกรรมชอบลักขโมย ทั้งที่ตัวเองมีกำลังซื้อของชิ้นนั้น

แผนปล้นเงินกว่า 160 ล้านเหรียญสหรัฐ จากคาสิโน 3 แห่งในลาสเวกัส เป็นฉากโดดเด่นของภาพยนตร์เรื่อง โอเชี่ยน อีเลฟเว่น คนเหนือเมฆปล้นลอกคราบเมือง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลัง แดนนี่ โอเชี่ยน พระเอกของเรื่อง หลุดพ้นโทษจากเรือนจำเพียงไม่กี่ชั่วโมง เขาก็วางแผนปล้นต่อ แต่ตั้งกฎให้ตัวเองว่า ต้องไม่ทำร้ายใคร และไม่ปล้นขโมยคนที่เดือดร้อน

ส่วนหนังเรื่อง โรบอท แอนด์ แฟรงค์ หุ่นยนต์น้อยหัวใจปาฏิหาริย์ เป็นเรื่องราวของชายชราคนหนึ่ง ชื่อ แฟรงค์ อดีตนักปล้นอัญมณี ที่บั้นปลายชีวิต เป็นโรคอัลไซเมอร์ ใช้ชีวิตโดดเดียวกับหุ่นยนต์ที่ลูกชายซื้อให้ แต่อาการหลงลืมของ แฟรงค์ ก็ไม่ทำให้ พฤติกรรมอยากขโมยของหายไป จนสร้างเรื่องวุ่นวาย แต่ท้ายที่สุด หนังเรื่องนี้ต้องการสะท้อนถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวที่จะดูแลเอาใจใส่คนในบ้านที่มีอาการป่วย

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ระบุว่า คนที่มีพฤติกรรมชอบขโมยของ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ มุ่งหวังผลประโยชน์ในทางที่ไม่ดี กับ จิตใจขาดความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ เมื่อเกิดความกดดันมาก ทำให้ต้องมีพฤติกรรมขโมยของ ทั้งที่เจ้าตัวรู้ว่ามีความผิด ทางการแพทย์เรียกว่า โรค “คลีพโทมาเนีย”

ส่วนกระแสที่ว่า ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ที่ปรากฎเป็นข่าวขโมยรูปภาพจากโรงแรมญี่ปุ่นอาจเข้าข่ายป่วยเป็นโรคนี้ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต เตือนว่า ไม่ควรวินิจฉัยโดยที่ยังไม่มีผลตรวจรองรับ

สำหรับ โรคคลีพโทมาเนีย หรือ โรคขี้ขโมยชอบหยิบฉวย จิตแพทย์บอกว่า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการกินยา หรือ ให้ผู้ป่วยเข้ามาปรึกษาจิตแพทย์ต่อเนื่อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook