เปิดระเบียบมหาดไทย การกระทำใดเข้าข่าย “เฒ่าหัวงู”

เปิดระเบียบมหาดไทย การกระทำใดเข้าข่าย “เฒ่าหัวงู”

เปิดระเบียบมหาดไทย การกระทำใดเข้าข่าย “เฒ่าหัวงู”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรณีที่กระทรวงมหาดไทยส่งหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ระบุแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในการทำงาน โดยเฉพาะกับบรรดานักศึกษาฝึกงาน และผู้ร่วมงานที่เป็นหญิง หลังพบสถิติการร้องเรียนบ่อยครั้งเนื่องจากพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศมีขอบเขตกว้างขวาง จึงมีการกำหนดขอบเขตการกระทำคร่าวๆไว้ดังนี้
1.การกระทำทางสายตา จ้องมองร่างกายที่ส่อไปในทางเพศ มองหน้าอก หรือจ้องลงไปที่คอเสื้อ จนทำให้ผู้ถูกมองรู้สึกอึดอัด อับอาย หรือไม่สบายใจ
2.การกระทำด้วยวาจา
-วิพากษ์ วิจารณ์รูปร่าง ทรวดทรง และการแต่งกาย ที่ส่อไปทางเพศ
-ชักชวนให้กระทำการใด ในที่ลับตา ซึ่งผู้ถูกกระทำไม่พึงประสงค์ หรือการพูดเรื่องตลกเกี่ยวกับเพศ
-การเกี้ยวพาราสี พูดจาแทะโลม พูดลามก โทรศัพท์ลามก เรียกผู้หญิงด้วยคำที่ส่อไปทางเพศ จับกลุ่มวิจารณ์พฤติกรรมของคนในที่ทำงาน
-สนทนาเรื่องเพศ หรือเพศสัมพันธ์ แสดงความเห็นต่อรสนิยมทางเพศ และพูดส่อไปในทางเพศ ถามประสบการณ์ ความชื่นชอบในเรื่องเพศ การแพร่ข่าวลือเกี่ยวกับชีวิตทางเพศของผู้อื่น
3.การกระทำทางกาย
-สัมผัส ลูบคลำ ถูกไถร่างกายผู้อื่นอย่างมีนัยทางเพศ การฉวยโอกาสกอด รัด จูบ หยอกล้อโดยแตะเนื้อต้องตัว ดึงตัวมานั่งตัก หรือสัมผัสร่างกายอื่นใดที่ไม่น่าพึงประสงค์
-ตามตื๊ดโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่เล่นด้วย การตั้งใจยืนใกล้ชิดเกินไป การต้อนเข้ามุม หรือขวางทางเดิน การยักคิ้วหลิ่วตา การผิวปากแบบเชิญชวน ส่งจูบ การเลียริมฝีปาก การทำท่าน้ำลายหก การแสดงพฤติกรรมที่สื่อไปในทางเพศ โดยใช้มือหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย
4.การกระทำอื่นๆ เช่น
-แสดงรูปภาพ วัตถุ ข้อความที่เกี่ยวข้องกับเพศ รวมทั้งการเปิดภาพโป๊ในที่ทำงาน และคอมพิวเตอร์ของตนเอง
-การแสดงออกที่เกี่ยวกับเพศ เช่นการโชว์ปฎิทินโป๊ วาดภาพทางเพศในที่สาธารณะ การใช้สัญลักษณ์ที่แสดงถึงอวัยวะเพศหรือการร่วมรัก การสื่อข้อความรูปภาพ สัญลักษณ์ที่แสดงถึงเพศทางอินเตอร์เน็ต เช่นเฟสบุ๊ค ไลน์เป็นต้น
5.การกระทำทางเพศที่แลกเปลี่ยนผลประโยชน์
-การให้สัญญาที่จะให้ผลประโยชน์ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ผลการเรียน ทุนการศึกษาดูงาน การเลื่อนเงินเดือนหรือตำแหน่ง หากผู้ถูกล่วงละเมิดหรือถูกคุมคามยินยอมมีเพศสัมพันธ์ หรือขอให้ทำอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับเพศ เป็นต้น
-การข่มขู่ให้เกิดผลทางลบต่อการจ้างงาน การศึกษา การข่มขู่จะทำร้าย การบังคับให้มีการสัมผัสทางเพศ หรือพยายามกระทำชำเรา

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้หากเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำ ผู้ถูกกระทำต้องแสดงออกว่าไม่พอใจทันที ส่งเสียงร้องให้ผู้อื่นช่วย บันทึกเหตุการณ์ด้วยภาพถ่ายหรือเสียง (หากทำได้) พร้อมกับแจ้งปัญหาให้บุคคลที่ไว้ใจทราบทันที เพื่อให้หน่วยงานตั้นสังกัด ดำเนินการลงโทษและช่วยเหลือตามระเบียบที่กำหนดไว้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง มหาดไทยร่อนระเบียบแก้ปัญหา “หัวงู” ในหน่วยงาน ป้องกัน นศ.ฝึกงาน-ลูกจ้างสาวตกเป็นเหยื่อ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook