พบ “เสือโคร่ง” ในป่ามรดกโลก “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่” รอบ 15 ปี

พบ “เสือโคร่ง” ในป่ามรดกโลก “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่” รอบ 15 ปี

พบ “เสือโคร่ง” ในป่ามรดกโลก “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่” รอบ 15 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชพบเสือโคร่งดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ธรรมชาติในรอบ 15 ปี บริเวณพื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
 
ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่าทีมนักวิจัย เจ้าหน้าที่ และผู้แทนจากองค์กรจากมูลนิธิฟรีแลนด์และมูลนิธิแพนธีร่า สำรวจโดยใช้กล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า พบว่าเสือโคร่ง สามารถดำรงชีวิตและขยายพันธุ์ได้ตามธรรมชาติในพื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ในรอบ 15 ปีของประเทศไทย ซึ่งเสือโคร่งอินโดจีนจัดเป็น 1 ใน 6 สายพันธุ์ย่อยของสัตว์ตระกูลเสือที่มีข้อมูลอยู่น้อย จึงได้รับความสนใจในการศึกษาและติดตามมากที่สุด

ปี 2559 ที่ผ่านมากรมอุทยานฯและองค์กรพันธมิตรได้สำรวจประชากรเสือโคร่งในพื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ด้วยการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่า 158 ตัว ในช่วงเดือนมิถุนายน 2559 – กุมภาพันธ์ 2560 สามารถบันทึกภาพเสือโคร่งได้ 18 ตัว เป็นเพศผู้ 5 ตัว เพศเมีย 7 ตัว และลูกเสือโคร่ง 6 ตัว ซึ่งบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศในพื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 

ทั้งนี้จำเป็นต้องปกปิดถิ่นที่อยู่ที่ชัดเจนของประชากรเสือโคร่งไว้เป็นความลับ เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากกลุ่มผู้ลักลอบล่าเสือโคร่ง ซึ่งจัดเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อความอยู่รอดของเหล่าประชากรเสือโคร่ง โดยปัจจุบันเสือโคร่งถูกจัดอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติทั่วโลกมีจำนวนลดลงในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันจากประมาณ 100,000 ตัว เหลืออยู่ไม่ถึง 4,000 ตัว โดยป่าที่ยังมีรายงานพบเสือโคร่งในธรรมชาติมากสุดที่กลุ่มป่าตะวันตกมากกว่า 150-200 ตัว

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ พบ “เสือโคร่ง” ในป่ามรดกโลก “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่” รอบ 15 ปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook