ไขความกระจ่าง! กฎผู้ร้ายข้ามแดนเอื้อเวลาหนีผู้ต้องหาฆ่าน้องแอ๋ม

ไขความกระจ่าง! กฎผู้ร้ายข้ามแดนเอื้อเวลาหนีผู้ต้องหาฆ่าน้องแอ๋ม

ไขความกระจ่าง! กฎผู้ร้ายข้ามแดนเอื้อเวลาหนีผู้ต้องหาฆ่าน้องแอ๋ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีคดีฆ่าหั่นศพน้องแอ๋มสาวคาราโอเกะวัย 22 ปี จนเป็นข่าวครึกโครมไปทั่วประเทศ ซึ่งคดีนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกหมายจับผู้ต้องหาถึง 4 ด้วยกันคือ นายวศิน (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 22 ปี , น.ส.จิดารัตน์ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 21 ปี , น.ส.ปรียานุช (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 24 ปี และ น.ส.กวิตา (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี รวม 4 คน ในข้อกล่าวหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และปิดบังซ่อนเร้นทำลายศพ 

และ 1 ในนั้นคือ นายวศิน อายุ 22 ปี ถูกจับกุมได้จากลาวัลเกสต์เฮ้าส์ใกล้มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว แขวงนครหลวงเวียงจันทร์ ห่างจากแนวชายแดนไทย-ลาว ประมาณ 20 กิโลเมตร หลังหนีไปกบดานที่ต่างประเทศตั้งแต่เกิดเรื่อง ทั้งนี้ยังได้ซัดทอดว่า น.ส.ปรียานุช เป็นผู้ลงมือฆ่าและทำลายศพ

poip9

ด้านผู้ต้องหาอีก 3 คน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่สามารถติดตามตัวมาลงโทษได้ แต่สืบทราบว่า 2 ใน 3 คน คือ น.ส.ปรียานุช (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 24 ปี และ น.ส.กวิตา (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี ได้หนีไปกบดานที่ประเทศเมียนมา โดยอาศัยที่ห้องพักแห่งหนึ่งที่ติดกับร้านสตาร์แทรค คาราโอเกะ ซึ่งเป็นแหล่งบันเทิงที่มีทั้งคาราโอเกะ อาบอบนวด ร้านอาหาร ฯลฯ ห่างจากชายแดนไทยแค่ 6 กิโลเมตร

ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงประสานงานกับตำรวจเมียนมาให้เข้าจับกุมแต่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเมียนมาไม่สามารถเข้าไปจับกุมผู้ต้องหาในคดีของไทยได้โดยตรง เพราะต้องประสานงานผ่านคณะกรรมการประสานงานชายแดนไทย-เมียนมา ระดับท้องถิ่นหรือทีบีซีร่วมไทย-เมียนมา เสียก่อน

จนกระทั่งหัวค่ำวันเดียวกันทางตำรวจเมืองท่าขี้เหล็กได้รับคำสั่งให้เข้าไปจับกุมตัวทั้งคู่ได้ แต่ปรากฏว่าไม่พบตัวของ น.ส.กวิตา และ น.ส.ปรียานุช แล้ว โดยทั้งคู่ได้เดินทางออกไปจากหอพักเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้าไปถึง

14r34

กลายเป็นคำถามของสังคมว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งที่รู้แหล่งกบดานของคนร้ายแล้วแต่ก็ไม่สามารถเข้าไปจับกุมได้อย่างทันท่วงที ทำให้คนร้ายเล็ดรอดหนีออกไปได้ และที่สำคัญทำไมตำรวจไทยไม่สามารถเข้าไปจับกุมได้โดยตรง..??

ซึ่งคำตอบของคำถามนี้คือกฎหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั่นเอง โดยสามารถอธิบายความหมายคร่าวๆ ได้ความว่า สาเหตุที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไทยไม่สามารถข้ามแดนเข้าไปจับผู้ร้ายอุกฉกรรจ์ที่ประเทศเมียนมาได้เนื่องจากว่าเป็นการล่วงละเมิดอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้น

และจะต้องทำการร้องขอไปยังประเทศที่ผู้กระทำความผิดนั้นไปอาศัยหรือหลบซ่อนอยู่ ให้ดำเนินการส่งตัวบุคคลดังกล่าวมาเพื่อดำเนินคดีอาญา และลงโทษตามกฎหมายของประเทศผู้เสียหาย ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญานี้เรียกว่า “การส่งผู้ร้ายข้ามแดน” นั่นเอง

1ee2

ด้านผู้ต้องหาที่สามารถร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้นั่นต้องเข้าข่ายเงื่อนไขดังต่อไปนี้

ต้องเป็นความผิดทางอาญาที่มีโทษทางตามกฎหมายให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุก หรือทำให้ปราศจากเสรีภาพเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ตามกฎหมายทั้งในประเทศผู้ร้องขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนและประเทศผู้รับคำร้องขอ และความผิดนั้นจะต้องไม่ขาดอายุความตามกฎหมายของประเทศที่ร้องขอ

ด้านความผิดที่ไม่สามารถส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนได้คือความผิดทางการเมือง หรือความผิดที่เกี่ยวกับศาสนา นั่นเอง ซึ่งประเทศเมียนมาคือ 1 ในสมาชิกที่มีมีสัญญา อนุสัญญา และสนธิสัญญาเพื่อการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทย

1uy

ทั้งนี้กระบวนการในกานยื่นเรื่องขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนนั้น เป็นหน้าที่ของตำรวจหรืออัยการ  โดยส่งหนังสือขอความร่วมมือไปยังประเทศที่ผู้ร้ายเข้าไปกบดานเพื่อให้มีการจับกุมและส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนมาดำเนินคดีในประเทศไทย

ซึ่งไม่มีระยะเวลาแน่นอนในการดำเนินการทำให้ตรงนี้เองกลายเป็นช่องโหว่ของกฎหมายที่บรรดาเหล่าคนร้ายทั้งหลายที่กระทำผิด จึงนิยมหลบหนีไปยังต่างประเทศและพยายามหนีไปประเทศที่ 3 ที่ไม่มีสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน เมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองก็เป็นการยากมากที่จะสามารถติดตามผู้ต้องหามาดำเนินคดีได้และด้วยกระบวนการที่ล่าช้าคนร้ายอาจไหวตัวทัน

ถึงแม้ว่าคนร้ายจะรู้ข้อกฎหมายดีหรือไหวตัวทันเพราะช่องโหว่ของกฎหมาย แต่คงหนีไปได้ไม่นาน เพราะไม่มีใครที่จะหลีกหนีกฎแห่งกรรมไปได้แม้แต่คนเดียว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook