มองสังคมไทย ผ่าน การออก พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว 2560

มองสังคมไทย ผ่าน การออก พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว 2560

มองสังคมไทย ผ่าน การออก พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว 2560
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นประเด็นร้อนมานานนับสัปดาห์ สำหรับ การออก พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 หรือ ที่เรียกกัน ว่า พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวปี 60 (ขณะนี้ยกฐานะเป็น พ.ร.บ. แล้ว เมื่อ สนช.ผ่านความเห็นชอบไปเมื่อ วันที่ 6 ก.ค.60 ที่ผ่านมา) ที่เป็นประเด็นร้อนขึ้นมาก็เพราะ พลันที่ออก พ.ร.ก.มา และประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 22 มิ.ย. 2560 โดยมีผลทันทีในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 23 มิ.ย. 2560 บรรดานายจ้าง ลูกจ้างต่างด้าว ต่างโกลาหล เรียกว่าวงแตก ขึ้นมาในทันใด

สาเหตุของอาการโกลาหลครั้งนี้ด้วยเนื่องจาก ความรุนแรงของโทษใน พ.ร.ก. ที่ออกมาโดยเฉพาะค่าปรับ นายจ้างที่จ้างต่างด้าวทำงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ หรือรับต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือรับต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานกับตนเข้าทำงาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000 - 800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน หรือนายจ้างให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 400,000 บาท ต่อต่างด้าว 1 คน เป็นต้น

เป็นอัตราค่าปรับที่สูงมาก จนเป็นแรงกดดันให้เกิดการเลิกจ้าง ลูกจ้างต่างด้าวจำนวนมาก ทำให้แรงงานต่างด้าวแห่กลับประเทศจนเป็นภาพข่าวอย่างที่เห็นกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และ เหตุการณ์นี้ นำไปสู่อาการช็อคของอุตสาหกรรม ธุรกิจ กิจการบางประเภท ตามมาด้วยการสร้างกระแสว่า พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าวจะนำไปสู่การขาดแคลนแรงงานอยากหนัก จะกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้ผล เสียงสะท้อนนี้ดังมาก จนผู้นำรัฐบาลต้องออกมา ใช้อำนาจพิเศษ มาตรา 44 ยกเว้นการบังคับใช้ในบางมาตราของพ.ร.ก. โดยให้เวลาในการปรับตัว เป็นระยะเวลา 180 วัน โดยจะทำให้ การบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.ก.นี้มีผลอีกครั้งประมาณเดือนมกราคม ปี 2561 เป็นต้นไป

โดยในระหว่างนี้ ได้มีการออกระเบียบเพื่อให้นายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย มาดำเนินการให้ถูกต้องตมกฎหมาย โดยมีการออกระเบียบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการออกมามีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 6 ก.ค.60 ที่ผ่านมา

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มีประเด็นที่น่าสนใจ น่าตั้งข้อสังเกตในหลายส่วน ที่สะท้อนสังคมไทยได้ไม่มากก็น้อย
ประเด็นแรก คือ สาระสำคัญ หลักการสำคัญ ของการออก พ.ร.ก.ฉบับนี้ ไม่ถูกหยิบยกออกมาขยายความให้หนักแน่นว่า ทำไม เหตุใดจึงต้อง ออก พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว 2560 ออกมา

ใช่หรือไม่ การออก พ.ร.ก. แรงงานต่างด้าว 2560 จุดมุ่งหมายหลัก คือ ต้องการ ขจัดปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาสำคัญ คือ ปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ นำไปสู่ปัญหาสังคม นำไปสู่ปัญหา ที่องค์กรระดับโลกจับตาและตั้งท่าจะบอยคอตสินค้าของประเทศไทย...?

ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย ผิดระเบียบ ตามที่มีการรายงานข่าว พบว่ามีประมาณ ถึง 3 ล้านคนในประเทศไทย ....คำถามคือ...มันเกิดขึ้นได้อย่างไร...?
ในส่วนของ นายจ้าง จ้าวของกิจการ.. เป็นไปได้หรือ ว่าจะไม่ทราบว่าการกระทำเหล่านี้ผิดกฎหมาย การว่าจ้างแรงงานผิดกฎหมาย เพราะต้องการแรงงานราคาถูกกว่าท้องตลาด ราคาถูกกว่าแรงงานถูกกฎหมายใช่หรือไม่ ?
การว่าจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย นำไปสู่การขูดรีดแรงงาน การใช้งานหนักเกินกฎหมายกำหนด หรือที่เรียกว่า แรงงานทาส ใช่หรือไม่ ..?
การว่าจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย นำไปสู่ ช่องทางให้เจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาใช้ช่องทางเพื่อเรียกผลประโยชน์ เงินทอง จากการกระทำผิด เพื่อแลกกับการดำเนินการทางกฎหมาย หรือเป็นช่องทางของการคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐใช่หรือไม่...?
ความต้องการแรงงานผิดกฎหมายราคาถูก ทำให้เกิดกระบวนการ ค้าแรงงานต่างด้าว อันเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ใช่หรือไม่..?

ปัญหาเหล่านี้ เป็นปัญหามานานนับตั้งแต่ ระบบเศรษฐกิจไทยที่มีการพัฒนาขึ้น และมีงานหนักในหลายประเภทที่คนไทยไม่ทำ จำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติ ซึ่งก็เหมือนกับประเทศอื่นๆที่เขาพัฒนาตัวเอง เหมือนกับยุคหนึ่งก่อนหน้า ที่แม้แต่คนไทยเราเองก็เป็นพวกขายแรงงานต่างแดน เช่นกัน และ เคยเป็นปัญหาการลักลอบเข้าไปขายแรงงานแบบผิดกฎหมายในประเทศอื่นเช่นกัน

เรื่องเหล่านนี้ เป็นปัญหาที่สังคมไทยต้องจัดการ ต้องแก้ไข และดำเนินการให้ตรงจุด การออก กฎหมายที่มีโทษแรง โทษหนัก เปรียบเสมือนยาแรง ก็มีความจำเป็น แต่ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ซึ่งมีหลายส่วนสะท้อนออกมาก็คือ กฎหมายแรงขึ้น โทษปรับแรงขึ้น จะต้องควบคู่ไปกับ การเปิดช่องทางในการดำเนินการที่ถูกกฎหมาย ต้อง ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ขจัดอุปสรรค ต่างๆให้หมดไป

หาก ช่องทางถูกต้อง ยังเป็นอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนวิธีการ และ ค่าใช้จ่ายที่สูงเกิน จนผู้ประกอบการไม่สามารถแบกรับได้ เขาก็ย่อมหันไปใช่ช่องทางเลี่ยงกฎหมายอีกจนได้ ซึ่งก็จะทำให้ปัญหาวนกลับไปที่เดิมไม่จบสิ้น

การแก้ไขปัญหา เหล่านี้ใช่หรือไม่ที่ต้องร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ไม่ว่าภาครัฐ และ เอกชนเจ้าของกิจการ ต้องมีความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหา การสื่อสารการนำเสนอข้อเท็จจริง การนำเสนอทางออก การสร้างความเข้าใจในปัญหา ที่ชัดเจน ต้องช่วยกันใช่หรือไม่ .. ที่ผ่านมา การนำเสนอ ที่มุ่งเน้นแต่ปรากฏการณ์บางส่วนโดยไม่ลงให้ถึงรากของปัญหา ทำให้เกิดจุดอ่อน ถูกหยิบยกประเด็นขึ้นมาโจมตี กล่าวหาการทำงานการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ สิ่งเหล่านี้สะท้อน ให้เห็นถึงสภาพของสังคมไทยที่ยังเป็น สังคมแบบตัวใครตัวมัน จ้องแต่จะเอาเปรียบ เอาแต่ได้ ... เมื่อไรภาพเหล่านี้จะหมดไปจากสังคมไทย...?

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook