ความงดงามที่ถูกซ่อน ภายใต้การวางผังพระเมรุมาศ

ความงดงามที่ถูกซ่อน ภายใต้การวางผังพระเมรุมาศ

ความงดงามที่ถูกซ่อน ภายใต้การวางผังพระเมรุมาศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดร. พรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิก สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ผู้ดูแลการวางผังพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กล่าวถึงเรื่องแนวคิดการวางผังพระเมรุมาศฯ ว่าการวางผังพระเมรุมาศฯ มีความเชื่อมโยงกับ ศาสนสถานโบราณสำคัญที่อยู่บริเวณรอบมณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยกำหนดที่ประดิษฐานของบุษบกองค์ประธาน ที่ตั้งของพระจิตตกาธาน สำหรับถวายพระเพลิง พระบรมศพฯ จากจุดตัดของเส้นทิศเหนือ – ใต้ ซึ่งลากจากยอดพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับเส้นทิศตะวันออก – ตะวันตก ที่ลากจากเขตพุทธาวาส วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร

ซึ่งหากมองพระเมรุมาศฯ จากกึ่งกลางของทางเข้าด้านทิศเหนือ (หันหน้าเข้าพระบรมราชวัง) จะสามารถมองเห็นยอดพระศรีรัตนเจดีย์ของวัดพระแก้วซ้อนอยู่ในบุษบกองค์ประธาน เป็นความงดงามทางภูมิสถาปัตย์ที่น่าประทับใจยิ่ง นับเป็นความตั้งใจของกรมศิลปากร หน่วยงานรับผิดชอบการจัดสร้างเพื่อให้พระเมรุมาศฯ มีความงดงาม ยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ภาพแสดงจุดตัดของเส้นทิศเหนือ - ใต้ ที่ลากจากยอดพระศรีรัตนเจดีย์ และเส้นทิศตะวันออก - ตก ที่ลากจากเขตพุทธาวาส วัดมหาธาตุ ซึ่งจุดตัดนี้เป็นที่ตั้งของบุษบกองค์ประธาน

ภาพแสดงจุดตัดของเส้นทิศเหนือ - ใต้ ที่ลากจากยอดพระศรีรัตนเจดีย์ และเส้นทิศตะวันออก - ตก ที่ลากจากเขตพุทธาวาส วัดมหาธาตุ ซึ่งจุดตัดนี้เป็นที่ตั้งของบุษบกองค์ประธาน

ภาพจำลอง การมองพระเมรุมาศฯ จากทางทิศเหนือ โดยหันหน้าเข้าหาพระบรมมหาราชวัง

ภาพจำลองการวางผังพระเมรุมาศ

ภาพจำลองมุมสูง: การมองพระเมรุมาศฯ จากทางเข้าทิศเหนือ โดยหันหน้าเข้าหาพระบรมมหาราชวัง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook