เบื้องหลังการแสดงชุดรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ หน้าพระเมรุมาศ

เบื้องหลังการแสดงชุดรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ หน้าพระเมรุมาศ

เบื้องหลังการแสดงชุดรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ หน้าพระเมรุมาศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมศิลปากรได้จัดการแสดงโขน หน้าพระที่นั่งทรงธรรม(หน้าพระเมรุมาศ) เนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560

โดยการแสดงชุดนี้เป็นหนึ่งในตอนสำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทศกัณฐ์ ทำสงครามแพ้พระราม พระอินทร์และเหล่าเทวดานางฟ้าจึงต่างพากันจับระบำรำฟ้อนถวายสดุดี สรรเสริญถวายพระพรชัยแก่พระรามที่มีชัยนะเหนือหมู่เหล่าปวงอสูรร้าย และนำพาความสงบสุขร่มเย็นด้วยพระมหาบารมี

เสมือนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการด้วยพระวิริยะ อุตสาหะ เพื่อขจัดความยากลำบากของประชาชนชาวไทย ให้มีความสุขสงบร่มเย็นมาอย่างยาวนาน

1fg4

ซึ่งการแสดงชุดรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณประพันธ์บทขึ้นใหม่โดยนายเกษม ทองอร่าม ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์ ในทำนองเพลงระบำอู่ทองของนายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ประดิษฐ์ท่ารำใหม่ใช้ผู้แสดง 89 คน คือ พระอินทร์และเทวดา-นางฟ้า 44 คู่

ด้านเบื้องหลังการแสดงชุดนี้ นายชวลิต สุนทรานนท์ นักวิชาการละครและดนตรีทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิชาการละครและดนตรี (โขน ละคร และดนตรี) ผู้ควบคุมการฝึกซ้อมได้เปิดเผยกับ Sanook News! ถึงที่มาของการแสดงทั้งหมดว่า

การแสดงชุดน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 เป็นการแสดงที่พระกอปอยู่ในการแสดงโขนชุดยกรบ ซึ่งจะไปแสดงหน้าพระเมรุมาศ ในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ ซึ่งการแสดงชุดนี้เป็นการแสดงที่ตามเนื้อเรื่องที่โขนแสดงแล้วก็คือว่า เมื่อพระรามกับทศกัณฑ์ทำศึกสงครามกันแล้ว พระรามเป็นฝ่ายชนะศึก

1f34

พระอินทร์และเหล่าบรรดาเทวดานางฟ้าก็ต่างกันพากันมาอำนวยอวยพรให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข เสมือนหนึ่งกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ของเรา ทรงปกครองประชาชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข โดยเฉพาะประชาชนที่พระองค์ท่านทรงให้ความห่วงใยเป็นอย่างมาก

ถึงแม้ว่าพระองค์ท่านจะทรงเหน็ดเหนื่อยแค่ไหนก็ไม่เคยย่อท้อ ทรงดูแลห่วงใยและต่อสู้เพื่อประชาชนได้อยู่ดีกินดีและมีความสุข เราจึงนำการแสดงชุดนี้มาประกอบตอนท้ายการแสดงโขนที่หน้าพระเมรุมาศ

โดยท่ารำชุดนี้เป็นท่ารำที่ศิลปินแห่งชาติ เหล่าครูบาอาจารย์นาฏศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญของกรมศิลปากร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์และวิทยาลัยนาฏศิลป์ร่วมกันคิดและประดิษฐ์ขึ้นมา ซึ่งมีแนวคิดให้สอดคล้องกับบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีไทย

ทั้งนี้ท่ารำต่างๆ เป็นพื้นฐานท่ารำที่เป็นแม่บทหรือแม่ท่าของการแสดงนาฏศิลป์ส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งก็เป็นท่ารำที่เกิดจากการตีบทหรือภาษาท่านาฏศิลป์นำมาผนวกรวมกันให้สอดคล้องกับเนื้อหาในครั้งนี้

1f3e32

ด้านการคัดเลือกผู้แสดงนั้น เรามีการคัดเลือกผู้แสดงตั้งแต่โขนหรือการแสดงต่างๆที่เป็นของราชสำนัก และส่วนหนึ่งจะคัดเลือกจากข้าราชการของกรมศิลปากร อีกส่วนหนึ่งจะเป็นครูอาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และนักเรียนนักศึกษาจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์และวิทยาลัยนาฏศิลป์

สาเหตุที่เราใช้ครูอาจารย์และนักเรียนนักศึกษาจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์และวิทยาลัยนาฏศิลป์ เนื่องจากสถาบันแห่งนี้มีการสืบทอดการเรียนการสอนทางด้านนาฏศิลป์และดนตรีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 คือสมัยกรมมหรสพก่อนเปลี่ยนมาเป็นกรมศิลปากร

ซึ่งต่อมาเราพัฒนาการศึกษาด้านนาฏศิลป์จึงจัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนะศิลป์เพื่อดูแลด้านการศึกษาโดยตรงและแยกออกจากกรมศิลปากร โดยกรมศิลปากรจะดูแลงานด้านการแสดงอย่างเดียว และนักแสดงทั้งหมดถูกคัดสรรค์มาจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์และวิทยาลัยนาฏศิลป์ทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ

อัลบั้มภาพ 46 ภาพ

อัลบั้มภาพ 46 ภาพ ของ เบื้องหลังการแสดงชุดรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ หน้าพระเมรุมาศ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook