5 พฤติกรรมทำง่ายแถมยังได้กระตุ้นต่อมความเกื้อกูล

5 พฤติกรรมทำง่ายแถมยังได้กระตุ้นต่อมความเกื้อกูล

5 พฤติกรรมทำง่ายแถมยังได้กระตุ้นต่อมความเกื้อกูล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     หลายคนชอบบ่นว่าสังคมเราทุกวันนี้อยู่ยาก เต็มไปด้วยสารพัดปัญหาน่าปวดหัว ถ้าจะให้บ่นหนึ่งวันก็คงไม่จบ เพราะแต่ละวันก็มีข่าวจากปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เราในฐานะส่วนหนึ่งของสังคม ต่อให้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาเหล่านั้นโดยตรง ก็ต้องอย่าเผลอไปสร้างปัญหา (ทั้งแบบที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว) ให้กับสังคมส่วนใหญ่เพิ่มเติมก็พอ

     Sanook! เชื่อว่าเรา ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโลก แค่ลองเปลี่ยนตัวเอง แค่นี้อะไรๆ ก็เปลี่ยนไปทางที่ดีขึ้นแล้ว และประเทศก็จะเปลี่ยนไปด้วยตัวมันเอง

1. เปลี่ยนคอขวด ให้เป็น ค. ความมีน้ำใจ
      ไม่มีใครไม่รีบ ดังนั้น ยิ่งรีบ ก็ยิ่งติด จริงๆ นะ แต่ถ้าวันหนึ่งในขณะขับรถคุณลองไม่แซงบริเวณทางคอขวดหรือลองหยุดให้ทางรถคันอื่นที่ขอเลี้ยวหรือขอแซงอย่างเต็มใจ คุณอาจจะเสียเวลารอไปแค่ไม่กี่วินาที แต่เชื่อเถอะว่าความสุขจากการได้ให้จะเกิดขึ้นในใจทันที และครั้งหน้าอาจจะเป็นคุณเองที่ได้รับสิ่งเดียวกันกลับมา


2. เปลี่ยนสิ่งที่ไม่ชอบ ด้วยการที่เราไม่ทำ
      เรื่องง่ายๆ ที่บางทีเราอาจหลงไปติหรือไปว่าคนอื่น ทั้งๆ ที่บางครั้งเราเองก็เผลอตัวทำ เช่น ในบางครั้งเรามีความรีบร้อน และก็รู้ดีว่าไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงชั่วโมงเร่งด่วนได้ คุณกำลังคิดหาวิธีแทรกคิวหรือเปล่า? จริงๆ แล้วคุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้ชั่วโมงเร่งด่วน “ดี” ขึ้นได้ ต่อคิวให้เป็นนิสัย คุณคงไม่ชอบให้ใครมาแซงคิว เพราะฉะนั้นทำให้เป็นนิสัย ไม่ว่าจะเป็นการต่อแถวซื้อของ ต่อติวขึ้นรถไฟฟ้า ขึ้นรถเมล์ ลงเรือ ฯลฯ โดยไม่ต้องสนคนที่แซงคิว (หรือถ้าสะกิดเตือนกันได้ก็ดีต่อส่วนรวม) นึกถึงว่าวันหนึ่งที่คุณรีบ เขาก็อาจจะรีบเช่นกัน เกื้อกูลกันในสังคม ไม่ทำในสิ่งที่เราไม่ชอบ ระเบียบก็จะเกิดขึ้นทันตาเห็น


3. เปลี่ยนการรับ เป็น การให้
     “การให้” ที่พูดถึง อาจจะไม่ต้องเป็นสิ่งยิ่งใหญ่เสมอไป แต่เรากำลังพูดถึงการหยิบยื่นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เรามี ให้แก่คนที่ขาดหรือคนที่ต้องการ โดยที่ตัวเองไม่เดือดร้อน บางครั้งเราอาจจะเป็นผู้รับมามากพอแล้ว ถึงเวลาที่เราต้องเป็นผู้ให้บ้าง แค่เปลี่ยนความคิดจาก “เราจะได้อะไร?” เป็น “เราให้อะไรคนอื่นได้บ้าง?” เพียงเท่านี้ ก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้แล้ว

4. เปลี่ยนเรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องส่วนรวม
     ลองเลิกคิดถึงแต่ประโยชน์ตัวเอง โดยการทำสิ่งที่ไม่ทำให้คนอื่น หรือสังคมเดือดร้อนไปด้วย ยกตัวอย่าง เช่น เราต้องการกำจัดขยะ เราอาจเลือกใช้วิธีง่ายๆ เช่น การทิ้งขยะลงในท่อน้ำ ผลที่ตามมาคือท่อตัน น้ำท่วมขัง แถมยังลำบากคนที่ต้องมาจัดการความมักง่ายของเราอีก เพียงแค่เราทิ้งขยะให้เป็นที่ และให้ถูกต้องตามประเภทของขยะนั้นก็เป็นการเกื้อกูลสังคมได้อีกแบบหนึ่ง



     ทางที่ดีทุกคนต้องไตร่ตรองและทบทวนถึงผลกระทบที่คนอื่นจะได้รับเสมอ เพียงแค่นึกถึงส่วนรวมให้มากๆ เท่านั้นเอง

5. เปลี่ยนจากความคิด เป็นลงมือทำ
     เชื่อหรือไม่ว่า “ความคิดสร้างสรรค์” สามารถขับเคลื่อนสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ จริงๆเราอาจจะมีความคิดมากมายที่ต้องการจะช่วยสังคม อย่าปล่อยให้ไอเดียที่คุณอยากทำหลุดลอยไป เพียงแค่วันนี้ “ลงมือทำ” เริ่มจากไอเดียง่ายๆ จากสิ่งที่เราทำได้ เพราะไม่แน่ว่าสิ่งที่เราคิด อาจช่วยเหลือสังคมให้ดีขึ้นได้ไม่มากก็น้อย

     เรื่องที่เราเห็นและอยากจะเล่าให้ฟัง โดยการนำความคิดมาลงมือทำให้เกิดขึ้นจริงๆ ซึ่งอย่างน้อยก็เป็นการช่วยเหลือคนในชุมชน ช่วยเปลี่ยนสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้น เป็นความคิดอันสร้างสรรค์ในการจัดการกับพื้นที่ว่างเปล่าของสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่เปิดโอกาสเกษตรกรสามารถนำข้าวสารมาจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรง โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งทางสถานีฯก็มีคนเข้ามาใช้บริการมากขึ้น ส่วนเกษตรกรก็มีพื้นที่สร้างรายได้ เรียกว่าเป็นไอเดียที่ช่วยเปลี่ยนสังคม ด้วยการเกื้อกูลกันแบบง่ายๆ สร้างพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

     นี่เป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่าง ที่เราสามารถนำมาปรับและทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากมาย ยังมีอีกหลายไอเดียที่รอให้เราลองค้นพบและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมได้ เพราะอะไรๆ ก็เปลี่ยนเป็นความเกื้อกูลได้ แค่ลงมือทำ

     สำหรับตัวเราเอง คงไม่ต้องทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้ใครจดจำ เพียงแค่ลองหยิบเอาสิ่งที่ ปตท. ต้องการจะสื่อให้เราฟังอย่าง “ความเกื้อกูล” มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เราไม่ต้องลงมือสร้างโรงเรียนเอง แค่ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสเท่าที่ช่วยได้ เราไม่ต้องออกไปแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับประเทศ แค่อย่าทำลายสิ่งแวดล้อม เราแค่มองคนรอบๆข้าง แล้วดูว่าจะเกื้อกูลคนรอบข้าง หรือสังคมของเราเองได้อย่างไรบ้าง แล้วลงมือทำก็คงพอแล้ว

     หากคุณยังนึกไม่ออกว่า “ความเกื้อกูล” เปลี่ยนแปลงสังคมได้แค่ไหน ลองเข้าไปดู อินเทอร์เน็ตฟิล์ม“ชุดเกื้อกูลของ ปตท.” ที่ได้เล่าเรื่องถึงความหมายของการเกื้อกูลกัน เช่น การแบ่งปันความรู้, การเปลี่ยนสิ่งที่คิดว่าไม่มีประโยชน์ให้มีประโยชน์, หรือการเปลี่ยนความว่างเปล่าให้เป็นการเกื้อกูลกัน ฯลฯ เผื่อคุณจะเกิดไอเดียในการหยิบยื่นความเกื้อกูลแก่ผู้คนรอบข้าง ช่วยให้สังคมน่าอยู่ขึ้นทันที โดยไม่ต้องรอ




 

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook