100 ปี ธงไตรรงค์ ประวัติศาสตร์ธงชาติไทย ความภาคภูมิใจของคนไทย

100 ปี ธงไตรรงค์ ประวัติศาสตร์ธงชาติไทย ความภาคภูมิใจของคนไทย

100 ปี ธงไตรรงค์ ประวัติศาสตร์ธงชาติไทย ความภาคภูมิใจของคนไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 28 กันยายน 60 จะเป็นวันแรกที่รัฐบาลประกาศให้เป็นวันสำคัญของประเทศไทยนั่นคือ วันพระราชทานธงชาติไทย และภายในปีเดียวกันนี้จะเป็นวันครบรอบ 100 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานธงไตรรงค์ ให้เป็นธงชาติของประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 ซึ่งวันนี้ก็ครบรอบ 100 ปีพอดีและธงชาติไทยของเราก็มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่าจะมาเป็นผืนธงไตรรงค์อย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วมากมาย

1e

ธงชาติไทยผืนแรก คือ ธงแดงเกลี้ยง

ถือกำเนิดด้วยความบังเอิญในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2223 เรือเลอโวตูร์ เรือรบของฝรั่งเศสมีนายเรือชื่อ มองซิเออร์ คอนูแอน ได้นำเรือรบลำนี้เข้ามาบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจริญพระราชไมตรี และทำการค้ากับอยุธยา

โดยมีธรรมเนียมประเพณีคือต้องชักธงประเทศบนเรือเพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่า มาถึงแล้ว เมื่อเรือฝรั่งเศสชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายสยามยิงสลุตคำนับตามธรรมเนียม ขณะเดียวกันสยามเองต้องชักธงขึ้นด้วยเพื่อตอบกลับว่า ยินดีต้อนรับ แต่ตอนนั้นทหารประจำป้อมวิไชยเยนทร์ไม่เคยพบประเพณีแบบนี้

และสยามไม่มีธงสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นธงชาติมาก่อน จึงคว้าผ้าที่วางอยู่แถวนั้น แต่ดันหยิบธงชาติฮอลันดาชักขึ้นเสาแบบส่งเดช เมื่อทหารฝรั่งเศสเห็นก็ตกใจไม่ยอมชักธงและไม่ยอมยิงสลุต จนกว่าจะเปลี่ยนธงชาติ เพราะนั่นไม่ใช่ธงประจำประเทศไทยและขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดาเป็นศัตรูกัน

ฝ่ายไทยจึงแก้ปัญหาโดยชักผ้าสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ธงชาติไทย และธงแดงจึงเป็นธงประจำชาติผืนแรกของไทยอย่างไม่เป็นทางการ

flag_of_thailand_(1782).svg

จากธงแดงล้วนสู่ ธงวงจักร และ ธงช้าง

ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปจักรสีขาวลงในธงแดง สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง" สาเหตุที่พระองค์กำหนดให้ใช้ "จักร" ลงไว้กลางธงผ้าพื้นแดง เพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างเรือของพระมหากษัตริย์ กับเรือของราษฎรสยาม ที่ใช้ธงผ้าพื้นแดงเกลี้ยงนั่นเอง

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอก 3 ช้าง เป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเข้าภายในวงจักรของเรือหลวงไว้ด้วย อันมีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก ช้างคือสัญลักษณ์แห่งแผ่นดินของกรุงรัตนโกสินทร์

900px-flag_of_thailand_(1817)

ในสมัยรัชกาลที่ 4  ประเทศไทยมีการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริว่าสยามจำเป็นต้องมีธงชาติใช้ตามธรรมเนียมของชาติตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลางหันหน้าเข้าหาเสาธงเป็นธงชาติ  โดยไม่มีวงจักรล้อมรอบตัวช้าง

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ธงที่ใช้กับเรือหลวง ถูกปรับรูปแบบอีกครั้ง จากช้างสีขาวธรรมดา ปรับให้เป็น "ช้างทรงเครื่องยืนแท่น" หันหน้าเข้าข้างเสา เนื่องจากช้างเผือกเปรียบเป็นเครื่องแทนตัวของพระมหากษัตริย์แล้ว

900px-flag_of_thailand_1855.s

ดังนั้นการปรับให้ช้างทรงเครื่องยืนแท่น จึงเพื่อความสง่างามและเหมาะสมกับชั้นของพระมหากษัตริย์ และในปีพุทธศักราช 2434 ได้มีการจัดทำพระราชบัญญัติธง ฉบับที่ 1 เป็นแบบอย่างธงสยามที่รับรองเป็นกฎหมายเล่มแรก ว่าธงชาติสยามเป็นแบบไหน โดยในพระราชบัญญัติธงฉบับที่ 1 ข้อที่ 13 ได้ระบุไว้ว่า

“ข้อ 13 ธงชาติสยาม เป็นรูปช้างเผือกเปล่าพื้นแดง ใช้ในเรือกำปั่นและเรือทั้งหลายของพ่อค้าเรือกำปั่นแลเรือต่างๆ ของไปรเวตทั่วไปในชาวสยาม ประกาศมาแต่พระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท ลงวันที่ 25 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 110”

flag_of_thailand_(1916).svg

ธงแดงขาว 5 ริ้ว ถือกำเนิดขึ้นที่จังหวัดอุทัยธานี

เมื่อ พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองอุทัยธานี ซึ่งขณะนั้นประสบเหตุอุทกภัย เมื่อขบวนเสด็จได้เดินผ่านบ้านหลังหนึ่งก็มีอาการสะดุดพระเนตร พระองค์ได้ทอดพระเนตรขึ้นไปเห็นธงช้างติดอยู่ในลักษณะช้างนอนหงายเอาเท้าชี้ฟ้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ไม่เป็นมงคล

พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า ธงชาติต้องมีรูปแบบที่สมมาตรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก และธงช้างผลิตจากหลายประเทศรูปร่างของช้างที่ปรากฏจึงไม่น่าดู จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปแบบธงชาติอีกครั้ง

โดยเปลี่ยนเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปแบบสมมาตรไม่ว่าจะติดด้านไหนก็ไม่มีลักษณะกลับหัว โดยมีแถบยาวสีแดง 3 แถบ สลับกับแถบสีขาว 2 แถบ เรียกธงนี้ว่า ธงแดงขาว 5 ริ้ว โดยสีแดงมาจากสีเดิมของธง ส่วนสีขาวมาจากช้างเผือกนั่นเอง

900px-flag_of_thailand.svg

ถือกำเนิดธงไตรรงค์

เมื่อปี พ.ศ. 2460 รัชกาลที่ 6 ทรงอ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ ฉบับภาษาอังกฤษ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2460 มีผู้เขียนเรื่องธงใช้นามปากกาว่า "อะแควเรียส" มีสาระว่า "ธงห้าริ้วสวยงามดี แต่หากจะให้ดีน่าจะมีสีน้ำเงินใส่เข้าไปด้วย เพราะสีน้ำเงิน เป็นสีแสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในนานาประเทศ"  

พระองค์จึงทรงให้เปลี่ยนแถบสีแดงที่ตรงกลางธงเป็น สีน้ำเงินขาบ หรือสีน้ำเงินเข้มเจือม่วง อีกทั้งการที่พระองค์ได้เลือกสีนี้เพราะสีขาบเป็นสีประจำพระองค์ที่โปรดมาก เนื่องจากเป็นสีประจำวันพระราชสมภพคือวันเสาร์ตามคติโหราศาสตร์ไทย

และอีกประการหนึ่ง สีน้ำเงินยังแสดงถึงชัยชนะและความเป็นหนึ่งเดียวของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เช่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งใช้สีแดง ขาว น้ำเงินเป็นสีในธงชาติเป็นส่วนใหญ่ด้วย

พระองค์ทรงพระราชทานชื่อเรียกใหม่ว่า "ธงไตรรงค์" พร้อมความหมาย สีแดงหมายถึงเลือดอันยอมพลีเพื่อธำรงรักษาชาติและศาสนา สีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ และ สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งศาสนา

ความภาคภูมิใจครั้งแรกของธงชาติไทยคือธงไตรรงค์ของสยามก็ได้เดินผ่านประตูชัยที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พร้อมกับคณะทหารอาสา ในการเฉลิมฉลองชัยชนะของฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2462 ซึ่งนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชนะสงครามร่วมกับชาติมหาอำนาจในยุโรปแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ชาติมหาอำนาจในยุโรปให้การยอมรับสยามในเวทีโลก

 

 

อัลบั้มภาพ 12 ภาพ

อัลบั้มภาพ 12 ภาพ ของ 100 ปี ธงไตรรงค์ ประวัติศาสตร์ธงชาติไทย ความภาคภูมิใจของคนไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook