TMC เร่งพัฒนานักซอฟต์แวร์ไทย ตั้งเป้า 3 ปี สร้างมูลค่าส่งออกเพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท

TMC เร่งพัฒนานักซอฟต์แวร์ไทย ตั้งเป้า 3 ปี สร้างมูลค่าส่งออกเพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี เร่งพัฒนานักซอฟต์แวร์ไทย แก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากร และการผลิตซอฟต์แวร์ที่ไม่เป็นระบบ พร้อมตั้งเป้าภายใน 3 ปี สร้างมูลค่าการส่งออกเพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทยถือเป็นอุตสาหกรรมหลักที่สร้างมูลค่าให้ประเทศมากถึงปีละ 60,000 ล้านบาท ขณะที่การส่งออกได้เพียง 4,000 ล้านบาทต่อปี เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากร และการผลิตซอฟต์แวร์ที่ไม่เป็นระบบ ดังนั้น TMC ได้ทุ่มงบประมาณ 8 ล้านบาทดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยาพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยสู่มาตรฐานสากล (Personal Software Process Intiative Program) โดยจะเปิดอบรมนักซอฟต์แวร์ไทยจำนวน 100 คน ให้มีความรู้การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ได้มาตรฐานสากล อย่าง CMMI (Capability Maturity Model Integration) จากมหาวิทยาลัยซอฟต์แวร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งที่ผ่านมาไทยมีบริษัทซอฟต์แวร์ผ่านการประเมินจาก CMMI 27 บริษัทจาก 1,200 บริษัท ซึ่งถือเป็นประเทศที่ 2 รองจากมาเลเซียที่ได้รับรองมาตรฐาน ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะบ่มเพาะจิตสำนึกให้บุคลากรพัฒนาคุณภาพการทำงานอย่างมีระบบ และสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับบริษัทซอฟต์แวร์ไทย โดยภายใน 3 ปี จะสร้างมูลค่าการส่งออกเพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเข้าอบรมโครงการเสริมสร้างศักยภาพนักพัฒนาอฟต์แวร์ไทยสู่มาตรฐานสากล ต้องมีประสบการณ์พัฒนาซอฟแวร์มากกว่า 2 ปี สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างน้อย 1 ภาษา โดยต้องสมัครในนามของบริษัทประกอบธุรกิจรับพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมทั้ง ต้องได้รับประกาศนียบัตรของหลักสูตร PSP Fundamental และ PSP Advance โดยจะเปิดรับสมัครนักซอฟต์แวร์เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 8 พฤษภาคม 2552 หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย โทร. 0-2583-9992 ต่อ 1485
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook