ประกบคู่ศึกอภิปรายซักฟอก เฉลิม VS อภิสิทธิ์

ประกบคู่ศึกอภิปรายซักฟอก เฉลิม VS อภิสิทธิ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ประกบคู่ศึกอภิปรายซักฟอก เฉลิม VS อภิสิทธิ์

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำการอภิปราย กล่าวเปิดอภิปรายญัตติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรวม 5 คน เป็นคนแรกเมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 19 มีนาคม ว่า ได้รับความไว้วางใจจากพรรคมาทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้นำฝ่ายค้านชั่วคราว และเป็นผู้เซ็นชื่อคนแรกในญัตติ การอภิปรายครั้งนี้มีเอกสารหลักฐานมากมาย ที่ต้องแสดงจึงจะพยายามละเว้นไม่พูดถึงบุคคลภายนอกถ้าไม่จำเป็น

ในอดีตพรรคประชาธิปัตย์ เคยกล่าวหาเรื่องประวัติส่วนตัวนายบรรหาร ศิลปอาชา ตอนเป็นนายกฯ และดคียักยอกบีบีซีนายสุชาติ ตันเจริญ นายเนวิน ชิดชอบ ฉะนั้นเรื่องนี้ไม่เก่า เพราะตรวจสอบถ้าผิดถึงขั้นยุบพรรค และจะทำให้ไม่มีพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา

นายกฯ มีพฤติกรรมส่อว่าจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มีปัญหามาตรฐานทางจริยธรรมและคุณธรรมต่ำ บกพร่องร้ายแรงหากจะให้บริหารราชการแผ่นดินต่อไป จะก่อความเสียหายให้ประเทศ การเข้าสู่ตำแหน่งยังมิได้เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย มีการแต่งตั้งบุคคลไร้วุฒิภาวะ สังคมไม่ยอมรับเข้าดำรงตำแหน่ง นอกจากนี้ มีพฤติกรรมจงใจฝ่าฝืนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ปกปิด ซ่อนเร้นไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมืองจากบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งไม่จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกกต.ให้เป็นไปตามที่กำหนดและรับรองงบดุล งบการเงินของพรรคอันเป็นเท็จ ยื่นต่อกกต. เป็นพฤติการณ์ฉ้อราษฎร์ บังหลวง

กรณีนายอภิสิทธิ์ พบการกระทำความผิด 2 ครั้ง ร้ายแรงต่อประชาธิปไตย กรณีแรก นายอภิสิทธิ์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ปกปิด ซ่อนเร้นไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมืองจากบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในการรายงานงบดุลต่อกกต.เมื่อ 31 มีนาคม 48 ตอนนั้น นายอภิสิทธิ์ เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคซึ่งก็เป็นผู้เซ็นรับรอง มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เป็นเหรัญญิกพรรค พบว่า มีการแจ้งงบดุลเป็นเท็จ ผิดอาญามาตรา 137 และผิดตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 51 แจ้งบัญชีไม่ตรงยอดบริจาค มีบทลงโทษ จำคุก 3 ปี ปรับ 3 เท่า ของทรัพย์สินที่รับบริจาคมา หรือทั้งจำทั้งปรับ เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งกำหนด 5 ปี

เรื่องนี้พบว่า ในพรรคประชาธิปัตย์มีขบวนการเอาเงินจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คือทีพีไอ มายังบริษัทที่ทำโฆษณาสิ่งพิมพ์ คือ เมซไซอะ โดยมีการจ่ายเช็ค 27 ฉบับ เข้าธนาคาร 75 ครั้ง ใช้เวลาทั้งหมด 84 วัน มีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค เป็นคนกำกับดูแลอยู่เบื้องหลัง โดยให้นายธงชัย คลศรีชัย ซึ่งเป็นน้องชาย (แม่ของนายธงชัย เป็นน้องสาวพ่อของนายประดิษฐ์) กำกับการแสดงดูแล ทั้งนี้ นายธงชัย เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ คนที่เกี่ยวข้องด้วยอีกคือ นายประจวบ สังขาว เจ้าของบริษัทเมซไซอะ ทำธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์ มีความพิเศษคือ ไม่ทำบริษัทใหญ่โต ไม่มีโรงพิมพ์ ไม่มีโรงงาน ไม่มีบริษัทในเครือ มีนายประจวบ น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร นายไทกร พลสุวรรณ เป็นหุ้น ทุนจดทะเบียนบริษัท 1 ล้านบาท เมื่อปี 43 มีพนักงาน 4 คน เจ้าของอีก 1 ตั้งอยู่ที่ บ้านเลข ที่ 108 / 12 ลำลูกกา ปทุมธานี และบ้านหลังนี้ก็เช่า แต่รับงานโฆษณางบเกือบ 300 ล้าน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และเดิมบริษัทนี้ตั้งเมื่อปี 39 รับทำสติ๊กเกอร์หาเสียงให้ส.ส.ภาคใสต้ของพรรคจนได้รับความไว้วางใจอนุญาติให้มาเปิดสำนักงานสาขาที่ชั้นล่างของพรรค

สำหรับขั้นตอนมีอยู่ว่า มีเงินจากทีพีไอมาเข้าบริษัทนี้ ทั้งนี้เงินจากทีพีไอของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นเงิน ของประชาชนที่เล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จากนั้นก็ยักย้ายถ่ายเทผ่านน้องชายของนายประดิษฐ์ โดยมีการเอาไปเข้าคน 4 กลุ่ม กลุ่มแรกคือบริษัทเมซไซอะ กลุ่มสอง กลุ่มนายประดิษฐ์ กลุ่มสามคือ นายนิพนธ์ บุญญามณี กลุ่ม 4 นายประพร เอกอุรุ เพื่อเอาไปใช้ในการเลือกตั้งของพรรค กุมภาพันธ์ 2548 ถ้าเป็นศัพท์กฎหมายาอาญา หากมีการรับเงินที่ฉกชิงมา ถือว่า รับของโจร

ส่วนรายละเอียดการยักย้ายถ่ายเท เริ่มหลังจากศาลตัดสินทีพีไอล้มละลาย นายประชัย เลี่ยวไพรรัตน์ กรรมการคนหนึ่งต้องการซื้อกิจการคืน จึงต้องหาที่พึ่งจึงต้องพึ่งฝ่ายการเมืองเพื่อรักษาทรัพย์สิน ราวกลางปี 47 นายประจวบ ได้พบกับนายนิพนธ์ ที่โรงแรมเพรสซิเด้นท์ และนายประดิษฐ์ และมีการแนะนำนายประชัย ให้รู้จักนายประจวบ

จากนั้นไม่นาน นายประจวบ ก็รู้จักกับนายธงชัย หรือ ทีซี ต่อมา นายธงชัย แจ้งให้นายประจวบ ทราบว่า จะมีงานโฆษณาจากทีพีไอให้ทำ หลังจากนั้นก็มีการทำสัญญาระหว่าง ทีพีไอกับเมซไซอะ 8 โครงการ 248.9 ล้านบาท จากนั้น 36 ล้าน จากทีพีไอก็เข้าไปที่เมซไซอะ เป็นก้อนแรก

ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญคือการทำสัญญาของทีพีไอ ต้องมีกรรมการ 2 คน เซ็นทำสัญญาและต้องมีตราบริษัท แต่ทีเกิดขึ้นคือมีเพียงนายประชัย เซ็น และไม่มีตราบริษัท และการจ้างทำโฆษณางบสูงขนาดนี้ ทำไมทำกับบริษัทเล็กขนาดนี้ และจากการตรวจสอบการเงินของทีพีไอ ที่ยื่นตลาดหลักทรัพย์ปี 47 -49 ไม่มีการแจ้งค่าใช้จ่ายตรงนี้แก้ผู้ถือหุ้นและตลาดหลักทรัพย์ ภายหลังทำสัญญา ทีพีไอจ่ายค่าจ้าง เมซไซอะ 27 ครั้ง มีหลักฐานเป็นเช็คธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮแบงค์กิ้งคอร์เปอเรชั่นจำกัด 15 ฉบับ ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยสี่แยกถนนจันทร์ 1 ฉบับ รวม 261.436 ล้านบาท และเข้าบัญชี เมซไซอะ ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต

ส่วนการเบิกเงินออกจากบัญชี มีการทยอยเบิก เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบทางธุรกรรมทางการเงิน จากธนาคารแห่งประเทศไทย และป.ป.ง. แล้วนำเงินสดไปมอบให้นายทีซี ในห้องทำงานที่พรรคประชาธิปัตย์ แบ่ง เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก นายประจวบ และญาติพี่น้อง ที่ทยอยเบิกครั้งละไม่เกิน 2 ล้าน บาท เพื่อไปมอบให้นายธงชัย ที่พรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายประจวบ 19 ครั้ง รวม 28.790 ล้านบาท นายสวัสดิ์ สังขาว บิดานายประจวบ 6 ครั้ง รวม 12.609 ล้านบาท นายดิเรก ประสงค์ น้องเมียนายประจวบ 2 ครั้ง รวม 3 ล้านกว่าบาท นายปัญญา ประสงค์ พีเมียนายประจวบ 6 ครั้ง รวม 12.805 ล้านบาท น.ส.จันทร์จิรา ศรีหบุตร เมียนายปัญญา 4 ครั้ง รวม 8.1 ล้านบาท นายธิติมา พูลเพิ่ม 2 ครั้ง 7.3 แสน บาท นายณัฐพล จิรวิสุทธิกุล คนสนิท นายประจวบ 6 ครั้ง รวม 10.8 ล้านบาท เป็นต้น

กลุ่มสอง กลุ่มญาติพี่น้องของนายประดิษฐ์ โดยนอกจากจะรับเงินจากเมซไซอะ ผ่านทางนายธงชัย แล้ว ยังมีการรับเงินผ่านบัญชีธนาคารของน้องสาวนายประดิษฐ์ และคนสนิทของนายธงชัย อาทิ นางศิริลักษ์ ไม้ไทย น้องสาวนายประดิษฐ์ ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนวิทยุ 4 ฉบับ รวม 13.728 ล้านบาท กลุ่มสาม กลุ่มผู้ใกล้ชิดนายนิพนธ์ เช่น รับผ่าน นายนูญ สายอ๋อง เพื่อนนักเรียนรุ่นเดียวกับนายนิพนธ์ และเป็นกรรมการบริษัทสยามอินเตอร์เนชั่นแนลฟู้ด ที่ภรรยานายนิพนธ์เป็นกรรมการ 2 ครั้ง 3.6 ล้าน บาท และนางมาลี ปัญญรักษ์ น้องสาวนายนิพนธ์ 10 ล้านบาท กลุ่มสี่ กลุ่มใกล้ชิดนายประพรมี 9 คนมีทั้งน้องสาวและญาติพี่น้องนายประพร รวม 43.409 ล้านบาท

สรุปแล้วคนทั้งสี่กลุ่ม รับเงินจากเมซไซอะ ตั้งแต่ 11 พฤศจิกายน 47 ถึง 4 กุมภาพันธ์ 48 ก่อนวันเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์48 รวม 202,002,870 บาท และบุคคลเหล่านี้ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่อกรมสรรพากรและเมซไซอะ ยังนำใบกำกับภาษีปลอม โดยอ้างว่า ซื้อสินค้าจากบริษัทที่ถูกแบล็คลิสต์จากกรมสรรพากรรวม 3 บริษัท ช่วง ธันวาคม 47-มกราคม 48 เป็นเงิน 170 ล้านบาท มาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษี แต่ถูกกรมสรรพากรจับได้ แสดงว่า หากเมซไวอะ ซื้อสินค้าเพื่อทำโฆษณาจริง ต้องมีใบกำกับภาษีที่ถูกต้อง แต่เมซไซอะใช้ใบกำกับภาษีปลอม ย่อมแสดงว่า ไม่มีการโฆษณาจริง สัญญาจ้าง 8 โครงการมูลค่า 248.9 ล้านบาทจึงเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางเพื่อนำเงินออกจาทีพีไอเพื่อช่วยการเงินพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากนี้ บางสลิปเบิกจ่ายเงิน ยังปรากฏหมายเลขแฟกซ์ ของพรรคประชาธิปัตย์ คือเบอร์ 02 270 2521 ด้วย

สำหรับกรณีที่สอง คือกรณี เงินสนับสนุนจากกกต. จำนวน 29 ล้านบาท ของพรรคประชาธิปัตย์ แบ่งเป็น การจัดแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ (Bill Bord) จำนวน 10 ล้านบาท และการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ (Future Bord) จำนวน 19 ล้านบาท นั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้วิธีเดิมกับที่ทำกับทีพีไอ โดยบุคคลเดิม คือนายธงชัย ที่เป็นลูกพี่ลูกน้อง (ลูกน้องสาวคนละพ่อ) กับนายประดิษฐ์ ได้เรียกนายประจวบไปพบและมอบงานโฆษณาทั้งสองรายการนี้ให้บริษัทเมซไซอะ โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้ออกเช็คธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยกระทรวงการคลัง เลขที่ 2899102 จำนวน 23,314,200 บาท เมื่อวันที่ 10 มกราคม 48 ให้กับบริษัทนี้ จากนั้นนายประจวบได้นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต และวันที่ 11 มกราคม ได้กระจายเงินไปยังบัญชีของบุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับกรณีที่ทำกับบริษัททีพีไอ โดยจ่ายเป็นเช็คทั้งหมด 11 ฉบับ รวมเป็นเงิน 18,803,700 บาท โดยมีบิล 3 ใบ แต่ไม่มีการว่าจ้างใดๆทั้งนั้น สำหรับบริษัทเล็กๆจดทะเบียน 1 ล้าน และพรรคไม่ได้ทำสัญญาจ้างทำให้ถูกต้อง

สำหรับกลุ่มญาติพี่น้องของนายประดิษฐ์ได้รับเช็คซึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากกกต. โดยผ่านการไซฟ่อนเงินจากบริษัทเมซไซอะ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 48 มียอดตรงกันทั้ง 5 ฉบับๆ ละ 1.9 ล้านบาท ทั้งโอนเข้าบัญชีนายโชคชัย ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาซอยจุฬารัตน์ , นางสาวสิรินารถ นารถเสวี คนสนิทของนายธงชัย กรรมการบริษัทอุสาโท ซึ่งเป็นบริษัที่นายโชคชัยร่วมกับนายธงชัยตั้งกันขึ้นมา เพื่อประกอบธุรกิจโรงแรม และร้านอาหาร ที่อำเภอลันตา จ.กระบี่ นางสาวเบญจวรรณ สุนทรอมรรัตน์ คนสนิทนายธงชัย และเป็นกรรมการบริษัทอุสาโท ,และนางสาววิรัลพัชร ชีวะวรนันท์ คนสนิทนายธงชัย

ทั้งหมดเป็นการแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงการทำสัญญานิติกรรมอำพรางระหว่างบริษัททีพีไอ กับบริษัทเมซไซอะ โดยใช้เงินอุดหนุนจากกกต. รวมทั้งวิธีการเบิกเงินและถอนเงิน และนำเข้าบัญชีของญาติพี่น้องคนสนิทของนักการเมือง ซึ่งจะวนเวียนกันอยู่อย่างนี้ โดยมีนายประจวบเป็นนอมินีหรือตัวช่วยในการฟอกเงินให้กับผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพฤติกรรมของนายประจวบแสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคลที่พรรคประชาธิปัตย์มอบหมายให้ทำหน้าที่ หากบริษัทเมซไซอะจ่ายเงินให้กับกลุ่มของนายประจวบ กลุ่มญาติพี่น้องของนาปยระดิษฐ์ กลุ่มคนใกล้ชิดนายนิพนธ์ บุญญามณี และกลุ่มนายประพรจริง บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากรที่ต้องออกใบเสร็จรับเงินเป็นค่าซื้อสินค้าและใบกำกับภาษี และต้องยื่นแบบแสดงรายการการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อกรมสรรพากรด้วย

จากนั้นบริษัทเมซไซอะจะนำใบเสร็จรับเงิน ใบซื้อสินค้า และใบกำกับภาษีของผู้รับเงินนั้นไปหักเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องชำระต่อกรมสรรพากรต่อไป ซึ่งกรมสรรพากรสามารถตรวจสอบที่มาของเงินที่ได้รับดังกล่าวจากบริษัทเมซไซอะไดเ แต่เมื่อไม่ได้มีอาชีพธุรกิจโฆษณา ทั้ง 4 กลุ่มจึงไม่สามารถออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีได้ ทำให้ต้องหาใบเสร็จรับเงินเท็จหรือใบกำกับภาษีปลอมกับนิติบุคคล 3 แห่งที่ถูกแบล็คลิสต์จากกรมสรรพากร วันนี้ บริษัทเมซไซอะ ล้มละลาย เป็นหนี้สรรพากร 14 ล้าน เพราะเอาใบกำกับภาษีปลอมไปแสดง ความอุบาทว์ของคนบางคนในพรรคที่มีส่วนร่วม เอาเงินกกต.มาไซฟ่อนหรือมาฟอกที่บริษัทเมซไซอะ อย่างนี้เรียกทุจรืตเงินภาษีประชาชน เพราะเอาไปแบ่งในพรรค

เมื่อพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ทำให้นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ลาออกจากหัวหน้าพรรค โดยนายอภิสิทธิ์ได้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคแทน ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนายอภิสิทธิ์รู้เรื่องการรับเงินทั้งเงินบริจาคของบริษัททีพีไอ และเงินอุดหนุนจากกกต. มีหลักฐานยืนยัน และมีคนเห็นตอนที่นายประจวบนำเงินไปให้นายธงชัยในห้องทำงาน บางครั้งเห็นนายอภิสิทธิ์และผู้บริหารพรรคนั่งอยู่ในห้องนั้นด้วย และที่มาเกี่ยวข้องกับนายอภิสิทธิ์โดยตรงเพราะในเดือนมีนาคม 2548 และ 2549 เพราะนายอภิสิทธิ์มีหน้าที่ต้องเซ็นรับรองความถูกต้องของงบดุล งบการเงิน งบรายรับ และรายจ่าย แจ้งต่อกกต.ในฐานะหัวหน้าพรรค

ขอสรุปว่า นายกฯ ผิด 3 ประเด็นคือ ไม่แจ้งรายรับ ปกปิด และยังชี้แจงงบดุลเท็จ มีบุคคลร่วมกันกระทำความผิดทำร้ายประชาธิปไตย ทรราชย์ เอาเงินทีพีไอมาใช้ เอาเงินจากกต. ทำลายระบบคุณธรรมจริยธรรม มีความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ 2535 ขอเรียกร้องให้ผู้มีหน้าที่ในตลาดหลักทรัพย์ ใครถือหุ้นทีพีไอ ร้องทุกข์ดำเนินคดีกับบุคลกลุ่มดังกล่าว

ขอให้ไปบอกประชัย ถ้าแน่จริง นายประชัย บอกว่า เงินทั้งหมดบริจาคให้พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เข้าคุกแน่ ส่วนนายประจวบ ขอให้ยืนยันเหมือนที่ไปบอกตำรวจจนเรื่องไปที่ดีเอสไอ พรรคประชาธิปัตย์เตรียมปลดป้ายได้ และขอบอกนายกฯว่า เย็นนี้ให้ปลดนายกอร์ปศักดิ์ ก่อน ฐานไม่ละเอียด ให้เจ้านายเซ็นรับรองงบดุล นี่คือข้อเท็จจริงที่คนโง่อย่างตนไปหามา คนที่สื่อทั้งประเทศบอกว่า บ้าหรือเปล่าจะเป็นนายกฯ และขอความเป็นธรรมให้พรรคเพื่อไทย ส่วนตนไม่มีบุญวาสนาก็ไม่เป็นไร

ไม่เคยคิดว่า นายอภิสิทธิ์ จะกล้าตั้งรัฐบาลแบบนี้ เรื่องเล็กๆ อย่างหนีทหาร ตนไม่ขอพูด แต่ติดใจว่า ทำไมได้รับพระราชทานยศนายทหารชั้นสัญญบัตรแล้วไม่ใช้ยศนำหน้า ซึ่งสำหรับการตั้งรัฐมนตรี ตั้งนายกษิต เป็นรมว.ต่างประเทศ ทั้งที่มีข้อหาอยู่ที่สภอ.ราชาเทวะ ตนเคยถามกระทู้นายกฯ แต่นายกฯก็ตอบกลับมาว่า นายกษิต ผิดอะไรถึงตั้งไม่ได้ เรื่องนี้ถ้าไม่ผิด ตำรวจ อัยการก็สั่งไม่ฟ้อง แต่อย่ามาเก็บเรื่องไว้ เพราะไม่สง่างาม แต่นายกษิต ตนจะไม่อิภปราย เพราะไม่อยากคุยกับผู้ต้องหา

ส่วนนายกรณ์ ตนขอท้าว่า ให้ปฏิรูปภาษีมรดก ภาษีทีดิน ส่วนภาษีชา กาแฟ เอาไว้ทีหลัง ถ้าจะทำก็ขึ้นภาษีเหล้า กระทิงแดง นายกฯบอกว่า ไม่ต่างประเทศได้ผลสำเร็จกลับมาคือ กู้เงิน แบบนี้ตนก็เป็นนายกฯได้ ถ้าให้นายกฯ กับรมว.คลังอยู่ต่อ บ้านเมืองคงจบ ส่วนนายชวรัตน์ ที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ให้ใส่ชื่อเพื่อภอิปรายไม่ไว้วางใจด้วย ขอยืนยันว่าตนไม่เคยรับคำสั่ง และเป็นคนเสนอไม่ให้อภิปรายนายชวรัตน์ และนายบุญจง แต่ก็มีพรรคพวกติดใจ ก็ให้อภิปรายไป เพราะนายชวรัตน์ ก็เป็นพ่อค้า มาทำตัวเป็นพระยา

ส่วนนายบุญจง ก็วางตัวไม่เหมาะสม บ่ายสองนี้ ขอให้ทุกคนตัดสินได้เลย ถ้าข้อมูลห่วย ตนจะลาออก แต่ถ้าดี สื่อก็ไม่ต้องชม เพียงแต่ด่าพวกตนให้น้อยหน่อย ยกความดีให้พรรค และเลือกตั้งครั้งหน้าขอให้ประชาชนเลือกพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง ทั้งนี้สิ่งที่อภิปรายมาทั้งหมด จึงไม่สามารถไว้วางใจให้นายกฯบริหารต่อไปได้

**************************************************

อ้างเล่นการเมืองจึงไม่อยากใช้ยศทหารให้เสื่อมเสีย

เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลุกขึ้นกล่าวชี้แจงหลังจากที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย (พท.) กรณีถูกอภิปรายเหตุไม่ใช้ยศร้อยตรีแม้จะใช้ได้รับพระราชทานยศแล้ว ว่า แม้ผู้อภิปรายคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่คิดว่าเป็นอะไรที่สะกิดใจ ข้องใจ ซึ่งจุดนี้ทำให้ตนเสียหาย โดยเฉพาะการกล่าวหาว่าพาดพิงสถาบัน ทั้งนี้ เมื่อปี 2517 เมื่อสมัยที่ พล.อ. ครวญ สุทธานินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น มีการระบุว่าหากการใช้ยศทหาร โดยที่ไม่ได้ทำหน้าที่ทหาร แล้วไปกระทำความเสื่อมเสีย จะทำให้สถาบันวงการทหารเสื่อมเสียได้

จึงคิดว่าเมื่อตัดสินใจมาเล่นการเมืองแล้ว ตรงจุดนี้ย่อมมีความขัดแย้ง และมีการโจมตีกล่าวหากันมากมาย ดังนั้น หากจะใช้ยศทหารในการทำหน้าที่ตรงนี้ก็จะทำให้ทหารเสื่อมเสียได้ เช่นเดียวกับคนที่ใช้ยศตำรวจ ถ้าไปทำความชั่วก็จะทำให้วงการตำรวจเสื่อมเสียเช่นกัน ดังนั้น ผมจึงมีเจตนาที่ไม่ใช่ยศทหาร

ส่วนประเด็นเรื่องของเศรษฐกิจนั้น ยืนยันว่าหลังจากเดินทางไปญี่ปุ่นกลับมา ไม่เคยแสดงความดีใจว่าได้กู้เงินมาได้ แต่การที่กู้เงินจากเจบิคมาได้นั้น เห็นว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง รัฐบาลสามารถไปหาแหล่งเงินทุนมาสร้างได้ ซึ่งตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาจัดสรรงบฯ ขาดดุลต่อเนื่อง กู้เงินต่างประเทศเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ เป็นนโยบายต่อเนื่องของรัฐบาลเก่า ความรู้สึกของตนไม่มีความดีใจ แต่จำเป็นต้องทำเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น ช่วยคนตกงาน ระหว่างการกู้เงิน หรือขายทรัพย์สินชาติ คิดว่าการเลือกแนวทางกู้เงินเป็นทางออกที่ดีกว่า และตนยังมอบนโยบายในเรื่องภาษีอากรว่า ถ้าหากจำเป็นจะต้องจัดเก็บภาษีเพิ่ม ตัวแรกที่จะพิจารณาคือเบียร์ และสุรา

ผมเองเคยนั่งอยู่ข้างล่างจำได้ว่า เคยฟังท่านรัฐมนตรีทนง พิทยะ (รมว.คลัง) ชี้แจงว่าสามารถให้ญี่ปุ่นเอาเงินไปสมทบให้ไอเอ็มเอฟมาให้เรากู้เงินได้ แล้วท่านรองนายกฯ ทักษิณ (ชินวัตร) ก็นั่งอยู่ตรงนี้ นั่นแหละครับ เป็นครั้งเดียวที่สภาเคยได้รับแจ้งว่ารัฐบาลมีความดีใจที่กู้เงินได้

ประเด็นเรื่องแต่งตั้งนายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เหตุการณ์ยึดสนามบินเริ่มมีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม 2552 แต่มีการแจ้งความร้องทุกข์ 2-3 คดี แต่ไม่มีคดีใดทีเกี่ยวข้องกับนายกษิต กระทั่งมีการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี จึงมีการแจ้งความเอาผิด ดังนั้นจึงชัดเจนว่ามีเจตนาในทางการเมือง

ส่วนเรื่องการมาเป็นรัฐบาลตามระบบหรือไม่นั้น ขอเรียนว่าระบบที่ว่าก็คือรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าพูดถึงคะแนนเสียงในการรับเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ก็น้อยกว่าพลังประชาชนแค่แสนคะแนน ส่วนพรรคอื่นที่มาร่วมด้วยก็ทำให้คะแนนเสียงมากกว่าอยู่แล้ว และเมื่อมีการชี้ว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมามีการทุจริตเกิดขึ้น ก็ต้องมีการลงโทษนำไปสู่การยุบพรรคตามกฎหมาย จึงทำให้ส.ส.มีอิสระในการเลือกสังกัดได้ จากนั้นสมาชิกเสียงส่วนใหญ่เองก็สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ และตนได้เป็นนายกฯ เนื่องจากต้องการความเปลี่ยนแปลงจากสภาพบ้านเมืองที่เกิดขึ้น ส่วนเรื่องการยอมรับของประชาชนนั้น เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลได้รับการยอมรับจากการเลือกตั้งซ่อมครั้งที่ผ่านมา

ผมจึงขอเรียนว่าการเข้าสู่ตำแหน่งครั้งนี้เป็นไปตามระบบของรัฐธรรมนูญ ดีที่สุดคือการทำตามระบบรัฐสภา

ขณะที่เรื่องของเงินสนับสนุนพรรคการเมืองที่ถูกอภิปรายนั้น ขอเรียนว่าเหตุเกิดเมื่อปลายปี 2547 ต่อเนื่องมาถึงการเลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ตนรับผิดชอบในฐานะรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยมีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรคฯ มีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรคฯ ซึ่งทั้งสองคนก็พร้อมที่จะชี้แจง

ส่วนที่สมาชิกอภิปรายว่า 1.ผมสมรู้ร่วมคิดพูดชักเข้าชักออกว่าไปพบคนนั้นคนนี้ อย่างทีพีไอ ยืนยันว่าไม่เคยเกี่ยวข้องเลย แต่หากท่านยังยืนยันว่าเป็นเช่นนั้นก็ขอให้แสดงหลักฐานมา 2.เมื่อมาเป็นนายกฯแล้ว กรณีนี้เข้าเป็นคดีพิเศษแล้วผมก็ไม่เคยไปแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบ ที่ผ่านมาก็นอนหลับสบายดี

เหตุการณ์ช่วงที่ตนเป็นหัวหน้าพรรคเกิดขึ้นหลังจากที่นายบัญญัติได้ลาออกเพื่อเปิดทางให้มีการเลือกหัวหน้าคนใหม่ ซึ่งตนเข้ามาราวเดือนมีนาคม 2548 หลังกกต.ได้รับรองแล้ว สิ่งที่ตนมีส่วนเกี่ยวข้องนั้นมี 2 ส่วน คือ 1.เงินบริจาคจะต้องมีการแจ้งกกต. แต่ไม่ได้แจ้งเป็นรายปี แต่เมื่อเข้ามาก็แจ้งไปยังกกต. ซึ่งตนก็ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ 2.เป็นช่วงรับรองงบฯ ดุล ประจำปี 2547 ซึ่งจะต้องเสนอต่อที่ประชุมใหญ่พรรค ซึ่งกระบวนการแล้วจะมีเจ้าหน้าที่พรรคจะรวบรวมเอกสารการเงินของพรรคให้เจ้าหน้าที่บัญชีตรวจสอบ ว่างบฯดุลที่ส่งไปนั้นตรงกับที่แจ้งไว้หรือไม่ จากนั้นก็เสนอไปยังนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เหรัญญิกในสมัยนั้นก็ตรวจสอบ จึงมาถึงตน ซึ่งตนก็เห็นว่าได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบมาแล้ว จึงได้เซ็นให้ผ่าน

ส่วนการใช้จ่ายในช่วงต้นปี ในช่วงที่มีการเลือกตั้งนั้น พรรคก็ได้แสดงต่อกกต.ไแล้ว ซึ่งก็ได้รับการตรวจสอบ และซักถามใน 2-3 ประเด็นในปลายปี 2548 แต่ไม่มีประเด็นใดที่ตรงกับที่ผู้อภิปรายพูด ยืนยันว่าผมได้ทำหน้าที่อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์แล้ว

-------------------------------------------------

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

รองนายกรัฐมนตรี

ในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นเหรัญญิกพรรคประชาธิปัตย์ ช่วงปี 2549 ขอยืนยันว่าการยื่นบัญชีทรัพย์สินพรรค ต่อ กกต. เป็นไปอย่างโปร่งใส และในช่วงที่กกต. ทำหนังสือมาขอให้พรรคชี้แจงรายละเอียดบางส่วนในการจัดทำงบดุล อาทิ การจัดทำบัญชีแสดงรายรับจากเงินสดเงินฝาก ที่มีเงินสำรอง 5.3 แสนบาท เกินกว่าข้อกำหนด และการจ่ายเงินบางส่วนที่ไม่ได้มีการแสดงรายการ อาทิ ค่าจ้างนักศึกษาฝึกงาน แต่ไม่มีการระบุเรื่องเงินบริจาค ตามที่นายเฉลิมระบุแต่อย่างใด และเมื่อพรรคได้ทำเรื่องชี้แจงไป กกต.ได้ยุติเรื่องในเวลาต่อมา ส่วนการจัดทำงบดุลที่เกิดขึ้นช่วงปี 2548 ตนไม่ทำหน้าที่เหรัญญิก จึงไม่สามารถดูรายละเอียดได้

---------------------------------------------

นายประพร เอกอุรุ

ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์

การที่นายเฉลิมกล่าวพาดพิงถึงน้องสาว ซึ่งไม่ได้เป็น สส. ไม่มีสิทธิชี้แจงในสภาฯ ถือเป็นเรื่องไม่ยุติธรรม และที่ผ่านมาน้องสาวตนได้ให้ปากคำต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มาแล้วสองครั้ง ในฐานะพยาน ไม่ใช่จำเลยแต่อย่างใด ส่วนการทำธุรกิจของน้องสาวนั้น ไม่จำเป็นต้องมาปรึกษาตนเพราะบรรลุนิติบุคคลแล้ว เรื่องนี้จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับพรรค และไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผนดินของนายกฯ แต่อย่างใด

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำการอภิปราย กล่าวเปิดอภิปรายญัตติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรวม 5 คน เป็นคนแรกเมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 19 มีนาคม ว่า ได้รับความไว้วางใจจากพรรคมาทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้นำฝ่ายค้านชั่วคราว และเป็นผู้เซ็นชื่อคนแรกในญัตติ การอภิปรายครั้งนี้มีเอกสารหลักฐานมากมาย ที่ต้องแสดงจึงจะพยายามละเว้นไม่พูดถึงบุคคลภายนอกถ้าไม่จำเป็น

ในอดีตพรรคประชาธิปัตย์ เคยกล่าวหาเรื่องประวัติส่วนตัวนายบรรหาร ศิลปอาชา ตอนเป็นนายกฯ และดคียักยอกบีบีซีนายสุชาติ ตันเจริญ นายเนวิน ชิดชอบ ฉะนั้นเรื่องนี้ไม่เก่า เพราะตรวจสอบถ้าผิดถึงขั้นยุบพรรค และจะทำให้ไม่มีพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา

นายกฯ มีพฤติกรรมส่อว่าจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มีปัญหามาตรฐานทางจริยธรรมและคุณธรรมต่ำ บกพร่องร้ายแรงหากจะให้บริหารราชการแผ่นดินต่อไป จะก่อความเสียหายให้ประเทศ การเข้าสู่ตำแหน่งยังมิได้เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย มีการแต่งตั้งบุคคลไร้วุฒิภาวะ สังคมไม่ยอมรับเข้าดำรงตำแหน่ง นอกจากนี้ มีพฤติกรรมจงใจฝ่าฝืนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ปกปิด ซ่อนเร้นไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมืองจากบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งไม่จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกกต.ให้เป็นไปตามที่กำหนดและรับรองงบดุล งบการเงินของพรรคอันเป็นเท็จ ยื่นต่อกกต. เป็นพฤติการณ์ฉ้อราษฎร์ บังหลว ง

กรณีนายอภิสิทธิ์ พบการกระทำความผิด 2 ครั้ง ร้ายแรงต่อประชาธิปไตย กรณีแรก นายอภิสิทธิ์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ปกปิด ซ่อนเร้นไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมืองจากบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในการรายงานงบดุลต่อกกต.เมื่อ 31 มีนาคม 48 ตอนนั้น นายอภิสิทธิ์ เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคซึ่งก็เป็นผู้เซ็นรับรอง มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เป็นเหรัญญิกพรรค พบว่า มีการแจ้งงบดุลเป็นเท็จ ผิดอาญามาตรา 137 และผิดตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 51 แจ้งบัญชีไม่ตรงยอดบริจาค มีบทลงโทษ จำคุก 3 ปี ปรับ 3 เท่า ของทรัพย์สินที่รับบริจาคมา หรือทั้งจำทั้งปรับ เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งกำหนด 5 ปี

เรื่องนี้พบว่า ในพรรคประชาธิปัตย์มีขบวนการเอาเงินจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คือทีพีไอ มายังบริษัทที่ทำโฆษณาสิ่งพิมพ์ คือ เมซไซอะ โดยมีการจ่ายเช็ค 27 ฉบับ เข้าธนาคาร 75 ครั้ง ใช้เวลาทั้งหมด 84 วัน มีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรค เป็นคนกำกับดูแลอยู่เบื้องหลัง โดยให้นายธงชัย คลศรีชัย ซึ่งเป็นน้องชาย (แม่ของนายธงชัย เป็นน้องสาวพ่อของนายประดิษฐ์) กำกับการแสดงดูแล ทั้งนี้ นายธงชัย เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ คนที่เกี่ยวข้องด้วยอีกคือ นายประจวบ สังขาว เจ้าของบริษัทเมซไซอะ ทำธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์ มีความพิเศษคือ ไม่ทำบริษัทใหญ่โต ไม่มีโรงพิมพ์ ไม่มีโรงงาน ไม่มีบริษัทในเครือ มีนายประจวบ น.ส.สุพัชรี ธรรมเพชร นายไทกร พลสุวรรณ เป็นหุ้น ทุนจดทะเบียนบริษัท 1 ล้านบาท เมื่อปี 43 มีพนักงาน 4 คน เจ้าของอีก 1 ตั้งอยู่ที่ บ้านเลข ที่ 108 / 12 ลำลูกกา ปทุมธานี และบ้านหลังนี้ก็เช่า แต่รับงานโฆษณางบเกือบ 300 ล้าน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และเดิมบริษัทนี้ตั้งเมื่อปี 39 รับทำสติ๊กเกอร์หาเสียงให้ส.ส.ภาคใสต้ของพรรคจนได้รับความไว้วางใจอนุญาติให้มาเปิดสำนักงานสาขาที่ชั้นล่างของพรรค

สำหรับขั้นตอนมีอยู่ว่า มีเงินจากทีพีไอมาเข้าบริษัทนี้ ทั้งนี้เงินจากทีพีไอของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นเงิน ของประชาชนที่เล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จากนั้นก็ยักย้ายถ่ายเทผ่านน้องชายของนายประดิษฐ์ โดยมีการเอาไปเข้าคน 4 กลุ่ม กลุ่มแรกคือบริษัทเมซไซอะ กลุ่มสอง กลุ่มนายประดิษฐ์ กลุ่มสามคือ นายนิพนธ์ บุญญามณี กลุ่ม 4 นายประพร เอกอุรุ เพื่อเอาไปใช้ในการเลือกตั้งของพรรค กุมภาพันธ์ 2548 ถ้าเป็นศัพท์กฎหมายาอาญา หากมีการรับเงินที่ฉกชิงมา ถือว่า รับของโจร

ส่วนรายละเอียดการยักย้ายถ่ายเท เริ่มหลังจากศาลตัดสินทีพีไอล้มละลาย นายประชัย เลี่ยวไพรรัตน์ กรรมการคนหนึ่งต้องการซื้อกิจการคืน จึงต้องหาที่พึ่งจึงต้องพึ่งฝ่ายการเมืองเพื่อรักษาทรัพย์สิน ราวกลางปี 47 นายประจวบ ได้พบกับนายนิพนธ์ ที่โรงแรมเพรสซิเด้นท์ และนายประดิษฐ์ และมีการแนะนำนายประชัย ให้รู้จักนายประจวบ

จากนั้นไม่นาน นายประจวบ ก็รู้จักกับนายธงชัย หรือ ทีซี ต่อมา นายธงชัย แจ้งให้นายประจวบ ทราบว่า จะมีงานโฆษณาจากทีพีไอให้ทำ หลังจากนั้นก็มีการทำสัญญาระหว่าง ทีพีไอกับเมซไซอะ 8 โครงการ 248.9 ล้านบาท จากนั้น 36 ล้าน จากทีพีไอก็เข้าไปที่เมซไซอะ เป็นก้อนแรก

ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญคือการทำสัญญาของทีพีไอ ต้องมีกรรมการ 2 คน เซ็นทำสัญญาและต้องมีตราบริษัท แต่ทีเกิดขึ้นคือมีเพียงนายประชัย เซ็น และไม่มีตราบริษัท และการจ้างทำโฆษณางบสูงขนาดนี้ ทำไมทำกับบริษัทเล็กขนาดนี้ และจากการตรวจสอบการเงินของทีพีไอ ที่ยื่นตลาดหลักทรัพย์ปี 47 -49 ไม่มีการแจ้งค่าใช้จ่ายตรงนี้แก้ผู้ถือหุ้นและตลาดหลักทรัพย์ ภายหลังทำสัญญา ทีพีไอจ่ายค่าจ้าง เมซไซอะ 27 ครั้ง มีหลักฐานเป็นเช็คธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮแบงค์กิ้งคอร์เปอเรชั่นจำกัด 15 ฉบับ ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยสี่แยกถนนจันทร์ 1 ฉบับ รวม 261.436 ล้านบาท และเข้าบัญชี เมซไซอะ ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขารังสิต

ส่วนการเบิกเงินออกจากบัญชี มีการทยอยเบิก เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบทางธุรกรรมทางการเงิน จากธนาคารแห่งประเทศไทย และป.ป.ง. แล้วนำเงินสดไปมอบให้นายทีซี ในห้องทำงานที่พรรคประชาธิปัตย์ แบ่ง เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก นายประจวบ และญาติพี่น้อง ที่ทยอยเบิกครั้งละไม่เกิน 2 ล้าน บาท เพื่อไปมอบให้นายธงชัย ที่พรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายประจวบ 19 ครั้ง รวม 28.790 ล้านบาท นายสวัสดิ์ สังขาว บิดานายประจวบ 6 ครั้ง รวม 12.609 ล้านบาท นายดิเรก ประสงค์ น้องเมียนายประจวบ 2 ครั้ง รวม 3 ล้านกว่าบาท นายปัญญา ประสงค์ พีเมียนายประจวบ 6 ครั้ง รวม 12.805 ล้านบาท น.ส.จันทร์จิรา ศรีหบุตร เมียนายปัญญา 4 ครั้ง รวม 8.1 ล้านบาท นายธิติมา พูลเพิ่ม 2 ครั้ง 7.3 แสน บาท นายณัฐพล จิรวิสุทธิกุล คนสนิท นายประจวบ 6 ครั้ง รวม 10.8 ล้านบาท เป็นต้น

กลุ่มสอง กลุ่มญาติพี่น้องของนายประดิษฐ์ โดยนอกจากจะรับเงินจากเมซไซอะ ผ่านทางนายธงชัย แล้ว ยังมีการรับเงินผ่านบัญชีธนาคารของน้องสาวนายประดิษฐ์ และคนสนิทของนายธงชัย อาทิ นางศิริลักษ์ ไม้ไทย น้องสาวนายประดิษฐ์ ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนวิทยุ 4

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook