ก้าวคนละก้าว สะท้อนปัญหาโรงพยาบาลรัฐ เสียงที่ไม่มีใครได้ยิน

ก้าวคนละก้าว สะท้อนปัญหาโรงพยาบาลรัฐ เสียงที่ไม่มีใครได้ยิน

ก้าวคนละก้าว  สะท้อนปัญหาโรงพยาบาลรัฐ เสียงที่ไม่มีใครได้ยิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลับมาอีกครั้งกับโครงการ "ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ" นำโดย ตูน บอดี้สแลม ซึ่งจะออกวิ่งอีกครั้งเพื่อรับบริจาคเงินซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับ 11 โรงพยาบาลศูนย์จำนวน 11 แห่งทั่วประเทศที่ยังขาดแคลน

โดยจะออกวิ่งจากใต้สุดที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา สู่เหนือสุดที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย รวมระยะทางกว่า 2,191 กิโลเมตร ใช้เวลาวิ่งเกือบ 2 เดือน และตั้งเป้าไว้ว่าจะได้เงินบริจาคไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท

นับว่าเป็นเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยที่ประชาชนคนไทยมีจิตใจเมตตาร่วมกันบริจาคเพื่อต่อชีวิตให้กับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากโรงพยาลที่มีเครื่องมือที่ทันสมัย

1ed3

แต่หลังความดีย่อมมีความแตกต่าง เมื่อโครงการก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ กลายเป็นประเด็นสะท้อนปัญหาด้านสาธารณสุขไทยและโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ ด้วยคำถามคำโตว่าการจัดสรรงบประมาณ และการบริหารจัดการงบสาธารณสุขมีปัญหาหรือไม่...?

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรงพยาบาลศูนย์คืออะไร สำหรับโรงพยาบาลในประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข สามารถแบ่งได้ดังนี้

โรงพยาบาลปฐมภูมิ หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ. สต.) สามารถรองรับคนไข้เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ได้ รักษาโรคพื้นฐานที่ไม่ร้ายแรง หรือแม้แต่ทำคลอดแบบง่ายๆ ได้

โรงพยาบาลประจำอำเภอ และโรงพยาบาลประจำจังหวัด รองรับคนไข้ได้มากกว่าด้วยจำนวนเตียงที่มากกว่า มีเครื่องมือทันสมัย แต่ไม่ซับซ้อน เช่น เครื่องเอ็กซ์เรย์ มีจำนวนแพทย์มากกว่า รพ. สต.

โรงพยาบาลศูนย์ เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่แบ่งตามเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข 13 เขต ในหนึ่งแห่งสามารถรองรับผู้ป่วยจากจังหวัดต่างๆ ได้ประมาณ 4-6 จังหวัด ตามจำนวนประชากรในพื้นที่นั้นๆ มีแพทย์เฉพาะทาง อุปกรณ์ทางการแพทย์ทันสมัย สามารถรักษาโรคที่มีความซับซ้อนหรือเรื้อรัง เช่น มะเร็ง หรือโรคที่ต้องผ่าตัด

1qe3

แล้วรายได้หลักของแต่ละโรงพยาบาลรัฐมาจากไหน อะไรคือปัญหาสำคัญทำให้ขาดทุน..?

ซึ่งทาง Sanook News! ได้รับการเปิดเผยข้อมูลจากทางเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขท่านหนึ่งได้อธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างน่าสนใจ

สำหรับโรงพยาบาลในประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุขจะมีรายได้ส่วนใหญ่ที่มาจากงบประมาณ ดังนี้

1.ค่าใช้จ่ายรายหัวประชากรในเขตอำเภอของตัวเอง

2.ค่าผู้ป่วยใน ค่ายา ค่าผ่าตัดที่เบิกจาก สปสช. ตามจำนวนผู้ป่วยจริงและตามอาการที่รักษาไปจริง

3.สวัสดิการข้าราชการ ,ประกันสังคม ,ผู้ป่วยจ่ายค่ารักษาเอง,ค่าห้องพิเศษ

4.รายได้อื่นๆ จากเงินอุดหนุน เช่น การบริจาค ,เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนเป็นต้น

14916257891491625831l

อธิบายง่ายๆ คือ งบประมาณที่ได้รับของแต่ละโรงพยาบาลของรัฐจะได้รับไม่เท่ากันขึ้นอยู่ประชากรที่อยู่เขตในชุมชนนั้น โดยผู้ป่วยนอกจะเหมาจ่ายเป็นรายหัวและส่งมาให้โรงพยาบาลเป็นผู้บริหารเอง ซึ่งเงินก้อนนี้จะเอาไว้ใช้จ่ายหลักๆคือ เงินเดือนของหมอ พยาบาล ค่าลูกจ้าง ค่าขึ้นเวร ค่ายาและเวชภัณฑ์

รวมถึงค่าน้ำค่าไฟและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลทั้งหมด เพราะฉะนั้นแล้วปัจจัยที่เป็นตัวแปรที่ทำให้โรงพยาบาลขาดทุน คือ จำนวนของผู้ป่วยที่มาใช้บริการนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น หากมีผู้ป่วยมารับการรักษาเกินกว่ารายได้ค่าหัวที่โรงพยาบาลได้รับค่าใช้จ่ายตรงนี้ทางโรงพยาบาลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด

ส่วนโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และโครงการบัตรทองนั้น ผู้มีสิทธิ์มารักษาจะไม่ได้เสียค่าบริการเลยเพราะถูกเหมาเป็นรายหัวแล้ว

dqd

ด้าน ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยใน ค่ายา ค่าผ่าตัดที่เบิกจาก สปสช. นั้นเวลาเบิกคืนเงินก็จะไม่ได้ตามที่ค่าใช้จ่ายจริงเพราะต้องถัวเฉลี่ยให้กับโรงพยาบาลอื่นๆ ที่อยู่ในจังหวัดนั้นๆ ด้วย

รวมทั้งแรงงานต่างด้าวที่เข้ามารับบริการและแอดมิดเป็นผู้ป่วยในส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยมีเงินจ่ายเนื่องจากว่ามีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก แต่ทางโรงพยาบาลก็จำเป็นต้องรักษาและดูแลกันต่อไป ซึ่งปัญหาตรงนี้ถือว่าเกิดขึ้นมานานแล้วที่โรงพยาบาลรัฐต้องแบกรับภาระการขาดุล

แม้แต่หมอและพยาบาลที่ขึ้นเวรบางครั้งไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงก็มี แต่ทุกคนก็ทำด้วยใจ นั่นคืออีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้โรงพยาบาลรัฐขาดแคลนพยาบาลมากขึ้นเพราะส่วนใหญ่หนีไปทำงานที่โรงพยาบาลเอกชนกันหมด

ส่วนเรื่องการขอซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์นั้นก็ต้องทำเรื่องเสนอมายังจังหวัดและส่งต่อไปยังเขตเพื่อให้พิจารณาเนื่องจากว่างบมีจำกัดจึงต้องคัดเลือกเพื่อเรียงลำดับความสำคัญของแต่ล่ะโรงพยาบาลเป็นอันดับ 1,2,3, ซึ่งก็แน่นอนว่าไม่ได้ครบทุกโรงพยาบาลที่เสนอมา

ffw

ทั้งนี้หากมองภาพรวมต้องบอกได้เลยว่างบประมาณที่จัดสรรลงมาให้กับโรงพยาบาลนั้นไม่สอดคล้องกับรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง จึงทำให้โรงพยาบาลนั้นขาดดุลเรื่อยมา ซึ่งสังเกตได้ไม่ยากหากโรงพยาบาลไหนมีเตียงผู้ป่วยไม่พอ มีการวางเตียงที่ชิดกันเกินไป

สันนิฐานได้เลยว่าโรงพยาบาลนั้นกำลังขาดดุลอยู่ แต่ถึงแม้ว่างบประมาณที่จัดสรรมาให้จะได้น้อย แต่ก็มีบางโรงพยาบาลที่ไม่ขาดดุลก็มี ซึ่งโรงพยาบาลเหล่านี้ส่วนใหญ่จะได้เงินอุดหนุนมาจากภาคเอกชน หรือ การบริจาคในเขตชุมชนนั้นๆ

แต่ก็มีส่วนน้อยที่จะทำได้ในลักษณะเช่นนี้เพราะต้องเข้าใจว่าปัญหาหลักของโรงพยาบาลในปัจจุบันคือเรื่องงบประมาณไม่พอจ่ายจริงๆ

หากต้องการจะแก้ปัญหาตรงนี้ขอเสนอว่ารัฐควรจ่ายงบประมาณมาให้พอดีและสมดุล นอกจากนี้งบประมาณที่ได้มาควรตัดเรื่องเงินเดือนออกไปก่อนโดยแยกส่วนจากเงินอุดหนุนเหมารวมรายหัวของประชากรเพราะในแต่ล่ะปีเงินเดือนจะเพิ่มขึ้นตามอัตราประเมินผลงาน แต่เงินเหมาจ่ายรายหัวยังเท่าเดิม จึงอยากให้แยกจากกันเพื่อที่จะทำให้บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น

dqw

และในอนาคตผู้ป่วยอาจจะต้องร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล โดยอาจจะแบ่งตามสัดส่วนของผู้มีรายได้น้อยด้วย และไม่ใช่ว่าจะต้องจ่ายทั้งหมดเพียงแค่ร่วมจ่ายเพียงเล็กน้อยตามความเหมาะสม โดยเฉพาะโรคที่มีสาเหตุอันเกิดมาจากการไม่ได้ดูแลสุขภาพตัวเอง เช่น ทำฟันถอนฟันอุดฟัน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการรักษาและดูแลสุขภาพตัวเองด้วย

ถ้าหากประชาชนช่วยกันดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีไม่เจ็บไข้ได้ป่วยนอกจากจะเป็นผลดีต่อตัวเองแล้วรัฐก็จะประหยัดงบประมาณในด้านการรักษาลงไปมากเลยทีเดียว

สำหรับคุณตูน บอดี้แสลมที่จัดโครงการก้าวคนละก้าว วิ่งเพื่อหาเงินบริจาคให้กับ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างมากเป็นจิตกุศล และการบริจาคก็เป็นการเติมเงินเข้ามาในระบบซึ่งจะสามารถช่วยเหลือโรงพยาบาลได้อีกหลายแห่งอีกด้วย

สุดท้ายนี้อยากให้ประชาชนทุกคนช่วยกันทำบุญกับโรงพยาบาลให้มากขึ้นเพื่อสุดท้ายแล้วสิ่งที่ทำทั้งหมดก็จะกลับสู่พี่น้องประชาชนทุกคน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook