โนสนโนแคร์ "ประชาธิปัตย์" พร้อมเลือกตั้ง "เพื่อไทย" ลั่นชนะแน่

โนสนโนแคร์ "ประชาธิปัตย์" พร้อมเลือกตั้ง "เพื่อไทย" ลั่นชนะแน่

โนสนโนแคร์ "ประชาธิปัตย์" พร้อมเลือกตั้ง "เพื่อไทย" ลั่นชนะแน่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถ้าไม่พูดถึงเรื่องจะได้เลือกตั้งชาตินี้ หรือชาติหน้า อุ้ยไม่ใช่ ปีนี้ หรือ ปีหน้าไป อยากให้ลองทำความเข้าใจเรื่อง Primary Vote (ไพรมารีโหวต) หรือ การเลือกตั้งขั้นต้น กันดูบ้าง

ต้นแบบระบบ ไพรมารีโหวต คือประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นำมาใช้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี

พรรคใหญ่อย่างเดโมแครต และรีพับลิกัน ต่างก็มีระบบการเลือกว่าที่ผู้สมัครประธานาธิบดีที่แตกต่างกันเล็กน้อย

แต่หลักการที่มาของผู้สมัครนั้น จากที่ Sanook! News สอบถามจากอดีตนักการเมือง และมือกฎหมาย ยังมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกัน

ท่านหนึ่งกล่าวว่า สมาชิกพรรคเท่านั้นที่มีโอกาสเลือกผู้สมัครที่ตนเองชอบ เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกับพรรคตรงข้ามในสนามเลือกตั้ง

ขณะที่ีอีกท่านกล่าวว่า แต่ละรัฐจะออกกฎของตัวเอง บางรัฐประชาชนไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกพรรค ก็สามารถไปเลือกตัวแทนเขต ของพรรคใดก็ได้

แต่บางรัฐถ้าจำนวนสมาชิกพรรคมีอัตราส่วนที่เหมาะสมกับจำนวนประชากรในรัฐ ก็จะให้เฉพาะคนที่เป็นสมาชิกพรรค มีสิทธิโหวตตัวแทนเขตของพรรคนั้นๆ

gettyimages-524430330gettyimagesบรรยากาศ Primary Elections ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 59 (ภาพบรรยากาศ Primary Elections ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 59)

ซึ่งที่ผ่านมาก่อนที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะได้มาเป็นประธานาธิบดี เขาไปสมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในนามพรรครีพับลิกัน ท่ามกลางการถูกปฏิเสธอย่างหนักจากกรรมการบริหารพรรค

แต่เขาได้รับการเลือกจากสมาชิกพรรค โดยระบบไพรมารีโหวต ทำให้ได้เป็นผู้สมัครอย่างเป็นทางการของพรรค และพลิกชนะนางฮิลลารี่ คลินตัน จากเดโมแครต เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 ในปัจจุบันนั่นเอง

ขณะที่ประเทศไทย พรรคจะส่ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต และ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ หรือ ปาร์ตีลิสต์   ด้วยการดำเนินการในลักษณะ ไพรมารีโหวต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.ป.พรรคการเมือง  หมวด 3 เรื่องการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง มาตรา 49, 50 และ 51

โดยไพรมารีโหวต หรือการเลือกตั้งขั้นต้นแบบประเทศไทย = คนที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด สามารถไปลงคะแนนเลือกตัวแทนเขต (ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน) ของพรรคการเมืองนั้น เพื่อให้ผู้ที่ได้รับเลือกไปลงชิงชัยกับตัวแทนเขตของพรรคอื่น ในการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต และปาร์ตี้ลิสต์

ดังนั้นถ้าใครไม่เป็นสมาชิกพรรค ก็จะได้เลือกตั้งครั้งเดียว ไม่มีส่วนร่วมกับการเลือกตั้งขั้นต้น

อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งแบบไพรมารีโหวต จะยังไม่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งแรกที่จะมีในเร็วๆ นี้

เพราะบทเฉพาะกาลของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง มาตรา 145 ระบุการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก หลังประกาศใช้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส.  

ไม่จำเป็นต้องทำทุกเขต แต่ต้องทำทุกจังหวัด อย่างไรก็ตามจะมีพรรคใดทำทุกเขตก็ได้

722084senateพรป.ประกอบรัฐธรรมนูญ

352869senate

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย 2 พรรคขาใหญ่ของประเทศจะว่าอย่างไร Sanook! News ได้สอบถามนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกฯ ด้านกฎหมาย สมัยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนักการเมืองรุ่นใหม่ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ 

เริ่มที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เขาตอบคำถามเรื่องความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งว่า “ขอพูดอย่างนี้นะครับ ที่ผ่านมาเราไม่เคยเป็นคนร่างกติกา เราต่อสู้ตามกติกาที่คนอื่นเขียนมาโดยตลอด แต่เราก็ชนะมาได้ทุกครั้ง”

977278sanookป.ป.ช. เปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐบาล (ภาพนายพงศ์เทพ จากกรณี ป.ป.ช. เปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์"  กรณีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 56)

ขณะที่เรื่องไพรมารีโหวตตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองปี 2560 นั้น

นายพงศ์เทพกล่าวว่า ที่กำลังจะเกิดในประเทศไทยไม่ใช่ไพรมารีโหวตแบบสหรัฐอเมริกาแน่นอน และไม่ใช่แบบที่พรรคเพื่อไทยเคยเสนอ เขาเห็นว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาตรงที่ เงื่อนไขการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ซับซ้อน และสมาชิกพรรคการเมืองมีจำนวนน้อย ประชาชนส่วนมากยังไม่เป็นสมาชิกพรรค ดังนั้นการทำไพรมารีโหวตแบบไทย ก็จะใช้คนแค่ไม่กี่คนเลือกผู้แทนเขตของพรรคอยู่ดี

ส่วนเรื่องที่เป็นประเด็นในขณะนี้ อย่างเรื่องที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.  ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ... หรือ ร่าง พ.ร.ป. เลือกตั้ง ส.ส.  วาระที่ 2-3 ในวันนี้ (25 ม.ค. 61) เพื่อหารือเรื่องระยะเวลาในการบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. ว่าจะเลื่อนออกไปหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษากี่วันนั้น นายพงศ์เทพ อธิบายเรื่องนี้ด้วยการเล่าว่า

“หากคุณถูกขังอยู่ในบ้านไม่ให้ออกไปไหน แล้วคนที่สั่งขังคุณมาหักขาคุณ แล้วเมื่อใกล้ถึงวันที่ต้องปล่อยคุณออกจากบ้าน เขามาบอกว่า ขาคุณยังรักษาไม่หาย ยังเดินไม่ได้ ต้องรักษาต่อ ก็เลยสั่งขังคุณต่อ” เรื่องนี้นายพงศ์เทพได้ทิ้งไว้ เพื่อให้ลองคิดกันต่อว่ามันเกี่ยวอะไรกับเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศเรา

ด้านนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์พร้อมปฏิรูปสู่การเลือกตั้งแบบใหม่ และขณะนี้ได้ทำกิจกรรมทางธุรกรรมของพรรค ตามที่กฎหมายอนุญาต ซึ่งพรรคพร้อมทำกิจกรรมอื่น เพียงแต่รอการปลดล็อกจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เท่านั้น

dpนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี

การที่ คสช. ไม่ปลดล็อกพรรคการเมือง ตามกำหนดวันที่ 8 ต.ค. 60 ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายพรรคการเมืองฉบับใหม่มีผลใช้บังคับนั้น ทำให้พรรคการเมืองเก่าเสียเวลามาแล้ว 3 เดือน ในการปฏิรูปพรรค และไม่สามารถประชุมใหญ่พรรค เพื่อตั้งกรรมการบริหาร และอนุมัติระเบียบใหม่ๆ เพื่อรองรับกฎใหม่ๆ ตามรธน. และกฎหมายประกอบ รธน.

ส่วนที่ตอนนี้ สนช. พยายามเลื่อนเวลาในการบังคับใช้ ร่าง พ.ร.ป. เลือกตั้ง ส.ส. เพื่อให้สอดรับกับคำสั่ง คสช. ห้ามทำกิจกรรมการเมือง นายอรรถวิชช์เห็นว่า ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง และไม่เหมาะสม

เพราะมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 53/2560 ระบุ หากพรรคการเมืองไม่สามารถดำเนินการใดๆ ตรงตามเวลาที่กฎหมายระบุได้ พรรคการเมืองต่างๆ อาจประชุมหารือเพื่อขยายระยะเวลาออกไปได้อยู่แล้ว

จึงไม่มีความจำเป็นที่ สนช. ต้องมาแก้กฎหมายเพื่อขยายเวลาเลือกตั้ง ควรให้พรรคการเมืองต่างๆ ได้ประชุมตัดสินใจร่วมกันดีกว่า

โดยการที่ สนช. ทำแบบนี้ ยิ่งทำให้คิดได้ว่า พยายามจะยืดเวลาออกไป และจะยิ่งทำให้การปฏิรูปไม่เป็นไปตามโรดแมปด้วย

p105360ratchakitchaจากหน้า 10 คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/60

 
ศัพท์สนุก

พ.ร.ป. พรรคการเมือง คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ 30 ก.ย. 60 มีทั้งสิ้น 152 มาตรา ในหมายเหตุด้านท้ายระบุ เพื่อให้มีเสรีภาพในการร่วมจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่กฎหมายบัญญัติ

คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/60 คือ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 53/2560 เรื่องการดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 22 ธ.ค. 60 โดยมีการ ยกเลิกมาตราบางมาตรา ของ พ.ร.ป.พรรคการเมือง

 

479023ratchakitchaจากหน้า 1 คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/60

737569ratchakitchaจากหน้า 1 คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/60

ร่าง พ.ร.ป. เลือกตั้ง ส.ส.  คือ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ...

คำว่าปลดล็อกพรรคการเมือง มาจากคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/60 ข้อ 8 สรุปว่า ถ้า ร่าง พ.ร.ป. เลือกตั้ง ส.ส. พศ. ... อยู่ระหว่างพิจารณาของ สนช. ให้คสช. พิจารณาแก้ไข เพิ่มเติม หรือ ยกเลิก กฎหมาย/ประกาศของ คสช. ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของพรรคการเมือง แต่เพราะคำสั่ง คสช. ไม่มีการยกเลิก

p85360_1ratchakitcha

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook