DNA "น้องเมย" พิสูจน์ไม่ได้ เรื่องวิทยาศาสตร์จริงๆ ไม่ใช่ใบสั่ง!

DNA "น้องเมย" พิสูจน์ไม่ได้ เรื่องวิทยาศาสตร์จริงๆ ไม่ใช่ใบสั่ง!

DNA "น้องเมย" พิสูจน์ไม่ได้ เรื่องวิทยาศาสตร์จริงๆ ไม่ใช่ใบสั่ง!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังนายสมณ์ พรหมรส ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ออกจดหมายแถลง เรื่อง น้องเมย นักเรียนเตรียมทหาร หรือ นตท. ภคพงศ์ ตัญกาญจน์ ที่เสียชีวิตวันที่ 17 ต.ค. 60 ว่า 

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตรวจยืนยันว่าชิ้นเนื้อ เช่น หัวใจ และ สมอง ที่ส่งมาให้ตรวจเป็นอวัยวะของ นตท.ภคพงศ์ หรือไม่ เพราะสารพันธุกรรมเนื้อเยื่อในอวัยวะผ่านการดองน้ำยาฟอร์มาลิน จนเสื่อมสลายไปมาก

ซึ่งตรงกับที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีตรวจสอบ หลังสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ส่งไปให้ช่วยตรวจสอบเพื่อยืนยันอีกครั้ง

เรื่องนี้เป็นหลักการทำงานของแพทย์นิติเวชจริง  หรือรับใบสั่งลองมาฟัง คำสัมภาษณ์จาก นายสกลกฤษณ์ เอกจักรวาล นักนิติวิทยาศาสตร์ ไปพร้อมๆ กับ Sanook! News กัน

01สกลกฤษณ์ เอกจักรวาล นักนิติวิทยาศาสตร์
“ตอนแรกแพทย์นิติเวชที่ชันสูตรคงต้องการตรวจหาสาเหตุการการเสียชีวิตของน้อง ซึ่งก็ต้องใช้การดองน้ำยาฟอร์มาลิน เพื่อทำให้แพทย์สามารถตรวจสอบอวัยวะได้ดีขึ้น จะทำให้เห็นกล้ามเนื้อ และรายละเอียดส่วนอื่นชัดขึ้น แต่น้ำยาฟอร์มาลินไปทำลายสารพันธุกรรม ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบหา DNA จากชิ้นส่วนอวัยวะต่างๆ ได้” นายสกลกฤษณ์ กล่าว

ในคนปกติการตรวจหา DNA สามารถตรวจจากเซลล์เยื่อบุกระพุ้งแก้ม แต่สำหรับผู้เสียชีวิตนั้น ถ้าเพิ่งเสียชีวิต ก็ยังสามารถตรวจได้จากสารคัดหลั่งหรือชิ้นส่วนอวัยวะในร่างกายได้ ขึ้นอยู่กับสภาพและการเปลี่ยนแปลงหลังการตาย แต่ถ้าถูกเผานั่งยาง หรือเพลิงไหม้บางส่วน หรือฝังไปแล้วก็ตรวจ DNA จากกระดูกหรือฟัน

แต่กรณี นตท.ภคพงศ์ อย่างที่ทราบกันตอนแรก แพทย์อาจจะทราบอยู่แล้วว่าผู้เสียชีวิตเป็นใคร และคงต้องการตรวจหาสาเหตุการเสียชีวิต โดยไม่คิดว่าเรื่องราวจะมาถึงประเด็นนี้

ประกอบกับประเทศไทย ยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนว่า แพทย์สามารถตัดแบ่งชิ้นส่วนไปดองฟอร์มาลินได้ ในอัตราส่วนเท่าไหร่ หรือดองชิ้นส่วนอวัยวะได้ทั้งหมด โดยการตรวจหาสาเหตุการเสียชีวิต เป็นไปตามวิจารณญาณของแพทย์นิติเวช

ahr0chm6ly9zlmlzyw5vb2suy29tl_1Meay P Tanyakanนตท. ภคพงศ์ ตัญกาญจน์ หรือ น้องเมย

ส่วนการเก็บอวัยวะของผู้เสียชีวิต มีวิธีอื่นอีกหรือไม่ ที่สามารถรักษาชิ้นเนื้อให้สามารถตรวจ DNA ได้ นายสกลกฤษณ์ กล่าวว่า บางกรณีสามารถนำไปเก็บด้วยการนำมาแช่เย็น ในห้องเย็นได้ แต่วิธีแช่แข็งนั้นไม่ใช่วิธีที่ดีหากจะดูกล้ามเนื้อ หรือหาสาเหตุการเสียชีวิตนั่นเอง

อย่างไรก็ตามในกรณีการเสียชีวิตของ นตท.ภคพงศ์ เรื่องการสั่งธำรงวินัยน้อง (ซ่อม) นั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นสมควรสั่งฟ้อง นักเรียนเตรียมทหารรุ่นพี่ 1 คน ข้อหาทำร้ายร่างกาย โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเตรียมส่งสำนวนการสอบสวนให้อัยการ ศาลทหาร ในเร็วๆ นี้

ขณะที่คดีเรื่องการหาสาเหตุการเสียชีวิตนั้น นอกจากเพิ่งทราบว่า DNA ไม่สามารถตรวจสอบได้ สถานีตำรวจภูธรเมืองนครนายก ยังต้องสอบปากคำพยานเพิ่มเติม ถึงจะสามารถสรุปสำนวนการสอบสวนได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook