เลื่อนไม่เลื่อนเลือกตั้ง? จับตาตั้งกรรมาธิการร่วมพิจารณากฎหมายลูกเลือก ส.ว. 15 ก.พ.นี้

เลื่อนไม่เลื่อนเลือกตั้ง? จับตาตั้งกรรมาธิการร่วมพิจารณากฎหมายลูกเลือก ส.ว. 15 ก.พ.นี้

เลื่อนไม่เลื่อนเลือกตั้ง? จับตาตั้งกรรมาธิการร่วมพิจารณากฎหมายลูกเลือก ส.ว. 15 ก.พ.นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายสมชาย แสวงการ เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ วิป สนช. กล่าวกับ Sanook! News ว่าในวันพรุ่งนี้ (13 ก.พ. 61) สนช. จะพิจารณาโหวตเลือกตัวแทน สนช. 5 คน เพื่อเป็นคณะกรรมธิการร่วม 3 ฝ่าย เพื่อพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ... หรือ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. 

จากนั้นในวันพฤหัสบดีที่ 15 ก.พ. นี้ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะแต่งตั้ง กรรมธิการร่วม 3 ฝ่าย ทั้ง 11 คน ( สนช. 5 คน, คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. 5 คน และคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง หรือ กกต. 1 คน)

ทั้งนี้นายสมชาย ยืนยันว่า สนช. ไม่มีเจตนาคว่ำร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างแน่นอน และยินดีที่จะร่วมกันหารือในข้อที่ กกต. เห็นว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งหาก กรธ. และ กกต. มีความเห็นอย่างไร สนช. ก็ยินดีที่จะปรับปรุง หากเป็นประเด็นที่เห็นตรงกัน

อย่างไรก็ตาม การตั้งคณะกรรมธิการร่วมเพื่อแก้ไขร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. นี้ จะต้องใช้เวลา 15 วัน ในการแก้ไข ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งถ้านับจากวันพฤหัสบดีนี้ กรรมาธิการร่วมจะต้องทำงานให้เสร็จภายในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 

โดยประเด็นที่ กกต. เห็นต่างกับ สนช. คือ เรื่องการจำแนกประเภทผู้สมัครอิสระ กับนิติบุคคล, การลดจำนวนกลุ่มอาชีพ และวิธีการเลือกตัวแทน ส.ว. ด้วยวิธีการเลือกไขว้ ที่ทาง กกต.เห็นว่าควรเป็นการเลือกตรง อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่า กกต. จะมีเพียง 1 เสียง ในกรรมาธิการร่วมครั้งนี้ แต่ถือว่าเป็นเสียงที่สำคัญ

และหาก กกต. เห็นต่างกับ สนช. ในขั้นกรรมาธิการร่วม ยิ่งทำให้ร่างนี้เป็นเรื่องที่น่าจับตาเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อผ่านเข้าไปโหวตในสภาฯ สนช. ก็อาจจะโหวตไม่ผ่านร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.

กลายเป็นการคว่ำร่าง ซึ่งในขั้นตอนนี้ รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุไว้ว่าต้องทำอย่างไรต่อไป ก็อาจจะทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปอีกนั่นเอง

election-new(1)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook