สุดดุเดือด! 'ใบตองแห้ง' VS 'อภิสิทธิ์' ปะทะคารม 5 ปีแห่งความขัดแย้ง

สุดดุเดือด! 'ใบตองแห้ง' VS 'อภิสิทธิ์' ปะทะคารม 5 ปีแห่งความขัดแย้ง

สุดดุเดือด! 'ใบตองแห้ง' VS 'อภิสิทธิ์' ปะทะคารม 5 ปีแห่งความขัดแย้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดุเดือดกลางวงเสวนา 'พลังโซเชียลเปลี่ยนการเมืองไทย...จริงหรือ? 'ใบตองแห้ง' - 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' เปิดฉากงัดวิวาทะปมความขัดแย้งในประเทศที่ร้าวลึกมาหลายปี ระหว่าง 'ความยุติธรรมสองมาตรฐาน' กับ 'พ.ร.บ.นิรโทษกรรม'

ยกแรก : หลังจากที่ ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พูดถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายเพื่อให้เกิดกระแสสังคม และการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ต้องยอมรับผิด

ทำให้ ใบตองแห้ง หรือ นายอธึกกิต แสวงสุข ระบุว่า “ผมก็นึกว่าอาจารย์ปริญญาจะพูดต่อ ว่าให้ยอมรับผิด เช่น ปิดทำเนียบฯ ปิดสนามบิน ขัดขวางเลือกตั้ง ปิดสถานที่ราชการ ปิดเมือง จะยอมรับผิดหรือไม่ เห็นออกมาพูดแต่ไม่มีใครยอมรับผิดสักคน”

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โต้กลับทันที “อย่างน้อยก็เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่หนีไปอยู่ต่างประเทศนะครับ”

ผศ.ปริญญา จึงสรุปว่า “ผมว่าอยากให้เห็น 22 พฤษภาคม 57 เป็นครั้งสุดท้าย ถ้าหากมีสติปัญญามากพอเรียนรู้ว่าผิดพลาดตรงไหนแล้วไม่ทำอีก มันก็จะไม่เกิด ถ้าไม่ทะเลาะกันขนาดนี้ ถ้าสภาของเราสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมืองได้ คสช.ก็จะไม่เข้ามา แต่ทุกฝ่ายเชื่อมั่นว่าที่ทำมาถูกต้อง แม้ตัวเองจะทำผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นครั้งหน้าก็จะเกิดขึ้นอีก”

ยกที่สอง: ใบตองแห้ง แย้ง ผศ.ปริญญา ในสังคมมีความไม่เท่าเทียมกัน การใช้ Hate Speech เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่ได้เกิดมาจากการทะเลาะและไม่ฟังกัน แต่รากเหง้าของปัญหาคือความไม่เท่ากัน กลุ่มหนึ่งเชื่อในหลักประชาธิปไตย อีกกลุ่มไม่เชื่อในหลักประชาธิปไตย และความยุติธรรมสองมาตรฐาน กลายเป็นปัญหาที่ไม่มีทางออกมาสิบกว่าปี ยกตัวอย่างเช่น การแข่งขันฟุตบอล หากกรรมการใช้กติกาเดียวกัน ก็จะไม่เกิดความขัดแย้งที่ร้าวลึกของกองเชียร์

ผศ.ปริญญา ระบุว่า คนดูก็เรียกกรรมการด้วย เมื่อเห็นว่าฝ่ายตัวเองกำลังจะแพ้ หรือไม่ก็ปิดสนามไปเลย

 

'อภิสิทธิ์' รับทุกฝ่ายมีส่วนผิด ค้านเรียกทหารยึดอำนาจ

นายอภิสิทธิ์ จึงโต้แย้งขึ้นมาว่า การสรุปว่ากองเชียร์ปิดสนามเพราะเกรงว่าจะแพ้ไม่ถูกต้อง แต่เกิดจากฝั่งตรงข้ามไม่เล่นตามกติกา คือ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ทำตามที่ให้คำมั่นสัญญากับประชาชนไว้ จะเห็นได้ว่า แม้จะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม หรือจำนำข้าว รัฐบาลก็ยังอยู่ได้ แต่ปัญหามันเกิดจากการผิดคำพูด พยายามที่จะออกกฎหมายนิรโทษกรรม ในทางกลับกันตนถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกรในคดีสลายการชุมนุม มีคนเสนอว่าจะนิรโทษกรรมให้ ตนก็ไม่รับ

ส่วนตัวยอมรับว่า มีคนไปเรียกทหารเข้ามารัฐประหารในปี 2557 จริง ๆ แต่ตนก็ไม่ได้เห็นด้วย ทั้งยังเคยพยายามเตือนรัฐบาลแล้ว แต่รัฐบาลขณะนั้นเห็นว่ามีเสียงข้างมาก ไม่ยอมมาตกลงกันเพื่อหาทางออก ดังนั้นการปิดสนาม จึงไม่ใช่เรื่องของการเลือกตั้งแพ้แล้วพาล แต่เป็นการแสดงออกว่าไม่ยอมรับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แล้วลุกลาม ต่อให้มีการเลือกตั้งก็ไม่สำเร็จอย่างที่เห็น ยอมรับว่าทุกฝ่ายมีส่วนผิด แต่ไม่ใช่แพ้การเลือกตั้งแล้วจึงมีม็อบ ดังนั้นถ้าเรากลับไปสู่ภาวะที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่เอาอำนาจไปใช้เกินขอบเขต แล้วปล่อยให้กลไกที่ควรจะทำงาน เช่น องค์กรอิสระ ศาล แก้ไขปัญหาไปตามระบบ ก็จะไม่เกิดความขัดแย้งในลักษณะนี้อีก

 

'ใบตองแห้ง' จี้สะสางผลพวงรัฐประหาร

จากนั้น ใบตองแห้ง ยังย้ำว่า สังคมไม่สามารถก้าวไปสู่สิ่งใหม่ได้ ตราบใดที่ไม่มีการสะสางผลพวงของรัฐประหาร เราไม่สามารถเคารพกฎหมายได้ ถ้าหากรัฐบาลยังสามารถออกคำสั่งที่ละเมิดกฎหมายได้ แม้จะมีการตั้งพรรคการเมืองใหม่ ตอบสนองความเรียกร้องของสังคมที่อยากเห็นสิ่งใหม่ แต่สิ่งใหม่เกิดไม่ได้ เพราะโครงสร้างเดิม ๆ เสื่อมถอย ทั้งยังเป็นรัฐที่ทหารมีอำนาจและพยายามสืบทอดอำนาจต่อไปในการเลือกตั้งครั้งหน้า

ผศ.ปริญญา จึงกล่าวต่อว่า ในสังคมมีคนตรงกลางเป็นเสียงข้างมาก ที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกพรรคไหน ข้างไหน เหมือนกับในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นคนตัดสินทางออกที่ไม่ใช่ทางตัน ขอให้ทุกคนมีความหวัง

ขณะที่ นายปราบ เลาหะโรจนพันธ์ ผู้ก่อตั้งโครงการ Rethink Thailand กล่าวปิดท้ายขณะที่เวลาใกล้จะหมดว่า "สะท้อนภาพการเมืองไทยได้ดีครับ คนรุ่นใหม่มีพื้นที่นิดเดียว" พร้อมเสนอทางออกว่า วิธีการแก้ปัญหาคือการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาแก้ไขและเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook