เหตุใด 'สมชัย ศรีสุทธิยากร' ถึงกลายเป็นอดีต กกต. ด้วยมาตรา 44

เหตุใด 'สมชัย ศรีสุทธิยากร' ถึงกลายเป็นอดีต กกต. ด้วยมาตรา 44

เหตุใด 'สมชัย ศรีสุทธิยากร' ถึงกลายเป็นอดีต กกต. ด้วยมาตรา 44
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่เมื่อวานนี้ (20 มี.ค. 61) มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ ๔/๒๕๖๑ เรื่อง ให้กรรมการการเลือกตั้งยุติการอยู่ปฎิบัติหน้าที่ โดยระบุว่า

ด้วยนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง ได้มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในกรณีการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงความเห็นของตนเกี่ยวกับกระบวนการและกําหนดการการเลือกตั้ง ด้วยถ้อยคําที่ไม่สมควรในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความสับสน อันจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งและการจัดการการเลือกตั้งให้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่า นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ได้สมัครเข้ารับการคัดเลือกให้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยไม่ได้ลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่กรรมการการเลือกตั้งเสียก่อน ซึ่งถือเป็นการกระทําที่เข้าข่ายเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เนื่องจากตนเองเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องดังกล่าวโดยตรง และจะส่งผลต่อความถูกต้องและเป็นธรรมในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมมาดํารงตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง

จึงไม่สมควรให้นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ปฏิบัติหน้าที่กรรมการการเลือกตั้งต่อไป เพื่อให้การดําเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส และเป็นธรรม แก่ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกรายอื่น ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้โดยที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงมีความจําเป็นต้องกําหนดให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งหรือกรรมการการเลือกตั้งที่ดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับยังคงอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และไม่กระทบต่อการเตรียมการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความสงบและบริหารจัดการการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปองค์กรตามรัฐธรรมนูญภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๖๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ยุติการอยู่ปฏิบัติหน้าที่กรรมการการเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป

ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้ซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการการเลือกตั้งหรือกรรมการการเลือกตั้งตามมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐ มีอายุครบเจ็ดสิบปี ให้ผู้นั้นยังคงอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวต่อไป จนกว่าประธานกรรมการการเลือกตั้งและกรรมการการเลือกตั้งที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่

บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของบทเฉพาะกาลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐

ข้อ ๓ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ด่วน! 'ประยุทธ์' งัด ม. 44 เด้ง 'สมชัย' พ้น กกต. เหตุสัมภาษณ์สื่อไม่เหมาะสม

 

ก่อนหน้านี้ในแวดวงการเมืองต่างรู้กันดีว่า นายสมชัย เป็นกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่มีบทบาทมากที่สุด จนมีหลายคนเรียกตัวเขาว่า "ตัวจี๊ด" ด้วยซ้ำ แน่นอนว่าเมื่อคำสั่งหัวหน้า คสช. ออกมาแบบนี้ ก็สะท้อนได้อย่างหนึ่งว่าที่ผ่านมาการออกมาให้สัมภาษณ์ แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเมืองการเลือกตั้งของเจ้าตัวนั้น ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองอาจจะไม่ค่อยปลื้มเท่าใดนัก

[กกต.สมชัย เสนอโปรแกรมจัดการความเสี่ยงเลือกตั้งปี 61]

[กกต.สมชัย ระบุเตรียมส่งศาลรธน.ตีความปมจัดเลือกตั้งภายใน 150 วัน]

[กกต.สมชัย โพสต์เฟซบุ๊กอัดกรธ. ปมผู้ตรวจการเลือกตั้ง]

[กกต.สมชัย แนะกรธ.ใช้ร่างกฎหมายจริงมาอภิปรายความเห็น]

ย้อนไปก่อนหน้าที่จะมีบทสัมภาษณ์ที่เป็นต้นเหตุในคำสั่งปลดออกจากการทำหน้าที่ กกต. นายสมชัยผู้เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาเปิดประเด็นเรื่องการคัดเลือก กกต. โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาที่ผ่านมา อาจเข้าข่ายกระทำการไม่เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ เนื่องจากมาตรา 12 วรรคสาม ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กำหนดให้ในการสรรหาหรือคัดเลือก ให้ใช้วิธีการลงคะแนนโดยเปิดเผย และให้กรรมการสรรหาแต่ละคนบันทึกเหตุผลในการเลือกไว้ด้วย

แต่ปรากฏว่า ในการคัดเลือกตัวแทนจากศาลในครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2560 กลับเป็นการลงคะแนนลับ และในวันที่ 6 ธ.ค. 2560 ก็เป็นการลงคะแนนโดยลับอีกครั้ง จนท้ายที่สุดประเด็นนี้อาจเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ว่าที่ กกต. ทั้ง 7 คน ไม่ผ่านการรับรองจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

[มติ สนช.เอกฉันท์ ไม่เห็นชอบชื่อ 7 กกต.ชุดใหม่]

["กกต.สมชัย ห่วงงานขรุขระ" หลัง สนช. คว่ำรายชื่อชุดใหม่]

ขณะที่ฟางเส้นสุดท้ายจนนำมาสู่ปฏิบัติการปลดด้วยมาตรา 44 ออกจากการอยู่ทำหน้าที่ กกต.ของนายสมชัยนั้น หลายฝ่ายคาดเดาว่าน่าจะเกิดจากการที่เจ้าตัวออกมาให้ความเห็นหลายครั้งเกี่ยวกับกฎหมายลูก 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง นั่นคือ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ซึ่งจนถึงตอนนี้มีการส่ง ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความแล้ว ส่วน ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. แม้จะยังไม่ได้ส่งให้ศาล รธน.ตีความ แต่ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน

['อภิสิทธิ์' แนะ 'ประยุทธ์' ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.]

แน่นอนว่านายสมชัยเชื่อมั่นเหลือเกินว่ากำลังมีกระบวนการทางนิติบัญญัติที่พยายามจะทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปจากที่กำหนดไว้ จึงออกมาสื่อสารต่อสาธารณะในประเด็นดังกล่าว แต่ฟากฝั่ง คสช.ที่รับบทบาทดูแลบ้านเมืองอยู่ในเวลานี้ คงคิดอีกแบบหนึ่ง เพราะเราคงเคยได้ยินได้ฟังจากผู้ใหญ่ในรัฐบาลหลายต่อหลายท่านว่าตอนนี้กำลังดำเนินการทุกอย่างตามโรดแมปการเลือกตั้ง (แม้จะมีการขยับวันเลือกตั้งมาโดยตลอดก็ตาม)

 

ล่าสุดวันนี้ (21 มี.ค. 61) นายสมชัยกล่าวกับสื่อมวลชนสั้น ๆ ว่า กำลังเก็บของออกจากสำนักงาน กกต. พร้อมกับระบุถึงความเป็นไปได้ที่จะกลับไปทำงานที่มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) และเตรียมจะเปิดใจถึงกรณีถูกปลดออกจากตำแหน่งในวันศุกร์ที่ 23 มี.ค.นี้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook