พรมแดนของโลกมายา - ตำนานโฟล์กบลูส์ทัวร์ยุโรป 1962-1966 (Volume 2)

พรมแดนของโลกมายา - ตำนานโฟล์กบลูส์ทัวร์ยุโรป 1962-1966 (Volume 2)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คมชัดลึก : ดังที่กล่าวไว้ในตอนที่แล้ว บันทึกการแสดงสดครั้งนี้ถ่ายทำในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งในเยอรมนี ระหว่างการออกทัวร์ของศิลปินบลูส์ผิวดำ นับเวลาได้ไม่น้อยกว่า 40 ปีขึ้นไป ผลงานการแสดงของพวกเขาได้เปิดโลกดนตรีของชนอเมริกันดำ ลบทัศนคติเชิงดูถูกเหยียดหยามของชาวยุโรปที่มีต่อพวกเขา การแสดงดนตรีครั้งนี้ไม่ว่าจะผ่านกาลเวลามานานแค่ไหน แต่ก็ได้พิสูจน์ชัดแล้วว่าพวกเขามีรากทางวัฒนธรรมของเขาเอง

1. Bye Bye Bird / Sonny Boy Williamson เดินเข้าฉากตัวเมืองในชนบทเป่าฮาร์โมนิก้า ร้องเพลงแต่งกายแบบสุภาพเดินเข้าสู่ฉากที่ 2 ในบาร์ โดยมีวงดนตรีขนาด 4 คนเล่นยืนพื้น 2. My Younger Days (1964) คนเล่นเบสจำง่ายกว่าเพื่อน เขาคือ Willie Dixon วงนี้เล่นได้ดี มีแบบแผน การร้องของเขาทำได้ไม่แพ้การเป่าฮาร์โมนิก้า คนเล่นกีตาร์ดูหน้าอ่อนกว่าเพื่อน แต่ฝีมือไม่ใช่เล่น 3. Come on Home Baby (1964) Sunnyland Slim นักเปียโนจากชิคาโกเป็นผู้ร้อง นักกีตาร์หนุ่มน้อยคนเดียวกันชื่อ Lou Hubert เพลงนี้จังหวะเร็วขึ้นเกือบจะเป็นร็อกอยู่แล้ว เสียงเปียโนกับกีตาร์จะเล่นหยอกล้อ และ improvise ใส่กันพอหอมปากหอมคอ 4. Nevous (1962) Willie Dixon ในวงดนตรี Memphis Slim เขาเป็นลูกวงและมาจากชิคาโกด้วยกัน เพลงนี้ร้องเหมือนคนติดอ่างดูน่ารักมาก รอยยิ้มของเขาดูบริสุทธิ์เหมือนเด็กน้อย

5. Mojo Han (1964) Lightnin Hopkins จากฮิวสตัน เท็กซัส เล่นกีตาร์อะคูสติกส์ติดปิกอัพแบบแม็กเนติก ดนตรีบลูส์ 12 ห้อง การแสดงเรียบง่าย น่ารักและมีชีวิตชีวา 6. Black Snake Blues (1963) Victoria Spivey สาวใหญ่ตัดผมสั้นเกรียน แต่งตัวดี ถูกแนะนำว่าเป็นราชินีแห่ง เพลงบลูส์ มี Sonny Boy Williamson เล่นฮาร์โมนิก้า 7. Everyday I Have the Blues (1963) Memphis Slim ร้องเพลงนี้ได้ไพเราะมาก นับว่าเป็นสแตนดาร์ดบลูส์อีกเพลงหนึ่ง ศิลปินรุ่นใหม่ยังคงเล่นเพลงนี้กันทั่วไป

8. Dont Throw Your Love on Me so Strong (1962) T-Bone Walker มาจากลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนีย เขาเป็นทั้งนักแต่งเพลง เรียบเรียงดนตรี นักร้องนักดนตรี ลีลาการจับถือกีตาร์ของเขาแตกต่างจากคนอื่น ไม่ใช่แค่ร้องเพลงเล่นกีตาร์ได้ดีเท่านั้น การแสดงบนเวทีของเขาเป็นนักแสดงเต็มตัว 9. Tall Heavy Mama (1966) Roosevelt Sykes เพลงจังหวะ 12 ห้องเล่นเปียโนได้พลิ้ว มีกลองและเบสเล่นยืนพื้น ท่อน adlib น่าชมทีเดียว 10. Sittin And Cryin The Blues (1963) Willie Dixon ร้องได้อารมณ์ดีจริงๆ อีกทั้งเสียงเปียโนของ Memphis Slim ก็น่าฟัง มือกีตาร์หนุ่มอีกคนก็เล่นคลอได้ไม่เบาทีเดียว 11. Murphys Boogie (1963) Matt Guitar Murphy นักกีตาร์หนุ่มใช้กีตาร์ Gibson 335 นักดนตรีสมัยก่อนเรียกเพลงนี้ว่าเพลงกูรู มักจะเล่นกันในวงคอมโบ้ทั่วไป 12. Stranger Blues (1962) Sonny Terry & Brownie MoGhee ดนตรีโฟล์กบลูส์ 2 คน 13 Howlin Wolf เล่นต่อเนื่องกัน 3 เพลง 13. Shake For Me 14 Ill be Back Someday 15 Love me Darlin (1964) วงนี้แตกต่างจากวงอื่น เล่นกีตาร์ 2 คน การแสดงเร้าใจ บทบาทของกีตาร์เด่นชัดมาก 16 Down Home Shakedown (1965) Big Mama Thornton วงจากชิคาโก เป็นการแสดงฮาร์โมนิก้า สลับกันเล่นคนละท่อน John Lee Hooker อยู่ในวงนี้ด้วยตอนนั้นยังหนุ่ม อัลบั้มชุดนี้มีทั้งหมด 3 ตอนด้วยกัน ใครมีชุดที่ 3 ช่วยบอกด้วย วีระศักดิ์ สุนทรศรี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook