นร.ลุ้นจับสลากม.1 น้ำตาร่วง วืดอีกหนเข้ารร.ดัง

นร.ลุ้นจับสลากม.1 น้ำตาร่วง วืดอีกหนเข้ารร.ดัง

นร.ลุ้นจับสลากม.1 น้ำตาร่วง วืดอีกหนเข้ารร.ดัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จับสลากนักเรียนเข้าม.1 ทั่วประเทศ หอวัง ถ่าย ทอดอินเตอร์เน็ตไปทั่วโลก อัตราแข่งขันสูงสุดในกทม. 1 ต่อ 5 มีทั้งคนสมหวังผิดหวัง ต้องรอเกลี่ยไปโรงเรียนในเขตพื้นที่ ขณะที่ สายปัญญาฯ น.ร.เฮเพราะคนมาจับน้อยกว่าจำนวนรับ เลยรับหมด โชคเข้าข้างเด็กที่ไปจับ ศึกษานารี คุณหญิงกษมาขอร.ร.หยวนรับหมดจากที่ลงทะเบียน 132 จับได้แค่ 110 คาด 4-5 เม.ย. ทุกคนมีที่เรียน ส่วนที่โคราช-ร้อยเอ็ดบรรยากาศคึก คัก คนไม่ได้ต้องกระจายไปโรงเรียนคู่พัฒนา

เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 29 มี.ค. ผู้สื่อข่าวราย งานว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดให้มีการจับสลากเข้าเรียนต่อในระดับ ชั้นม.1 ประจำปีการศึกษา 2552 สำหรับนัก เรียนในเขตพื้นที่บริการทุกโรงเรียนพร้อมกันทั่วประเทศ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ไปตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจนักเรียนและผู้ปกครอง ที่โรงเรียนหอวัง กรุงเทพฯ ซึ่งมีอัตราการแข่งขันสูงที่สุด ในกรุงเทพฯ จากนักเรียนสมัคร 471 คน มาจับสลาก 420 คน ในขณะที่โรงเรียนรับได้เพียง 85 คนเท่านั้น คิดเป็นอัตราส่วน 1:5

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศก่อนการจับสลากเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้ปกครองและนักเรียนจำนวนมากมารอลุ้นผลการจับสลากในครั้งนี้ ตั้งแต่เช้าตรู่ ซึ่งบางคนพากันมาทั้งครอบครัว และส่วนใหญ่สักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน เพื่อขอให้บุตรหลานจับสลากเข้าเรียนได้ ทำให้ด้านล่างของหอประชุมใหญ่ ซึ่งใช้เป็นสถานที่จับสลากมีผู้ปกครองมานั่งรอลุ้นอย่างเนืองแน่น โดยโรงเรียนจัดจอโปรเจ็กเตอร์ขนาดใหญ่ พร้อมโทรทัศน์วงจรปิดถ่ายทอดสดบรรยากาศการจับสลากในหอประชุม ให้ผู้ปกครองลุ้นไปพร้อมกับนักเรียน พร้อมกันนั้นโรงเรียนประกาศให้ผู้ปก ครองทราบด้วยว่า การถ่ายทอดสดการจับสลากครั้งนี้ถ่ายทอดทางอินเตอร์เน็ตไปทั่วโลกด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับการจับสลากคัดเลือกของโรงเรียนหอวังนั้น ใช้วิธีการจับเหรียญสี ชมพูและสีเขียว หากจับได้สีเขียวจะมีสิทธิ์เข้าเรียน แต่หากจับได้สีชมพูจะมีอาจารย์และรุ่นพี่มาปลอบใจ และพาไปรับเอกสารกรอกข้อมูล เพื่อแจ้งความจำนงให้จัดที่สถานที่เรียนให้ ทั้งนี้หลังจากมีการเริ่มจับสลาก ปรากฏว่าทั้งเด็กและผู้ปกครองต่างมีสีหน้าเคร่งเครียด และยิ่งทำให้บรรยากาศกดดันและลุ้นระทึกมากขึ้น เมื่อเด็กลำดับต้นๆ จับได้แต่เหรียญสีชมพู จนมาถึงลำดับที่ 13 ซึ่งเป็นลักกี้นัมเบอร์ จับได้สีเขียว ทำให้นักเรียน ครู อาจารย์ ทั้งห้องประชุมถึงกลับร้องเสียงเฮออกมา ขณะที่นักเรียนที่พลาดโอกาสถึงกับเดินคอตก บางคนถึงกลับน้ำตาซึมทีเดียว

นายจุรินทร์กล่าวว่า ยืนยันว่าเด็กทุกคนต้องมีที่เรียน โดยเด็กที่พลาดหวังจากการสอบหรือจับสลาก ทางกระทรวงศึกษาธิการจะจัดสถานที่ให้ทุกคนได้เรียน โดยไม่มีการตกค้างและเข้าสู่โครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ สำหรับนักเรียนที่พลาดการจับสลากไม่ได้เรียนในโรงเรียนชื่อดัง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะไม่ว่าจะเรียนโรงเรียนไหนก็สามารถประสบความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับความตั้งใจใฝ่รู้ของนักเรียน ซึ่งตนก็ขอเป็นกำลังใจให้


เมื่อถามว่าจะพิจารณายกเลิกระบบการจับสลาก ที่สร้างความรู้สึกกดดันให้กับเด็กหรือไม่ นายจุรินทร์กล่าวว่า เรื่องการจับฉลากเข้าเรียนเป็นแนวปฏิบัติที่ดำเนินการมานานแล้วจนเป็นที่ยอมรับ และเป็นเรื่องธรรมดามีทั้งผู้สมหวังและผิดหวัง แต่ก็ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดขณะนี้ ซึ่งหากจะให้โรงเรียนจัดสอบทั้ง 100% แทนการจับสลากก็ทำได้ และโรงเรียนก็จะได้เด็กเก่งๆ เข้าเรียน แต่ก็มีข้อเสียคือจะทำให้เด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการแต่สอบไม่ได้ ต้องเดินทางไกลไปเรียน ซึ่งแทนที่จะเป็นการแก้ปัญหากลับเป็นการสร้างปัญหาแทน ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่สามารถคิดวิธีการที่ดีกว่านี้ได้ ก็คงจะต้องใช้ระบบการจับสลากไปก่อน

ด้านนายปรีชา จิตรสิงห์ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) กรุงเทพมหานคร เขต 2 กล่าวว่า นักเรียนที่ยังไม่มีที่เรียน สามารถแจ้งความจำนงให้สพท.จัดหาที่เรียนให้ โดยยื่นความจำนงได้ที่โรงเรียนหรือเขตพื้นที่ฯ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 6 เม.ย. โดยในส่วนของสพท.กทม.เขต 2 จะมีการประชุมเพื่อจัด สรรที่เรียนให้เสร็จก่อนวันหยุดยาวในช่วงสงกรานต์ เพื่อให้เด็กและผู้ปกครองได้เที่ยวในช่วงเทศกาลได้อย่างสบายใจ สำหรับสพท.กทม. เขต 2 มีนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนกว่า 3.2 หมื่นคน ขณะที่รับได้ประ มาณ 1.7 หมื่นคน โดยยังมีนักเรียนในเขตพื้นที่ที่ยังเกินอยู่กว่า 9,000 คน ซึ่งมั่นใจว่าเขตพื้นที่ฯ จะจัด สรรที่เรียนให้กับนักเรียนได้ทุกคน เพราะยังมีโรงเรียน ในสังกัดสพฐ.และกทม. ที่ยังมีที่ว่างรับได้อีก 6 โรง

ด.ญ.ดารารัตน์ คงสุวรรณ นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียน วัดเสมียนนารี เขตจตุจักร กทม. กล่าวว่า รู้สึกเสียใจที่จับสลากไม่ได้ และคงแจ้งความจำนงเข้าเรียนต่อในโรงเรียนประชานิเวศน์ ส่วนตัวคิดว่าการจับสลากก็ยุติธรรมแล้ว เพราะได้ลุ้นและขึ้นอยู่กับดวง แต่หากเปลี่ยนไปสอบทั้งหมดก็อาจทำให้เด็กที่เรียนไม่เก่ง และสอบเข้าไม่ได้ เสียโอกาส ไม่ได้เรียนในโรงเรียนใกล้บ้าน

สำหรับที่โรงเรียนสายปัญญา คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เดินทางไปตรวจเยี่ยมการจับสลากเข้าศึก ษาต่อม.1 โดยมีผู้ปกครองนำบุตรหลานมาจับสลาก และรอลุ้นผลจำนวนมาก แต่เมื่อโรงเรียนปิดรับการ ลงทะเบียน ปรากฏว่ามีนักเรียนมาลงทะเบียน 103 คน ซึ่งน้อยกว่าจำนวนรับคือ 136 คน ทางโรงเรียนจึงรับนักเรียนที่มาลงทะเบียนทั้งหมด

จากนั้นคุณหญิงกษมาไปตรวจเยี่ยมการจับสลากที่โรงเรียนศึกษานารี ซึ่งมียอดนักเรียนมาลงทะเบียน 132 คน ทางโรงเรียนรับได้ 110 คน แต่คุณหญิง กษมาเห็นว่า มียอดนักเรียนมาลงทะเบียนและจำนวนที่โรงเรียนจะรับได้ต่างกันไม่มาก จึงขอให้โรงเรียนรับนักเรียนเข้าเรียนทั้งหมด สร้างความดีใจให้ผู้ปก ครองของนักเรียนที่พลาดหวังไปแล้วอย่างมาก โดยบางรายถึงกับร้องไห้ออกมาด้วยความดีใจ

คุณหญิงกษมาให้สัมภาษณ์ว่า ในเขตพื้นที่กทม. เขต 2 เชื่อว่าจะมีปัญหาแน่นอน เพราะมีอัตราการแข่งขันสูง และยังมีนักเรียนจากจ.นนทบุรี และ จ.ปทุม ธานี เข้ามาด้วย สำหรับนักเรียนที่พลาดหวังจากการจับสลากไม่ต้องเสียใจ เพราะสพฐ.มีโรงเรียนที่มีคุณภาพรองรับนักเรียนอยู่อีกมาก อีกทั้งคุณภาพของครูก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นอกจากนี้ในโรงเรียนกลุ่มดังกล่าวทางสพฐ. ก็จะเข้าไปสนับสนุนงบฯ ด้านสาธารณูปโภค ไอทีด้วย สำหรับเด็กที่พลาดจากการจับสลาก ให้ไปยื่นคำร้องที่โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการหรือโรงเรียนที่ไปสมัครสอบ หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่สังกัดอยู่ ในวันที่ 4-5 เม.ย. เพื่อที่จะจัดสรรที่เรียนให้ต่อไป

ด้านนายอมรรัตน์ ปิ่นเงิน ผอ.โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กล่าวว่า ทางโรงเรียนจะพยายาม จัดเกลี่ยเด็กนักเรียนที่ยังไม่มีที่เรียนลงไปในโรงเรียนในสหวิทยาเขตเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย ร.ร.บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 3 ร.ร.บึงกุ่ม ร.ร.เทพลีลา และโรงเรียนพิบูลย์อุปถัมภ์ ทั้งนี้ จะมีการประกาศผลให้นักเรียนได้ทราบภายในวันที่ 9 เม.ย. นี้ โดยตนขอยืนยันว่าเด็กทุกคนจะมีที่นั่งเรียนอย่างแน่นอน

ขณะที่นายเกษม สดงาม ผอ.โรงเรียนสตรีวิทยา 2 กล่าวว่า อัตราการจับสลากของโรงเรียนค่อนข้างสูง แต่มีบางส่วนที่สละสิทธิ์ไม่มาจับสลาก 91 คน ซึ่งเข้าใจว่าเด็กกลุ่มนี้น่าจะสอบเข้าโรงเรียนอื่นได้แล้ว ในส่วนของเด็กที่ยังไม่มีที่เรียน ก็จะพยายามเกลี่ยไปยังโรงเรียนอื่นที่อยู่ในสหวิทยาเขตเดียวกันก่อน แต่ถ้ายังล้นอยู่ก็จะกระจายไปยังสหวิทยาเขตใกล้เคียงภายใน สพท.กทม.2 เดียวกัน ทั้งนี้ เชื่อว่าหากนักเรียนไม่เลือกโรงเรียนมากเกินไป เด็กทุกคนจะต้องมีที่เรียนแน่นอน

ส่วนที่ จ.นครราชสีมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงเช้ามีผู้ปกครองนำบุตรหลาน มาร่วมจับสลากอย่างคึกคัก นอกจากนี้ยังมีการนำญาติ พี่ น้อง มาให้กำลังใจ และไหว้บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละโรงเรียน เพื่อดลบันดาลให้ลูกหลานประสบความสำเร็จในการจับสลากด้วย

นายมโน ศรีวัฒนพงษ์ ผอ.ร.ร.บุญวัฒนา ต.หัว ทะเล อ.เมือง เปิดเผยว่า เรารับนักเรียนชั้นม.1 ได้ 600 คน มาจากการสอบ 420 คน 30 คน จากความสามารถพิเศษ ที่เหลือ 150 คน จะเป็นโควตาของเด็กที่ไม่ผ่านการสอบคัดเลือก แต่ได้สิทธิ์จับสลาก เนื่อง จากมีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่บริการ วันนี้มีเด็กมาจับสลาก 829 คน จะมีเด็ก 679 คน ต้องผิดหวัง ซึ่งเราต้องหาโรงเรียนให้เด็กได้ศึกษาต่อ

ด้านนายอุดม พรมพันธ์ใจ ผอ.โรงเรียนราชสีมา วิทยาลัย เปิดเผยว่า เรารับม.1 ได้ 610 คน ม.4 เพียง 100 คน ซึ่งสามารถขยายจำนวนนักเรียนได้ แต่ต้องไม่เกิน 50 คน ต่อ 1 ห้องเรียน ซึ่งการรับนักเรียนมากเกินไป จะไม่ก่อให้เกิดการพัฒนา ไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้ทุกปีจะมีเด็กฝากหลายร้อยคน จากนักการเมือง ผู้กว้างขวาง ผู้มีอุปถัมภ์ ทำให้คณะกรรมการ และผู้บริหารโรงเรียนต่างอึดอัด จึงต้องชี้แจงนโยบายสพฐ. ทำให้ปีที่ผ่านมาเด็กฝากน้อยลง ส่วนผู้ที่ผิดหวังหากยื่นคำร้องจะศึกษาต่อก็ส่งเรื่องให้คณะกรรม การการศึกษาจังหวัดพิจารณา ซึ่งเราจะกระจายไปตามโรงเรียนคู่พัฒนา ที่มีมาตรฐานการเรียน การสอน เท่าเทียมกัน เช่น โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จะมีโรงเรียนโคราชพิทยาคม เป็นโรงเรียนคู่พัฒนา

ที่โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด วันเดียวกัน เวลา 09.00 น. นายชาตรี ชาปะวัง ผู้อำนวยการโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย เป็นประธานการจับสลากเข้าเรียนชั้นม.1 โดยให้นักเรียนล้วงลงไปในขวดโหลแก้วกลมสีขาว ที่มีตลับสีเขียว 2 ชุด ชุดแรกจะเขียนว่า "ได้" พร้อมมีลายเซ็นผู้บริหารสถานศึกษากำกับ ส่วนชุดที่ 2 "ไม่ได้" มีนักเรียนในเขตพื้นที่บริการเข้าจับสลาก 73 คน แต่โรงเรียนรับได้ 48 คน ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ท่ามกลางผู้ปกครองที่เข้าไปร่วมลุ้นกับนักเรียนด้วย แต่โรงเรียนจัดให้ผู้ปกครองนั่งอยู่ด้านหลัง

เมื่อนักเรียนขึ้นไปจับสลากบนเวที ผู้จับได้จะชูมือขึ้นพร้อมพูดดังๆ ว่า "ได้" ผู้ปกครองต่างปรบมือและสวมกอดกันอย่างดีใจ ก่อนจะไปลงทะเบียน ส่วนนักเรียนที่จับไม่ได้จะยกสลากขึ้นไม่สูงนัก พร้อมกับบอกกรรมการว่า "ไม่ได้" และเดินก้มหน้าลงเวทีไปอย่างน่าสงสาร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี มีการจับสลากเช่นเดียวกัน ซึ่งปีนี้ทางโรงเรียนรับนักเรียนเข้าเรียนต่อ 200 คน จากผู้ที่มาลงทะเบียน 343 คน บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก เนื่องจากมีนักเรียนให้ความสนใจเข้ามาศึกษา มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จ.เชียงใหม่ มีการจับสลาก โดยมีนางศรีพรรณ เวียนทอง ผอ.โรงเรียนเป็นประธาน มีผู้ปกครองนำนักเรียนที่เป็นลูกหลานมาลงทะเบียน 177 คน แต่มีนักเรียนที่จับสลากได้เพียง 54 คน เท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นโรงเรียนเพียงแห่งเดียวของนครศรีธรรมราช ที่มีการจับสลากเข้าศึกษาต่อชั้นม.1 โดยบรรยากาศตั้งแต่ในช่วงเช้า มีนักเรียนและผู้ปกครองนำพวงมาลัยและธูปเทียนไปสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพ่อท่านม่วงเกจิอาจารย์ ชื่อดัง ผู้ก่อตั้งโรงเรียนเบญจมฯ ซึ่งประดิษ ฐานอยู่ในโรงเรียน เพื่อขอพรก่อนเข้าจับสลากในหอประชุม

บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคักมีผู้ปกครองและเด็กนักเรียนมาลุ้นกว่า 1,000 คน ซึ่งคนที่จับสลากได้ก็ดีใจ ขณะที่คนที่หยิบไม่ได้บางคนถึงกับร้องไห้ด้วยความผิดหวัง ซึ่งปีนี้รับนักเรียน 380 คน แบ่งเป็นรับเด็กจากการสอบ 361 คน จับสลากเพียง 19 คนเท่านั้น

ขณะที่ผู้ปกครองของเด็กบางคนที่ผิดหวังจากการหยิบสลากระบุว่า ปีนี้ทางโรงเรียนเปิดรับนักเรียนด้วยการหยิบสลากน้อยมาก ทำให้เด็กที่เข้าเรียนจากการหยิบสลากมีโอกาสน้อย อย่างไรก็ตามการที่ทางโรงเรียนต้องการ รับเด็กนักเรียนที่สอบคัดเลือกเข้ามามากกว่า เนื่องจากเป็นเด็กที่มีความสามารถในการใช้ความรู้สอบผ่านเข้าเรียนได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook