ลูกค้าโวยผู้ส่งออกปลอมข้าวหอมมะลิ

ลูกค้าโวยผู้ส่งออกปลอมข้าวหอมมะลิ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
พาณิชย์ปวดหัวแฉผู้ตรวจสอบไก่อ่อน นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้เกิดปัญหาการผสมปลอมปนข้าวพันธุ์อื่นลงในข้าวหอมมะลิไทยเพื่อการส่งออก โดยนำพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และกข 15 และพันธุ์ข้าวหอมปทุมธานี 1 ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิไทยเข้ามาเจือปน จนทำให้ข้าวส่งออกไทยมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน และถูกท้วงติงจากผู้นำเข้า ทำให้ไทยเสียชื่อเสียงการส่งออก

แนวทางแก้ไขนอกจากมาตรการปราบปราม และลงโทษแก่ผู้กระทำผิดแล้ว อีกแนวทางหนึ่งคือจะเปิดอบรมเพิ่มพูนความรู้และฝึกอบรมแนวทางในการตรวจสอบคุณภาพที่ถูกต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมผู้กระทำผิด เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดการปลอมปน ส่วนหนึ่งมาจากผู้ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้า (เซอร์เวเยอร์) มีประสบการณ์น้อย เพราะมีผู้ตรวจสาตรฐานสินค้ารายใหม่เพิ่มมาก

นางอภิรดี กล่าวว่า การตรวจสอบ คุณภาพข้าวหอมมะลิไทยทางกายภาพ ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนส่งสินค้าออกต่างประเทศ ซึ่งผู้ที่ทำการตรวจสอบคุณภาพจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพราะหากตัดสินใจตรวจปล่อยข้าวออกไปแล้ว โดยมีการปลอมปน ก็จะกระทบกับชื่อเสียงข้าวหอมมะลิของไทย ดังนั้น ผู้ตรวจสอบคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี ถ้าตรวจพบสินค้าไม่ได้มาตรฐานจะต้องสั่งปรับปรุงหรือระงับไม่ให้มีการส่งออก เพื่อให้การกำกับดูแลมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้กรมฯ เตรียมจัดสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ ตรวจสอบคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยทางกายภาพ วันที่ 9 เม.ย.นี้ ที่กรมการค้าต่างประเทศ โดยจัดทำหลักสูตรอบรมเจ้าหน้าที่มาตรฐานสินา และเซอร์เวเยอร์ ให้มีความรู้และทักษะในการตรวจสอบคุณภาพข้าวหอม มะลิ เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าวหอมมะลิไทยที่ไม่ได้คุณภาพหลุดออกสู่ท้องตลาดและส่งออกไปขาย ต่างประเทศ

สำหรับหัวข้อที่จะใช้ในการฝึกอบรมครั้งนี้ ได้แก่ ระบบตรวจสอบคุณภาพ (คิวซี) ของผู้ส่งออก ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยในปัจจุบัน คือ การรับซื้อข้าวหอมมะลิไทยจากแหล่งผลิตต้นทาง และการส่งออกและตลาดต่างประเทศ การตรวจสอบคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยเชิงปฏิบัติการ โดยวิธีการตรวจพินิจ พิสูจน์กลิ่น และการชิม การ ต้ม และเทคนิคการย้อมสี ซึ่งคาดว่าช่วยให้เซอ เวเยอร์ได้ประโยชน์ และช่วยลดปัญหาข้าวปลอมปนในการส่งออกได้.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook