"เมจิกสกิน" ใส่อะไรให้เรากิน? ภาพตีแผ่โรงงาน เบื้องหลังอาหารเสริมชวนสะพรึง

"เมจิกสกิน" ใส่อะไรให้เรากิน? ภาพตีแผ่โรงงาน เบื้องหลังอาหารเสริมชวนสะพรึง

"เมจิกสกิน" ใส่อะไรให้เรากิน? ภาพตีแผ่โรงงาน เบื้องหลังอาหารเสริมชวนสะพรึง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณี ตำรวจนำกำลังเข้าไปตรวจค้นสถานที่หลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย เมจิกสกิน ซึ่งหนึ่งในนั้นมีโรงงานในจังหวัดปทุมธานีที่รับจ้างผลิตสินค้าให้กับทาง บริษัท เมจิก สกิน จำกัด ซึ่งผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว 3 ระบุว่า กระบวนการผลิตสินค้า ของบริษัทนี้ เป็นการทำด้วยมือ ที่ทำขึ้นเองไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีการรับรอง ส่วนสูตรที่ผสมในผลิตภัณฑ์เป็นการคิดค้นขึ้นเอง

>> ค้นโรงงาน "เมจิกสกิน"  ตร.พบกระบวนการผลิต เป็นการทำมือไม่ผ่านมาตรฐาน

ล่าสุด โลกออนไลน์แชร์ภาพจากเฟซบุ๊ก ดอกจิก v.3 ซึ่งเป็นเพจที่ตีแผ่เรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง พบว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่หลายคนคุ้นเคย และเคยรับประทานในรูปแบบผงสีเหลือง-สีชมพู นำไปชงน้ำดื่ม ถูกบรรจุอย่างง่ายๆ ในถุงพลาสติก ที่ดูแล้วทั้งไม่ได้มาตรฐาน สกปรกและอันตราย 

พล.ต.ต.อังกูร คล้ายคลึง ผบก.3 บช.ทท. เผยว่า จากการตรวจค้น ตำรวจยังพบวัตถุคล้ายปุ๋ย บรรจุลงขวดพลาสติก ข้างฉลากระบุว่า ผลิตที่โรงงานแห่งนี้ จึงต้องตรวจสอบว่าขออนุญาตผลิตถูกต้องหรือไม่ โรงงานที่ผลิตอาหารเสริมและยังจะผลิตปุ๋ยควบคู่ไปด้วยนั้น สามารถทำได้ถ้าขออนุญาตและได้รับอนุญาต แต่ขั้นตอนและเครื่องจักรจะต้องแยกกัน ตามปกติแล้วของกินกับปุ๋ยส่วนใหญ่เขาไม่ผลิตรวมกันอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนจาก ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม หรือเครื่องสำอาง หรือธุรกิจขายตรง และอื่นๆ สามารถร้องทุกข์ได้ที่กองปราบหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ล่าสุด นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยถึงการดำเนินการทางกฎหมายกับบริษัท เมจิก สกิน จำกัด ว่า จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง ที่ผลิตโดยบริษัทดังกล่าว ไม่พบข้อมูลของบริษัท เมจิก สกิน จำกัด และนางวรรณภา พวงสน เกี่ยวกับการขออนุญาตผลิตอาหาร นอกจากนี้ยังพบผลิตภัณฑ์อาหาร อีก 3 รายการ ได้แก่ SNOW Milk, Fit Yoksod และ Slim milk ผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง

ส่วนของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางภายใต้ผู้จดแจ้ง ชื่อ นางวรรณภา จากการตรวจสอบสถานที่ผลิตตามที่ได้จดแจ้งไว้ พบว่าไม่มีสภาพการผลิตและไม่พบเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมทั้งสารเคมีและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตเครื่องสำอางแต่อย่างใด ดังนั้น เครื่องสำอาง 227 รายการ จึงเป็นเครื่องสำอางที่ผลิตไม่ตรงตามที่ได้จดแจ้งไว้ และผลิตภัณฑ์ จำนวน 41 ราย ไม่ได้ทำการผลิตเครื่องสำอาง ดังนั้น จึงถือได้ว่าเครื่องสำอางที่ตรวจพบผลิตจากสถานที่ที่ไม่ตรงตามที่ได้จดแจ้งไว้ด้วยเช่นกัน

นพ.วันชัย เลขาธิการฯ อย. กล่าวอีกว่า อย. ได้ปฏิบัติงานตรวจสอบดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้ประชาชนได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์และผู้จำหน่ายโดนหลอกลวงอีกต่อไป พร้อมทั้ง ย้ำเตือนผู้ประกอบการอย่าได้ลักลอบผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางโดยผิดกฎหมาย

อัลบั้มภาพ 13 ภาพ

อัลบั้มภาพ 13 ภาพ ของ "เมจิกสกิน" ใส่อะไรให้เรากิน? ภาพตีแผ่โรงงาน เบื้องหลังอาหารเสริมชวนสะพรึง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook