ชาวเน็ตจีนชมเปาะ โรงเรียนชนบทโพสต์ข้อมูลมื้ออาหารละเอียดยิบ

ชาวเน็ตจีนชมเปาะ โรงเรียนชนบทโพสต์ข้อมูลมื้ออาหารละเอียดยิบ

ชาวเน็ตจีนชมเปาะ โรงเรียนชนบทโพสต์ข้อมูลมื้ออาหารละเอียดยิบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โปร่งใส! ชาวเน็ตจีนชื่นชมโรงเรียน 3 แห่งในชนบท โพสต์ข้อมูลมื้ออาหารละเอียดยิบ

สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวโรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่งในชนบทที่โพสต์รูปถ่ายและข้อมูลอาหารกลางวันของโรงเรียนลงบนเวยป๋อ โซเชียลมีเดียรูปแบบหนึ่งของจีน ทำให้ได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวางจากบรรดาชาวเน็ต

โรงเรียนแห่งหนึ่งอยู่ในอำเภอเต๋อชาง มณฑลเสฉวน อีกแห่งอยู่ในอำเภอเหวินชาง มณฑลยูนนาน ส่วนแห่งสุดท้ายอยู่ในอำเภอเฮ่อเฟิง มณฑลหูเป่ย

โพสต์ดังกล่าวไม่ได้บอกเพียงแค่เมนูอาหารเท่านั้น แต่ยังมีข้อมูลของจำนวนนักเรียนและครูที่รับประทานอาหารมื้อนี้ ปริมาณอาหาร และค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละมื้อด้วย

พวกเขาเริ่มโพสต์ข้อมูลพร้อมรูปถ่ายเช่นนี้มาตั้งแต่ปี 2011 และแม้ว่าช่วงแรกจะไม่มีผู้มากดไลก์ กดแชร์ หรือคอมเมนต์เลยก็ตาม แต่ทางโรงเรียนทั้งสามแห่งก็ยังคงโพสต์ข้อมูลเช่นนี้มาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน กระทั่งในที่สุดความพยายามของพวกเขาก็กลายเป็นรายงานข่าว ได้รับยอดไลก์และความคิดเห็นที่อบอุ่นมากมาย

ในช่วงเวลาเดียวกัน โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในมณฑลเหอหนาน ทางตอนกลางของประเทศจีน กลับเผชิญหน้ากับการโจมตีทางออนไลน์ หลังจากมีรายงานว่าโรงเรียนได้จัดอาหารกลางวันให้เด็กๆ เป็นก๋วยเตี๋ยวแห้งเพียงครึ่งชามเท่านั้น ซึ่งไม่ผ่านมาตรฐานด้านโภชนาการที่กำหนดไว้โดยหน่วยงานด้านการศึกษาท้องถิ่นด้วยซ้ำ

และเมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่ผ่านมา ก็มีคลิปวิดีโอของบรรดานักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ในอำเภอซางสุ่ย มณฑลเหอหนาน ที่ถูกเผยแพร่ไปทั่วเวยป๋อ ในคลิปแสดงให้เห็นภาพของเหล่านักเรียนที่ต้องต่อคิวเข้าแถวรับก๋วยเตี๋ยวแห้งเพียงครึ่งชามจากโรงอาหารของคนงาน

คลิปที่ถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน และในวันที่ 13 กันยายน หน่วยงานด้านการศึกษาของท้องถิ่นก็ได้ตัดสินใจไล่ครูใหญ่ของโรงเรียนออก และส่งผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเข้าไปดูแลโรงเรียน

ประเทศจีนได้ตั้งเป้าที่จะพัฒนาสุขภาพของเด็กๆ ในชนบทมาตั้งแต่ปี 2011 พร้อมเปิดตัวแผนงานขนาดใหญ่ที่ใช้งบประมาณกว่า 1.6 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 7.6 แสนล้านบาท) ต่อปี เพื่อให้เด็กๆกลุ่มนี้ ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook