โพลชี้คนกรุงนิสัยชอบโอ่!ไม่พอเพียง-ขาดความนับถือผู้ใหญ่

โพลชี้คนกรุงนิสัยชอบโอ่!ไม่พอเพียง-ขาดความนับถือผู้ใหญ่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลเผยคนกรุงไม่เชื่อสุภาษิตไทยตนเป็นที่พึ่งแห่งตน-มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาทแถมมีนิสัยชอบโอ่ ขาดความนับถือผู้ใหญ่ เมื่อวันที่10 มิถุนายน ดร.อภิชัยอภิชาตบุตร นักวิจัยอาวุโส ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ร่วมกับ รศ.ดร.สรชัยพิศาลบุตร จัดทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ ที่มีต่อความเชื่อในสุภาษิตที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยทุกๆ 3 เดือนซึ่งได้สำรวจเมื่อวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2552 โดยสอบถามชาวกรุงเทพฯจำนวน 1,074 คนคนกระจายไปตามเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา สรุปผลที่สำคัญได้ว่า ปัจจุบันความเชื่อในสุภาษิตไทย เพิ่มขึ้น 0.53% เมื่อเทียบกับปี2551 เมื่อเจาะลึกความเชื่อเรื่องอย่าจับปลาสองมือ ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ไม้อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยาก รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก อดเปรี้ยวไว้กินหวาน กันไว้ดีกว่าแก้ และ อย่าหวังน้ำบ่อหน้า องชาวกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นโดยเชื่อสุภาษิต อย่าจับปลาสองมือ เพิ่มขึ้นถึง 4% และ ช้าๆได้พร้าเล่มงาม เพิ่มขึ้น 1.59% ในขณะที่ความเชื่อเรื่องตนเป็นที่พึ่งแห่งตน มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด และ แข่งเรือแข่งพายแข่งได้แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ ลดลงกว่าที่ผ่านมา จากข้อมูลอธิบายได้ว่าความเชื่อต่อสุภาษิต เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด และ แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ ลดลงเท่ากัน 1.36% สะท้อนว่าสังคมคนกรุงเทพฯให้ความสำคัญกับผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุในด้านความรู้และประสบการณ์น้อยกว่าเดิม และให้ความสำคัญกับการออมน้อยลง เนื่องจากเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย ดร.อภิชัยกล่าว ด้านนายวัฒนะบุญจับ นักวิชาการสำนักภาษาและวรรณกรรม กรมศิลปากร กล่าวว่า จุดที่น่าสังเกตระหว่างกลุ่มของสุภาษิตที่มีคนเชื่อเพิ่มขึ้นกับเชื่อน้อยลงขัดแย้งกัน หมายความว่าคนกทม.สับสนในความคิดขงตัวเอง ทำอะไรตามแต่ใจตัวเองเป็นหลัก นายวัฒนะกล่าวต่อไป นอกจากนี้ยังเชื่อน้อยลงในสุภาษิตที่ว่า คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก หมายความว่า คนกรุงเทพฯ เดี๋ยวนี้เน้นอวดโอ่ทางวัตถุนิยม เพราะเห็นว่าคับที่ไม่ควรจะอยู่ได้ และยังเป็นคนไม่อดทนเสียอีก เพราะลองคับใจแล้วจะไม่ยอมอยู่ จากปัจจัยที่ชอบทำอะไรตามแต่ใจอยากได้อยู่เป็นพื้นที่ จึงไม่น่าแปลกใจอะไรเลยที่สุภาษิตอะไรก็ตามที่ทำให้รู้จัก พอเพียง ล้วนไม่เข้านิสัยคนของกรุงเทพมหานครทั้งหมดเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง มหัศจรรย์สับปะรด เพชรบุรี สุดวิเศษไม่ต้องปอกเปลือก ชงวธ.หนุนซีเรียสเกมสอนเด็กรู้จักวิชาชีพ-พอเพียง ทีวีหรรษา (พฤหัสบดีที่ 11 มิ.ย.52) รถเมล์มหาภัย ธีระเร่งใช้มิติวัฒนธรรมสร้างสันติสุขดับไฟใต้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook