คนสตูลฮือฮา พบซากดึกดำบรรพ์อายุ 550 ล้านปี โผล่ในถ้ำพระนอน

คนสตูลฮือฮา พบซากดึกดำบรรพ์อายุ 550 ล้านปี โผล่ในถ้ำพระนอน

คนสตูลฮือฮา พบซากดึกดำบรรพ์อายุ 550 ล้านปี โผล่ในถ้ำพระนอน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชาวบ้านสตูลพากันฮือฮา พบซากดึกดำบรรพ์หอยกาบคู่และหอยกาบเดี่ยว คาดอายุไม่ต่ำกว่า 550 ล้านปี ปรากฏอยู่ภายในถ้ำพระนอน จ.สตูล

ชาวบ้านในพื้นที่วัดถ้ำเขาจีน หมู่ที่ 2 ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จ.สตูล โดยมี น้องๆ นักเรียน โรงเรียนบ้านเขาจีน ต่างมุงดูเศษซากหอยโบราณที่ติดบนโขดหินภายในถ้ำใกล้ กับเศียรพระนอนภายในถ้ำวันเขาจีน หมู่ที่ 1 บ้านเขาจีน ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล พบว่าลักษณะเป็นเศษหอยจำนวนมากเกาะติดแน่นเป็นก้อนใหญ่ข้างเศียรพระนอนภายในถ้ำพระนอน

โดยข้อมูลระบุว่า หอยกาบคู่ที่กรมทรัพยากรธรณี (2560) หอยชนิดนี้เกิดขึ้นในยุคแคมเบรียนประมาณอายุ 550 ล้านปี ทำให้ชาวบ้านที่เดินทางไปกราบไหว้บูชาในวันนี้ ต่างตื่นเต้น และสงสัยได้มุงดูกันเยอะเลยทีเดียว ซึ่งการพบหอยกาบคู่และหอยกาบเดี่ยวในครั้งพบถึง 4 จุดในเขาแห่งนี้

news04-1

นอกจากนี้ ทีมข่าวได้ลงพื้นที่หลังจากได้รับแจ้งจากแหล่งข่าว ต้องตะลึงเมื่อไปถึงเห็นชาวบ้านและเด็กๆนักเรียนต่างมุ่งดูบางคนถ่ายรูปเก็บเอาไว้ ซึ่งทางทีมข่าวสอบถามติดต่อไปยัง อาจารย์พงศ์จักรกฤษณ์ สิทธิบุศย์ ผู้ทรงคุณวุฒิอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าจังหวัดสตูล อาจารย์พิเศษวิทยาลัยชุมชนสตูล ลงไปดูและเปิดเผยว่า นี่คือลักษณะประเภทของซากดึกดำบรรพ์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เรียกว่า ในไฟลัมมอลสัสกา เป็นซากดึกดำบรรพ์ตั่งแต่ยุคแคมเบรียนจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ หอยกาบคู่ (Bivalvia) และหอยกาบเดี่ยว (Gastropoda) ซึ่งเป็นสภาพหอยกาบคู่และกาบเดี่ยวอัดแน่นอยู่ชั้นหินทราย ภายในถ้ำพระนอน

ทั้งนี้ อาจารย์พงศ์จักรกฤษณ์ กล่าวว่า ซึ่งประวัติศาสตร์ที่เคยศึกษาวัดถ้ำเขาจีนแห่งนี้ พบว่าลักษณะของแหล่งเป็นถ้ำภูเขาหินปูนสีเทาถึงสีดำยุคออร์โดวิเชียรที่หยุดพัฒนาแล้ว ปากถ้ำมีขนาดกว้าง 4 เมตร ตั้งอยู่ตีนหน้าผาสูงกว่าถ้ำพระนอนที่ระดับความสูง 24 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เกิดจากการกัดเซาะโดยน้ำทะเลที่เคยขึ้นสูง เมื่อประมาณ 5,000 – 6,000 ปีก่อน ซึ่งคาดว่าเขาจีนแห่งนี้เคยเป็นเกาะขนาดเล็ก

อาจารย์พงศ์จักรกฤษณ์ กล่าวอีกว่า อยากให้จังหวัดสตูลที่ผู้รู้ผู้มีเชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ได้ลงมาตรวจสอบอีกครั้ง และอยากให้วัดถ้ำเขาจีนแห่งนี้เป็นหนึ่งศูนย์เรียนรู้การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook