ดีเดย์ 29 ก.ค.นั่งฟรีรถไฟฟ้าช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ รวม 5 สถานี

ดีเดย์ 29 ก.ค.นั่งฟรีรถไฟฟ้าช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ รวม 5 สถานี

ดีเดย์ 29 ก.ค.นั่งฟรีรถไฟฟ้าช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ รวม 5 สถานี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รฟม.เตรียมเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ 29 ก.ค. นี้ ใช้ฟรี 5 สถานียาว 3 เดือน เผยสถานีสนามไชยสวยสุด ใครอยากถ่ายรูปของดขาตั้งกล้อง

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) และ นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM นำคณะผู้บริหารแถลงข่าวการทดลองเดินรถไฟฟ้า โครงการสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่ชั้นจำหน่ายตั๋ว สถานีสนามไชย พร้อมนำคณะผู้บริหารและสื่อมวลชนร่วมทดลองนั่งรถไฟฟ้า ไป-กลับ จากสถานีสนามไชย ไปยังสถานีท่าพระ

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการ รฟม. ระบุว่า การเปิดให้ประชาชนทดลองใช้รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายนี้ก็ถือว่าเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาส พระราชพิธีราชาภิเษกของในหลวงรัชกาลที่ 10 โดยช่วงแรกจะเปิดให้ทดลองใช้ทั้งหมด 5 สถานีโดยไม่เก็บค่าบริการ และถ้าหากผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจก็จะมีการขยายการให้บริการไปจนถึงสถานีหลักสอง

สำหรับการเปิดให้ประชาชนทดลองโดยสารฟรี ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคมไปจนถึงวันที่ 28 กันยายน 2562 ในช่วงแรกจะเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00 น. โดยให้บริการแบบวิ่งไปกลับจากสถานีหัวลำโพงถึงสถานีท่าพระ มีรถไฟฟ้าให้บริการทั้งหมด 3 ขบวนระยะห่างระหว่างขบวนประมาณ 8 นาที

สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางจากสถานีเตาปูนมาจนถึงสถานีหัวลำโพงและต้องการจะเดินทางต่อมายังส่วนต่อขยายที่มีการทดลองเปิดให้บริการจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าที่สถานีหัวลำโพง

ซึ่งการที่มีการเปิดให้บริการ 5 สถานีและสาเหตุการให้บริการจากสายสีน้ำเงินเดิมเพราะเนื่องจากต้องการทดสอบระบบเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบอาณัติสัญญาณจะไม่ขัดข้องกับระบบสัญญาณเดิม และเมื่อถึงวันที่ 29 กันยายนเชื่อว่าระบบทั้งหมดจะสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบและประชาชนไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนขบวนที่สถานีหัวลำโพงอีก

ทั้งนี้ หากผู้โดยสารจากสถานีส่วนต่อขยายจะเดินทางมายังรถไฟฟ้าของ MRT จะมีการคิดค่าโดยสารตามปกติโดยสายสีน้ำเงินสถานีแรกอัตรา 16 บาทและสูงสุดอยู่ที่ 42 บาท ขณะที่หากผู้โดยสารต้องการจะเดินทางจากส่วนต่อขยายไปยังสายสีม่วงจะมีค่าโดยสารอัตราสูงสุดอยู่ที่ 70 บาท และผู้โดยสารจะอยู่ในระบบรถไฟฟ้าได้ไม่เกิน 180 นาที หรือเป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งการออกตั๋วโดยสารและการใช้ระบบรถไฟฟ้าเป็นไปตามเงื่อนไขที่ BM กำหนด และบัตรรถไฟฟ้าแบบเติมเงินก็สามารถที่จะแตะเข้าระบบได้ทันที

สำหรับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย เป็นสถานีรถไฟฟ้าที่สวยที่สุด โดยออกแบบให้เหมือนกับพระราชวังในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ขณะที่สถานีอิสรภาพเป็นสถานีรถไฟใต้ดินแห่งแรกในฝั่งธน โดยรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายสถานีหัวลำโพงถึงสถานีหลักสองมีระยะทาง 14 กิโลเมตร แบ่งเป็น สถานียกระดับทั้งหมด 7 สถานีและ 4 สถานีรถไฟใต้ดิน ที่ตกแต่งสวยงามและมีความโดดเด่น ไปสถานีสามยอดเป็นสถานีที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีต ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ต่างๆ ด้วยภาพเก่าตั้งแต่สมัย ร.5 รวมทั้งใกล้ย่านพาหุรัด เมกาพลาซ่า สำหรับในจุดนี้เป็นจุดที่มีการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา แล้วในไตรมาสที่ 1 ปี 2563 จะเปิดให้บริการสถานีรถไฟฟ้าเตาปูนถึงสถานีท่าพระซึ่งเป็นสถานียกระดับ 8 สถานี

นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการ รฟม. ความร่วมมือพี่น้องประชาชนที่จะเข้ามาเก็บภาพสถานีรถไฟฟ้าที่มีการตกแต่งและประดับให้สวยงามสามารถใช้กล้องระดับมืออาชีพหรือกล้องมือถือได้แต่งดใช้ขาตั้งกล้องรวมถึงงดสร้างความไม่สะดวกให้กับผู้โดยสารอื่นๆรวมถึงงดการสัมผัสวัสดุตกแต่งสถานีโดยตรง

ทั้งนี้ ขอความกรุณางดการถ่ายภาพภายในสถานีเพื่อการค้าอื่นๆ ซึ่งหากต้องการที่จะถ่ายภาพเพื่อการค้า ขอความกรุณาแจ้งทาง BEM ก่อน เพื่อให้ดำเนินการต่อไป

สำหรับการประเมินผู้โดยสารในส่วนต่อขยายที่จะเปิดให้บริการ เฉพาะส่วนต่อขยายจะมีผู้โดยสารประมาณ 4 แสนคนและสายสีน้ำเงินเดิมก็จะมีผู้โดยสารอีกประมาณ 4 แสนคน และเชื่อว่าผู้โดยสารอาจต้องมีการปรับตัวสักระยะหนึ่งเพื่อให้ชินกับการคุ้นเคยกับใช้ระบบรถไฟฟ้าในการเดินทาง ซึ่งในเวลาปกติอาจต้องใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปีในการปรับตัวของผู้โดยสาร เพราะฉะนั้นในช่วงแรกขอให้ทุกฝ่ายไม่ต้องกังวลหากผู้โดยสารน้อย สำหรับจำนวนผู้โดยสารที่จะเข้ามาใช้บริการในช่วงเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้า BTS บางหว้า มายัง สถานีบางหว้าของ MRT เชื่อว่าจะมีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการเพิ่มมากขึ้นอีก

สำหรับปัจจุบัน บัตรโดยสารร่วมระหว่างระบบขนส่งมวลชนทางรางต่างๆ กำลังอยู่ในขั้นตอนที่คัดเลือกสถาบันทางการเงินเข้ามาเป็นตัวกลางในการจัดสรรอัตราค่าโดยสารและแบ่งค่าโดยสารให้กับผู้ให้บริการรายต่างๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook