สทน.จัดประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 พร้อมเปิดตัวนักวิทย์ฯนิวเคลียร์ปร

สทน.จัดประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 พร้อมเปิดตัวนักวิทย์ฯนิวเคลียร์ปร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ จัดประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 พร้อมเปิดตัวนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ดีเด่นและดาวรุ่งประจำปีนี้ ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ได้จัดการประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 ภายใต้หัวข้อ " เทคโนโลยีนิวเคลียร์สู่สังคมไทย ระหว่างวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2552 ที่หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในประเทศไทยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ อาทิ ฟิสิกซ์ เคมี การแพทย์ โดยงานนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดและทรงบรรยายพิเศษให้กับนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และผู้เข้าร่วมสัมมนาจากทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้เชิญนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ระดับชาติ อย่าง ดร.ซูอิโอะ มาชิ (Sueo Machi) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีรังสีจากประเทศญี่ปุ่น ด้านการค้นคว้าเทคโนโลยีรังสีมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดตัวนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ดีเด่น คือ นางอรุณี วงศ์ปิยะสถิต อาจารย์จากภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากผลงานวิจัยพัฒนาพันธุ์พืชชนิดใหม่ และเปิดตัวนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ดาวรุ่ง คือ ผศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีความสามารถในการศึกษาวิจัยพลังงานรูปแบบใหม่มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ผศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ร่วมกับฝรั่งเศสศึกษาวิจัยเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิชชั่นรูปแบบใหม่ ที่ให้พลังงานที่สูงและปลอดภัยกว่า เพื่อเป็นองค์ความรู้พัฒนาเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยในอนาคต คาดว่าจะได้ประโยชน์ในการให้พลังงานนิวเคลียร์ที่ใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่า ไม่เสี่ยงต่อการระเบิด และให้พลังงานที่สูงกว่า โดยจะใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ที่ได้จากน้ำทะเลมาผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ จะไม่มีปัญหาเรื่อง และระเบิด เพราะถ้ามีรอยรั่วปฏิกิริยาจะหยุดทำงานทันที
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook