ผู้ไม่สูบบุหรี่หลายแสนคน ต้องเสียชีวิตในแต่ละปี ด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง

ผู้ไม่สูบบุหรี่หลายแสนคน ต้องเสียชีวิตในแต่ละปี ด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 เผยคนไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิตในแต่ละปี ด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง นายแพทย์สมชาย ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา เปิดเผยว่า ขณะนี้ทั่วโลกมีผู้สูบบุหรี่ จำนวน 1,300 ล้านคน ในจำนวนนี้ 500 ล้านคน เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ ส่วนประเทศไทยบุหรี่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมการเกิดโรคอันดับที่ 3 รองจากพฤติกรรมทางเพศ (เอดส์) และสุรา และที่น่าตกใจมากกว่า คือ คนไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิตในแต่ละปี ด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยควันบุหรี่มือสอง เกิดขึ้นทันทีที่บุหรี่ถูกจุดขึ้น การเผาไหม้ของมวนบุหรี่ ทำให้เกิดสารเคมีที่เป็นพิษส่งผ่านมายังผู้ไม่สูบบุหรี่ ที่อยู่ในบริเวณเดียวกน ในรูปของควันบุหรี่ ทั้งที่เป็นควันบุหรี่ที่ผู้สูบพ่นออกมา และควันที่ออกมาจากตอนปลายของมวนบุหรี่ อาจได้รับจากการสูบบุหรี่ของบุคคลใกล้ชิด เช่น พ่อสูบ อาจทำให้ลูกและภรรยา ได้รับอันตรายไปด้วย ทั้งนี้ อันตรายที่เกิดจากควันบุหรี่คือในบุหรี่ 1 มวน เมื่อมีการเผาไหม้จะทำให้เกิดสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด มี 60 ชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง เช่น สารนิโคติน เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการเสพติดสูงมาก เมื่อสูบบุหรี่สารนิโคตินจะเข้าสู่สมองภายใน 7 วินาที หากได้รับสารนิโคติน 60 มิลลิกรัมในครั้งเดียว จะเสียชีวิตทันที เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาต และสารทาร์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่อยู่ในบุหรี่ จะไปจับอยู่ที่ปอด ทำให้เซลล์ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติ เมื่อรวมตัวกับฝุ่นที่สูดเข้าไป แล้วจะขังอยู่ใถุงลมของปอด ทำให้เกิดการระคายเคืองอันเป็นสาเหตุของการไอ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด และถุงลมโป่งพองได้ นอกจากนี้ยังมีฟอร์มาลีน ที่ใช้ในการดองศพ สารไซยาไนด์ซึ่งเป็นสารพิษในยาเบื่อหนู และสารตัวอื่นๆอีกที่ล้วนแต่มีอันตรายต่อร่างกายทั้งสิ้น บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดตัวแรกที่อาจจะนำไปสู่สิ่งเสพติดที่ร้ายแรงตัวอื่นได้ ดังนั้นผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ อย่าไปลอง โดยเฉพาะเยาวชนไทย อาจทำให้เสียอนาคตได้ ส่วนใครที่ติดแล้วคิดอยากจะเลิก สามารถขอคำปรึกษาได้ที่คลินิกอดบุหรี่ของโรงพยาบาลทุกแห่ง ในเวลาราชการ (จันทร์ถึงศุกร์ 8.30 16.30 น. ) หรือ ขอคำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่ที่สายด่วน 1600
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook