สัมพันธ์มะกัน-ไต้หวัน

สัมพันธ์มะกัน-ไต้หวัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ความสัมพันธ์ระหว่างไทเปกับวอชิงตัน อบอุ่นขึ้นอีกหลายองศา และถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ เมื่อทูตพิเศษของสหรัฐสตีเฟน ยัง ประกาศเปิดตัวพื้นที่ชานเมืองหลวงของไต้หวัน ซึ่งจะใช้ก่อสร้าง สถานทูตสหรัฐ มูลค่า 170 ล้านดอลลาร์

สถาบันอเมริกันในไต้หวัน (เอ ไอที) ซึ่งเป็นตัวแทนด้านผลประโยชน์ ของสหรัฐในไต้หวัน นับตั้งแต่วอชิงตันได้เปลี่ยนการรับรองทางการทูตอย่างเป็นทางการจากไทเปเป็นปักกิ่งเมื่อปี 2522 บอกว่า บริเวณสำนักงานจะมีส่วนซึ่งเป็นที่พักของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงรวมอยู่ด้วย

การออกแบบดังกล่าวก่อให้เกิดการคาดเดาว่า อาจเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปีที่สหรัฐจะส่งนาวิกโยธินไปที่เกาะแห่งนี้ เพื่อปกป้องอาคารที่ทำการดังกล่าว ซึ่งทางเอไอทีไม่อุบเงียบเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่โจเซฟ วู อดีตทูต (โดยพฤตินัย) ของไต้หวันประจำกรุงวอชิงตันกล่าวว่า หากเรื่องนี้เป็นความจริง ก็ ต้องถือว่าความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคีดีขึ้น และว่าระยะหลัง ๆ มานี้วอชิงตันก็ผ่อนคลายไปเยอะ ในการเยือนสหรัฐของนายทหารไต้หวัน

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงออกให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า วอชิงตันให้ความสนใจกับไต้หวัน มีขึ้นท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นอย่างรวด เร็ว ระหว่างไต้หวันและจีน

ปรับตำแหน่ง ประธา นาธิบดีหม่า อิง-จิว ของไต้หวันได้ตัดทิ้งโดยสิ้นเชิง นโยบายของผู้นำก่อนหน้าเขาในการเรียกร้องเอกราชให้กับประชากร 23 ล้านคนของไต้หวัน โดยเลือกที่จะมีสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ใกล้ชิดกับปักกิ่งแทน จนก่อให้เกิดคำถามว่าที่สุดแล้ววอชิงตันจะ มิกลายเป็นส่วนเกินในสัมพันธ์ 3 เส้า ไทเป-ปักกิ่ง-วอชิงตัน ที่มีมายาวนานหรือ

จีนยืนกรานมาโดยตลอดว่า ไต้หวันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน และขู่ที่จะโจมตีเกาะที่ปกครองตนเองแห่งนี้ หากพยายามเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวออกไปอย่างถาวร และวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐที่ให้การสนับสนุนด้านการทหารต่อไต้หวัน

ในสุนทรพจน์ของสตีเฟน ยัง ผู้อำนวยการเอไอที เขาได้เน้นถึงคุณค่าร่วมกันระหว่างสหรัฐและไต้หวัน ในขณะเดียวกันก็เลี่ยงที่จะตอบคำถามที่ละเอียดอ่อนกรณีสหรัฐให้การหนุนหลังด้านความมั่นคงต่อไต้หวัน ในขณะที่ซู ชิ ประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติของไต้หวัน ได้กล่าวพาดพิงถึงความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับทวิภาคี แต่ก็ไม่ได้เจาะลึกลงไปในรายละเอียด

ซูกล่าวว่าอาคารที่มีแผนจะก่อสร้างขึ้นมานี้เป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นสัมพันธภาพระยะยาวครั้งใหม่ระหว่างไต้หวันและ สหรัฐ มีเสาหลักที่มั่นคงอยู่ 3 หลักในความสัมพันธ์สหรัฐและไต้หวันซประชาธิปไตย ความมั่นคงและเศรษฐกิจ ซึ่งถูกค้ำยันไว้ด้วยฐาน ของความเชื่อถือซึ่งกันและกัน

ภายใต้กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์กับไต้หวัน สหรัฐจะต้องจัดหาอาวุธให้กับไต้หวันเพื่อป้องกันตัว แต่ดูเหมือนจะจงใจให้เกิดความคลุมเครือ ว่าสหรัฐจะส่งกำลังทหารไปช่วยเหลือไต้หวันปัดเป่าการโจมตีจากจีนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อจีนยิงขีปนาวุธ เป็นเชิงขู่ในช่วงก่อนถึงการเลือกตั้งประธานา ธิบดีโดยตรงครั้งแรกในปี 2539 นั้น สหรัฐ ได้ส่งเรือบรรทุกเครื่องบินรบอย่างน้อย 2 กลุ่ม ไปยังพื้นที่ดังกล่าว

ซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังความสัมพันธ์อเมริกา-ไต้หวัน คือความสำคัญยิ่งยวดของสัมพันธภาพจีน-มะกันนั่นก็คือ วอชิงตัน ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากจีนในทุก ๆ เรื่อง ตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจโลก ไปจนถึงการคุกคามด้วยนิวเคลียร์ของโสมแดง รวมถึงความ เป็นไปได้ที่จะเกิดผลกระทบ ในการสนับสนุนของสหรัฐต่อเอกราช โดยพฤตินัยของไต้หวัน.

เลนซ์ซูม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook