รัสเซียแฉ สหรัฐฯ ไฟเขียวเงินทุนพัฒนานิวเคลียร์ ตั้งแต่ยังไม่ถอนตัวจากสนธิสัญญา

รัสเซียแฉ สหรัฐฯ ไฟเขียวเงินทุนพัฒนานิวเคลียร์ ตั้งแต่ยังไม่ถอนตัวจากสนธิสัญญา

รัสเซียแฉ สหรัฐฯ ไฟเขียวเงินทุนพัฒนานิวเคลียร์ ตั้งแต่ยังไม่ถอนตัวจากสนธิสัญญา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันอาทิตย์ (18 ส.ค.) เซอร์เกย์ ชอยกู (Sergei Shoigu) รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของรัสเซีย แถลงว่าสหรัฐฯ ได้อนุมัติเงินทุนสำหรับพัฒนาขีปนาวุธพิสัยสั้นและพิสัยกลาง ตั้งแต่ก่อนที่สหรัฐฯ จะตัดสินใจถอนตัวจากสนธิสัญญากำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง (INF Treaty)

สำนักข่าวสปุตนิก (Sputnik) อ้างอิงข้อความของชอยกูซึ่งระบุว่า สหรัฐฯ ได้จัดสรรกองทุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาขีปนาวุธซึ่งขัดต่อหลักข้อตกลง ตั้งแต่ 8 เดือน ก่อนจะตัดสินใจถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าว

ชอยกูกล่าวว่ารัสเซียยังคงเปิดกว้างในการพูดคุยกับสหรัฐฯ ในประเด็นนี้ และจะไม่ตอบโต้คืนในแบบเดียวกัน จนกว่าสหรัฐฯ จะนำขีปนาวุธดังกล่าวไปติดตั้งในยุโรปและเอเชีย

วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย กล่าวในแถลงการณ์ก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคมว่า ขีปนาวุธที่รัสเซียมีอยู่สามารถที่จะรับมือกับภัยต่อความมั่นคงของชาติอันเกิดมาจากการยุติสนธิสัญญานิวเคลียร์ฉบับนี้ได้

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2019 ไมก์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ แถลงว่าสหรัฐฯ จะระงับการปฏิบัติตามสนธิสัญญาทวิภาคีฉบับสำคัญกับรัสเซียซึ่งควบคุมการใช้อาวุธนิวเคลียร์ไว้ก่อน และจะขอถอนตัวอย่างเป็นทางการภายใน 6 เดือน หากรัสเซียไม่ยุติการละเมิดข้อตกลงดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2019 สหรัฐฯ จึงถอนตัวจากสนธิสัญญาฉบับดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

ในวันเดียวกัน มาร์ก เอสเพอร์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ แถลงว่าหลังจากถอนตัวจากข้อตกลง สหรัฐฯ จะพัฒนาขีปนาวุธประเภทยิงจากภาคพื้นดินตามแบบปกติ โดยก่อนหน้านี้ในปี 2017 สหรัฐฯ ได้เริ่มดำเนินการวิจัยและพัฒนาสำหรับขีปนาวุธประเภทดังกล่าวไปแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook