หนุ่มเวียดนามชอบกินชานมไข่มุกผ่าตัดพบก้อนแป้งอุดลำไส้ หมอชี้เป็นก้อนอุจจาระอัดแน่น

หนุ่มเวียดนามชอบกินชานมไข่มุกผ่าตัดพบก้อนแป้งอุดลำไส้ หมอชี้เป็นก้อนอุจจาระอัดแน่น

หนุ่มเวียดนามชอบกินชานมไข่มุกผ่าตัดพบก้อนแป้งอุดลำไส้ หมอชี้เป็นก้อนอุจจาระอัดแน่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อีกแล้ว! หนุ่มเวียดนามปวดท้อง 20 วัน หมอผ่าเจอก้อนแป้งอุดลำไส้ คนป่วยรับดื่ม “ชานมไข่มุก” แทนอาหาร 3 มื้อ ด้านแพทย์ไทยชี้! ไข่มุกไม่น่าทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้ได้ ยกเว้นผู้ที่ทานมีโรคที่ผิดปกติอยู่

สำนักข่าวเวียดนามรายงานว่า มีชายเวียดนาม วัย 20 ปี หลังปวดท้องรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งแพทย์พบการอุดตันของอาหารในลำไส้  เมื่อผ่าออกก็เจอก้อนแป้งมันสำปะหลังสีเขียวดำขนาดใหญ่ 2 ก้อน จึงสอบถามผู้ป่วยในเวลาต่อมา และทราบว่าชายคนดังกล่าวเคยทำงานที่ร้านขาย ชานมไข่มุก เลยเลือกดื่มชานมไข่มุกแทนเครื่องดื่มอื่นๆ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นดื่มชานมไข่มุกแค่อย่างเดียวแทนอาหารทั้ง 3 มื้อ

รายงานเผยอีกว่า ชายคนดังกล่าวเริ่มปวดท้องตั้งแต่กลางเดือนก.ค.ที่ผ่านมา และปวดมานาน 20 วัน ก่อนอาการจะทรุดลงจนไม่อาจทนต่อไปได้ ครอบครัวเลยตัดสินใจพาไปโรงพยาบาลในวันที่ 19 ส.ค.

หลังการตรวจวินิจฉัยในเบื้องต้นแพทย์ระบุว่า มีภาวะอุดตันในลำไส้ เนื่องจากเศษตกค้างของอาหารที่ไม่ย่อยลงไปรวมตัวกันในลำไส้ และทับถมกันจนกลายเป็นก้อนแข็ง ส่งผลให้แพทย์ต้องทำการผ่าตัดนำก้อนปริศนาที่มีลักษณะแข็ง 2 ก้อนออกจากลำไส้ ซึ่งต่อมานำไปตรวจสอบและพบว่ามีส่วนประกอบของแป้งมันสำปะหลัง

โดยก่อนหน้านี้เคยมีกรณีที่กลางเป็นกระแสถกเถียง หลังมีรายงานข่าวว่าเด็กชาวจีนวัย 14 ปี มีภาวะลำไส้อุดตันเพราะไข่มุกจากชานมที่ดื่มเข้าไป พร้อมเปิดเผยภาพซีทีสแกนช่องท้อง โดยระบุว่ากระเพาะและลำไส้ใหญ่ รวมถึงทวารหนักของเด็ก เต็มไปด้วยไข่มุกที่ไม่ย่อย

ต่อมา อ.นพ.นรินทร์ อจละนันท์ สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ออกมาให้ความรู้จากกรณีดังกล่าวว่าอาจไม่ใช่เรื่องจริง

โดยให้เหตุผลว่า ชานมไข่มุก คุณสมบัติเป็นแป้ง แต่ภาพเอ็กซ์เรย์ที่เห็นเป็นสีขาว โดยทั่วไปสิ่งที่เห็นเป็นสีขาวได้จะต้องมีความแข็งพอสมควร เช่น กระดูก โลหะบางอย่าง หรืออุจจาระที่อัดแน่น

ส่วนอีกเหตุผลคือ เม็ดของชานมเป็นแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งจะย่อยตั้งแต่ลำไส้เล็ก จึงไม่มีเหตุที่เห็นในลักษณะของเม็ดไข่มุกตามฟิลม์เอ็กซ์เรย์ แต่น่าจะเป็นลักษณะของอุจจาระที่อัดแน่นมากกว่า ไข่มุกไม่น่าทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้ได้ ยกเว้นผู้ที่ทานมีโรคที่ผิดปกติอยู่ เช่น ลำไส้เล็กตีบ จากพังพืด จากก้อน หรือจากแผลบางอย่างที่กดลำไส้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook