ผ่าแผนทั้งระบบแก้ขสมก.ขาดทุนสะสม

ผ่าแผนทั้งระบบแก้ขสมก.ขาดทุนสะสม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผ่าแผนฟื้นฟูกิจการขสมก. ระบุแนวทางแก้ไขขาดทุนสะสม ให้คมนาคมหรือรัฐบาลตั้งคณะกรรมการนโยบายการขนส่งฯ ดึงผู้มีส่วนร่วมใช้ถนนวางแนวทางแก้ปัญหาทั้งระบบก่อนเดินหน้าตาม 4 แนวทางการศึกษา ชี้รถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันเป็นหนึ่งในแผนฟื้นฟู ชี้แนวโน้มอีก 10 ปี

ขสมก.ขาดทุนต่อเนื่องถึง 1.8 แสนล้าน

ดร.พัลลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงานและในฐานะผู้ริเริ่มการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

(ขสมก.) เปิดเผยภายหลังการเสวนารถเมล์...อนาคตของคนกรุงจัดโดยกระทรวงคมนาคมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า ตามแผนการฟื้นฟู ที่ได้ริเริ่มจัดทำนั้นเพื่อต้องการให้ขสมก.แก้ไขปัญหาต่างๆโดยเฉพาะปัญหาด้านการเงินที่ประสบภาวะขาดทุนสะสมจำนวนมากซึ่งหากปล่อยไว้เนิ่นนานประมาณการในปี 2563 ขสมก.จะขาดทุนสะสมถึง 1.8 แสนล้านบาท จากที่ปัจจุบันขาดทุนเดือนละ500 ล้านบาทหรือปีละกว่า 6,000 ล้านบาท

ส่วนโครงการรถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน ก็ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่อยู่ในแผนนอกเหนือจากแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆที่ขสมก. จะดำเนินการด้วย

ตามแผนฟื้นฟูฯการแก้ไขปัญหาจะต้องเริ่มต้นด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการขนส่งในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลตามพ.ร.บ.การบริหารการขนส่ง พ.ศ.... ที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการจัดตั้งอาจจะเป็นกระทรวงคมนาคมหรือรัฐบาลก็ได้แต่จะต้องมีหลาย ๆ หน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งกทม. จังหวัดรอบๆกรุงเทพฯสำนักงานการจราจร ฯลฯ เพื่อมาหาแนวทางร่วมกัน เพราะปัจจุบันรถเมล์ของขสมก.มีเพียง 20% ในระบบการจราจรทั้งหมด ซึ่งแผนทั้งหมดไม่มีใครหยิบยกมาพูดถึง

ส่วน การได้รับบริการรถโดยสารสาธารณะที่คนกรุงเทพฯต้องการนั้นจะคำนึงการโดยสารถึงจุดหมายปลายทางมีการเชื่อมต่อรถที่สะดวกมีความปลอดภัย ตรงต่อเวลาหารถได้ง่ายและจ่ายเงินไม่สูง ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ตามแผนฟื้นฟูฯได้เสนอแนวทางดำเนินงานหลังจากตั้งคณะกรรมการดังกล่าวแล้วไว้ 4 แนวทาง คือ 1.การปรับปรุงโครงข่ายเส้นทางเดินรถ 2. ปรับระบบการจ้างเดินรถในลักษณะจ่ายเงินค่าจ้างตามคุณภาพการเดิน 3.ปรับปรุงระบบจัดเก็บรายได้และการควบคุมการเดินรถและ 4. การให้ความสำคัญกับรถสาธารณะ(Bus Priority)

ดร.พัลลภา กล่าวอีกว่าตามแผนฟื้นฟูฯไม่ได้เน้นเรื่องของการจัดซื้อรถเป็นหลัก

ซึ่งการจัดหารถมาไม่ว่าวิธีการใดไม่ใช่คำตอบในการแก้ไขปัญหาของ

ขสมก.ถ้าไม่ทำตามแผนฟื้นฟูฯ การปฏิรูปองค์กรก็ไม่เกิดประโยชน์และการแก้ไขต้องทำทั้งระบบเฉพาะขสมก.ฝ่ายเดียวแก้ไขไม่ได้ทั้งเส้นทางการเดินรถและราคาค่าโดยสาร จึงต้องกำหนดมาจากคณะกรรมการที่ได้จัดตั้งขึ้นมาก่อน แล้วให้ขสมก.เป็นผู้กำกับดูแล

ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากทั้งภายนอกและภายในโดยเฉพาะวิธีการบริหารจัดการและการบริหารสัญญาการเดินรถกับรถร่วมบริการซึ่งหากนำรถใหม่เข้ามาทั้ง 4,000 คันจะเกิดปัญหาการเดินรถที่ทับซ้อนเส้นทางกัน ขณะนี้รถเมล์แต่ละเส้นทางมีการวิ่งซ้อนเส้นทางกันกว่า

10 สาย ทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเป็นอย่างมากส่งผลถึงภาระรายจ่ายของขสมก.ต้องเพิ่มขึ้น

ดังนั้นการแก้ปัญหาขสมก.ควรจะปรับปรุงการบริหารงานให้ดีขึ้นโดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook